เมื่อโลกหมุนเร็วขึ้นจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันจึงจะอยู่รอดได้มิติการขับเคลื่อนประเทศชาติโดยภาคอุตสาหกดรรมก็เช่นกัน ความเปลี่ยนแปลงที่มีขึ้น คือความท้าทายที่ต้องตั้งรับให้ทัน
รายงานพิเศษ โดย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม |
.. |
. |
เมื่อโลกหมุนเร็วขึ้นจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันจึงจะอยู่รอดได้มิติการขับเคลื่อนประเทศชาติโดยภาคอุตสาหกดรรมก็เช่นกัน ความเปลี่ยนแปลงที่มีขึ้น คือความท้าทายที่ต้องตั้งรับให้ทัน พร้อมกันนั้นจะต้องเดินหน้าในเชิงรุกอย่างมีชั้นเชิง |
. |
เพราะอุตสาหกรรมไทยหลายสาขาติดเทอร์โบว์ไปแล้ว ขีดความสามารถการแข่งขันรุดเหนือคู่แข่งไปหลายก้าว แต่ยังมีอีกบางกลุ่มที่ต้องปรับทิศทางเพื่อรับความเปลี่ยนแปลง จะทำอย่างไรให้เกิดึความสมดุลได้นั้นย่อมเป็นเรื่องที่ต้องรวมกันหาทางออกที่สมดุล |
. |
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หรือ สศอ.กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานที่เปรียบได้กับกุนซือภาคอุตสาหกรรมของประเทศที่มีส่วนสร้างสรรนโยบายที่ดี สำหรับขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมให้ไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน ได้จัดสัมมนาใหญ่ประจำปี OIE Forum : ความท้าทายอุตสาหกรรมไทยรับมือเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนแปลง เพื่อระดมความคิดเห็นสู่การขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืน ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา ซึ่งมีข้อคิดเห็นที่น่าสนใจยิ่ง |
. |
“สร้างความสมดุล มีเสถียรภาพ คือ ความยั่งยืนของภาคอุตสาหกรรมไทย” วาทะเด็ด ที่นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวกับผู้ร่วมสัมมนานับพันคนที่นั่งฟังปาถกถาพิเศษในเวทีนั้น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสวาหกรรมได้ชี้แจงถึงทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยจากนี้ไปอย่างน่าสนใจว่า |
. |
“การเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและเกิดอย่างสมดุลเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน เสถียรภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ภาคอุตสาหกรรมได้ปรับตัวในช่วงวิกฤต โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ระยะที่ 1 (Stimulus Package 1 : SP1) |
. |
ทำให้เกิดการจ้างงานในภาค อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นและกลับสู่ภาวะปกติประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายลดภาระแก่ประชาชน ผู้มีรายได้น้อย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกทำให้สามารถเพิ่มอำนาจซื้อแก่เศรษฐกิจภายในประเทศ |
. |
รวมทั้งแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 (Stimulus Package 2 : SP 2) ที่รัฐบาลได้เน้นโครงการลงทุนใน 7 สาขาหลัก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม อาทิ การสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน การรักษาสิ่งแวดล้อม การเพิ่มประสิทธิภาพทางภาคเกษตรและอุตสาหกรรม การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้กำลังแรงงาน การสร้างรายได้ใหม่จากเศรษฐกิจสร้างสรรค์” |
. |
ขณะที่กระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนโดยมียุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรมในการแข่งขันและการสร้างความเชื่อมโยงสู่พื้นที่และตลาดอาเซียน ภาคอุตสาหกรรมควรใช้รูปแบบการผลิตแบบเฉพาะที่หลากหลาย (Niche Market) หรือผลิตแบบ Customization Production ควบคู่กับการผลิตแบบ Mass Production |
. |
เนื่องจากการแข่งขันด้านการผลิตและการค้าโลกจะทวีความเข้มข้นยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในสินค้าระดับล่าง อย่างไรก็ดีโอกาสในการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมยังมีอีกมากจากการรวมกลุ่มตามกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี เช่น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asian Economic Community : AEC) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ทั้ง 10 ประเทศ ในปี พ.ศ. 2558 ทำให้ภาษีระหว่างกันเป็นศูนย์ |
. |
จึงเป็นโอกาสของภาคอุตสาหกรรมไทยที่จะก้าวสู่เศรษฐกิจอาเซียนและเศรษฐกิจโลก แนวความคิดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์จึงมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านจากอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนโดยใช้ปัจจัยการผลิต (Factor Driven Industries) เป็นอุตสาหกรรม ที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม (Innovation Driven Industries ) |
. |
ซึ่งอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่สร้างคุณค่า (Value Creation) แก่ผลิตภัณฑ์จะต้องอาศัยการศึกษาที่มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนา การออกแบบและการสร้างตราสินค้า ต้องมีการสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้อให้เกิดการคิดค้น พัฒนาสินค้า กระบวนการผลิต ก่อให้เกิดเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มีการให้ความสำคัญและดูแลแรงงานที่เหมาะสมเพราะเทคโนโลยีและการพัฒนาสิ่งใหม่ส่วนใหญ่เกิดจากแรงงาน |
. |
สุดท้ายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้สรุปทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนอย่างน่าสนใจว่า “การพัฒนาให้ภาคอุตสาหกรรมมีการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและสมดุล เป้าหมายก็คือการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจากการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ |
. |
การทำให้อุตสาหกรรมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน เป็นที่ยอมรับของลูกค้าคือผู้ซื้อ ทั้งในตัวสินค้าและกระบวนการผลิต เกิดการสมดุลทั้งในด้านการจัดสรรผลตอบแทนแก่ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ และสมดุลของการบริหารจัดการทรัพยากร” |
. |
ขณะที่ ดร.สุวิทย์ เมษิณทรีย์ ผู้อำนวยการ SIGA สถาบันศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในเวทีเดียวกันถึงการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างน่าสนใจว่า “โลกแห่งการเปลี่ยนแปลง ณ ขณะนี้เป็นปัจจัยที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่ง จากนี้ไปไม่ว่าจะอยู่จุดใดของโลก สามารถเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมได้ทั้งสิ้น |
. |
โดยอารยธรรมของโลกเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ผลจากการสร้างสรรค์ ณ ที่หนึ่งจะส่งผลกระทบไปอีกที่หนึ่ง โลกจึงเต็มไปด้วย การเชื่อมโยง ปฎิสัมพันธ์ การเคลื่อนย้ายคน สินค้า การถ่ายเทเทคโนโลยีการผลิต |
. |
ดังนั้น การคิดในเชิงนโยบาย หรือการคิดในเชิงสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างทั่วถึง หากจะถามว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ต้องมองย้อนหลังไป 20 ปี เราจะเผชิญกับวิกฤติตลอดเวลา แต่ว่าวิกฤตจะมากหรือน้อย จากนี้ไปเราจะพบกับวิกฤตตลอดเวลา การเติบโตจะโตช้ามาก จะเกิดปัญหาส่วนเกินกำลังการผลิต แต่ละประเทศจะปกป้องตัวเองมากขึ้น เรื่องเสรีทางการค้าจะเป็นประเด็นหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั่วโลก” |
. |
ดร.สุวิทย์ ให้มุมมองต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงอีกว่า สิ่งที่อุตสาหกรรมไทยจะต้องทำ เพื่อก้าวพ้นกรอบจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีความสมดุลระหว่างประเทศ ความมั่งคั่ง การใช้ทรัพยากร มนุษย์ สังคมอุตสาหกรรมควรมีความหลากหลาย |
. |
ควรดูเรื่อง ศักยภาพของความเป็นคน อุตสาหกรรมต้องเป็นส่วนผสมของ 3P private public partnership ต้องมีส่วนผสมที่ลงตัวของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และต้องดึงจุดเด่นที่มีอยู่มาใช้งาน สร้างขีดความสามารถให้สูงขึ้น อุตสาหกรรมด้านการบริการที่เรามีความโดดเด่น ถึงเวลาแล้วที่จะนำจุดเด่นเหล่านั้นออกมาใช้งาน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น” |
. |
สอดคล้องกันกับแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยจากหน่วยงานภาครัฐ โดยนางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ได้เปิดเผยถึงทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยภาครัฐว่า |
. |
“สิ่งที่ท้าทายในอนาคต คือ การค้าเสรีที่เป็นความท้าทายที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรม และอีก 5 ปีข้างหน้า (2558) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ทุกอย่างจะเคลื่อนที่อย่างเสรี ภาษีศุลกากรระหว่างกันเป็นศูนย์ แรงงาน ระบบการกีดกันก็จะมีมากขึ้น |
. |
โดยเฉพาะ ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น EU ได้ออกมาตรการมากมายเสมือนเป้นการกีดกัน เพราะมีกฏระเบียบมากมายที่ต้องปฏิบัติตามเพราะหากไม่ทำตามก็สูญเสียโอกาสในตลาดนั้นได้ กฎเหล็กของ EU หลายเรื่องกระทบไปทั่วโลก บางเรื่องเป็นสิ่งที่ทำลายยาก |
. |
บททาทภาครัฐต้องออกแรงมากขึ้นเพราะเงื่อนไขทางการค้าเปลี่ยนไป เรามี FTA WTO จะต้องเร็วที่จะวิเคราะห์สู่การกำหนดนโยบาย ประเด็นเรื่อง เทคโนโลยี เปลี่ยนเร็วมาก ทำให้วัฎจักอายุของสินค้าสั้นลง และมีการผสมผสานของเทคโนโลยีมากขึ้น ผู้บริโภค ก็มีพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สินค้ามีให้เสือกมาก สินค้าจะเน้นเพื่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โครงสร้างประชากรสูงอายุมีมากขึ้น โดยเฉพาะญี่ปุ่น ที่มีผู้สูงอายุ |
. |
ขณะที่ สิ่งแวดล้อม ประเด็นสำคัญการมีส่วนร่วมของประชาชน กรณีมาบตาพุด ในเรื่องหลักเกณฑ์เบื้องต้นก็มีเส้นทางที่จะเดินไปทางไหน และประเด็น เงื่อนไขทางการค้า เช่น EU มีมาตรการแรงงาน มาตรฐานสินค้า เงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อม และอื่นๆอีกมากมาย” |
. |
นางสุทธินีย์ เน้นย้ำอีกว่า “ความจำเป็นของผู้ประกอบการจากนี้ไปต้อง มีการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เร่งปรับตัวเองจากเดิมที่เป็นผู้รับจ้างผลิต เปลี่ยนไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ สร้างนวัตกรรมเป็นของตัวเอง โดยกระทรวงอุตสาหกรรมมีโครงการหลายโครงการภายใต้แผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา |
. |
เรามีการมุ่งเน้นด้านการวิจัยพัฒนาเพื่อทำสินค้ามีลักษณะพิเศษ หรือเพิ่ม productivity เช่น การเพิ่ม creative จากผ้าข้าว ซึ่งมันเป็นวัฒธรรมที่เรามีอยู่แล้ว สร้างให้เกิดมูลค่าขึ้นมา อะไรก็ตามที่สามารถสร้างมูลค่า โดยใส่วัฒนธรรมของเราลงไป ด้านการพัฒนาบุคลากร พัฒนาแรงงานต่างๆ แรงงานสมดุลไม่มี ต้องมีการปรับแนวคิดไปอีกแบบหนึ่ง ก่อนหน้านั้นคนมุ่งเน้นเรียนเพื่อให้มีปริญญาบัตร อาชีวะมีคนเรียนน้อย |
. |
ทุกวันนี้อุตสาหกรรมขยายตัวแรงงานจากอาชีวะมีความต้องการเพิ่มขึ้น แรงงานที่มีความสามารถทางช่างต้องมีการพัฒนาและให้มีค่าตอบแทนที่เหมาะสม ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมมือกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อพัฒนาแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม” และได้กล่าวทิ้งท้ายต่อประเด็นการสร้างคตที่ยั่งยืนภาคอุตสาหกรรมว่า “เปลี่ยนแปลงแต่สร้างมูลค่าเพิ่มและอย่าทอดทิ้งสิ่งแวดล้อม” |
. |
ขณะที่ภาคเอกชน โดยนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมให้ความคิดเห็นต่อประเด็นความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมว่า “โครงสร้างเศรษฐกิจ ณ ปัจจุบันต้องมองในระยะยาว เพราะปัจจัยภายนอก ความผันผวนจาก ต่างประเทศ ความรวดเร็วของข่าวสารข้อมูล สินค้าคงคลัง ทรัพยากร |
. |
ทุกประเทศเพิ่มขีดความสามารถของเค้า ภายในประเทศ ก็จะมีเรื่องการเมืองที่จะทำให้เราขับเคลื่อนช้าลง กฎระเบียบอาจต้องปรับปรุงให้ทันสมัย ความต่อเนื่องในการทำนโยบาย ทั้งที่เราต้องการความรวดเร็วในการเพิ่มขีดความสามารถ แรงงาน เน้นบุคลากรที่สามารถทำประโยชน์ได้ |
. |
ความสมดุลในเรื่องสิ่งแวดล้อม การแข่งขันต้องทำงานเป็นทีม “ทีมประเทศไทย” ที่มาจาก เอกชน+ เอกชน ,เอกชน+ภาครัฐ ,ภาคการศึกษา มีการบูรณาการทั้งในเรื่องงบประมาณให้มีความสอดคล้องกัน การที่จะนำแนวทางมาพัฒนาอุตสาหกรรม. เน้นเกษตรอุตสาหกรรม ประเทศไทย มีสินค้าเกษตรสำคัญหลายตัวเป็นจุดแข็ง ไม้ว่าจะเป็นการต่อยอดสู่ ไบโอดีเซล |
. |
การสร้างเรื่องความตื่นตัวในด้านนวัตกรรมเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อพัฒนาการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 11 ที่กำลังจะเริ่มใช้จึงต้องเน้นในเรื่อง Value creation การพัฒนาอุตสาหกรรมให้อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างยั่งยืน เชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน และเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ร่วมกันทั้งภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรมและภาคส่วนอื่นๆ” |
. |
ขณะที่มุมมองต่อความยั่งยืนในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมประธานสภาอุคตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้ข้อคิดเห็นว่า “จากนี้ไปเราต้องคำนึงถึงความสมดุล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคน สิ่งแวดล้อม รายได้ ความรับผิดชอบต่อสังคม โลกมีการเปลี่ยนแปลงเร็ว |
. |
ขณะเดียวกันก็มีตัวแปรภายในประเทศ ถ้าหากมีความร่วมมือและมีความเข้าใจกัน ได้มีโอกาสพบปะ พูดคุยกัน ดูแลเรื่องสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ก็จะสามารถพาไปในทิศทางเดียวกันอยากให้มีเวทีร่วมกันโดยเฉพาะเวทีการกำหนดนโยบาย เราต้องปรับให้เหมาะสมกับตัวเรา ทุกวันนี้เอกชนรายใหญ่ยืนได้อย่างมั่นคงแล้ว แต่รายย่อยและเอสเอ็มอี จำเป็นอย่างยิ่งต้องเร่งปรับตัว นิ่งไม่ได้แล้ว เพราะการนิ่งคือโอกาสที่เสียไป” |
. |
ขณะที่ตัวแทนภาคประชาชนที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องยาวนานนางรสนา โตสิตระกูล สว.กรุงเทพฯ เปิดอีกมุมมองใหม่ที่แม้จะดูขัดแย้งแต่มีจุดร่วมเดียวกัน โดยได้เน้นย้ำถึงเรื่องการสร้างความสมดุลให้อยู่คู่การพัฒนา “ความท้าทายของอุตสาหกรรมไทยต้องมองในเรื่องภูมิอากาศด้วย มีการกำหนด benchmark ว่าถ้าอุณหภูมิของโลกเพิ่ม 2 องศา อาจจะก่อให้เกิดการกู่ไม่กลับ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของโลก กับภัยพิบัติที่เกิดขึ้น การเติบโตของ GDP เกิดจากการถลุงทรัพยากรของโลก |
. |
เราเข้าใจว่าการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมคือการทำให้ GDP โต ช่องว่างระหว่างคนจนคนรวยห่างกัน 12 เท่า แต่พัฒนาแล้ว ห่างกัน 3 เท่า ทุกวันนี้เราใช้ทรัพยากรอย่างมากเกินขีดความสามารถที่ทรัพยากรมีให้ เราต้องให้ความสำคัญกับทรัพยากรให้มากขึ้นเพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรควบคู่กันไป ประเทศไทยควรเลือกอุตสาหกรรมที่เหมาะกับความสามารถความถนัดและศักยภาพของคนไทย” |
. |
นอกจากนี้ สว.รสนา ยังได้กล่าวทิ้งท้ายในเวทีเสวนาอีกว่า “การเตรียมพร้อมการทำงานร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม และสังคมต้องเน้นให้มาก เราจะต้องทำสิ่งที่เหมาะกับตัวเรา อะไรคือจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ความเสี่ยงของเรา โลกเปลี่ยน เรามี FTA |
. |
ดังนั้น เราต้องเลือกในสิ่งที่เหมาะกับเรา ไม่ต้องกังวลว่าจะไปถึงเป้าหมายรึไม่ เราต้องคำนวณถึงความสุขมวลรวม ไทยส่งคอมพิวเตอร์ขายได้มากแต่คนส่วนใหญ่อาจได้ประโยชน์น้อย เราต้องหันกลับมาพิจารณาถึงผลประโยชน์จของคนส่วนใหญ่ของประเทศ อุตสาหกรรมด้านบริการที่เรามีจุดแข็งต้องเน้นให้มากขึ้น ปี 52 การท่องเที่ยวของเราเติบโตมาก |
. |
แต่การท่องเที่ยวของเรารายได้ยังไม่ลงไปถึงท้องถิ่น ทำอย่างไรให้เกิดการท่องเที่ยวที่ไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต้องหาจุดสมดุลให้ได้ เรื่องพลังงานทางเลือกเป็นโอกาสของประเทศไทย แต่ยังไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างดีพอ จึงต้องพิจารณาด้วยว่า “ความเพียงพอสำหรับทุกคนคือความยุติธรรม ความเพียงพอสำหรับคนรุ่นต่อไปคือความยั่งยืน” |
. |
ในยุคโลกหมุนเร็วจึงมีความท้าทายที่หลากหลายให้ทุกฝ่ายเปิดใจเปิดมุมมองเพื่อหาจุดสมดุลร่วมกัน เพื่อการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมอย่างยั้งยืน ซึ่งจากเวทีเสวนาทุกฝ่ายมีข้อคิดเห็นสรุปไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมรับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก คือ ต้องปรับตัวทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นปรับการผลิต ปรับสินค้า และต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคม มากขึ้น |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม |