โครงการทางด่วนบางนา-บางพลี-บางปะกง ที่กำลังฉาวโฉ่ร้อนฉ่าอยู่ในขณะนี้ ผลงานชิ้นโบว์แดง 4 รัฐบาล 4 รมว.มหาดไทย 3 รมช. มหาดไทย และอีก3 ผู้ว่าการ กทพ. จนเป็นที่มาของ "ค่าโง่ทางด่วน" ซึ่งเป็นค่าเสียหายที่บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง บีบีซีดี เรียกจาก กทพ หรือจากรัฐ ลงเอ่ยด้วยศาลฎีกาพิพากษาให้ กทพ.ชนะคดี
โครงการทางด่วนบางนา-บางพลี-บางปะกง ที่กำลังฉาวโฉ่ร้อนฉ่าอยู่ในขณะนี้. ผลงานชิ้นโบว์แดง 4 รัฐบาล 4 รมว.มหาดไทย, 3 รมช. มหาดไทย และอีก3 ผู้ว่าการ กทพ. จนเป็นที่มาของ "ค่าโง่ทางด่วน" ซึ่งเป็นค่าเสียหายที่บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง บีบีซีดี เรียกจาก กทพ หรือจากรัฐ ลงเอ่ยด้วยศาลฎีกาพิพากษาให้ กทพ.ชนะคดี |
. |
โครงการทางด่วนบางนา-บางพลี-บางปะกงนี้เกิดขึ้นเมื่อ 18 เม.ย. 2533 ในสมัยรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ซึ่ง การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ขอให้ กรมทางหลวง พิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้พื้นที่เกาะกลางถนนสายบางนา-ตราด ช่วงบางนา-บางพลี-บางปะกง เพื่อก่อสร้างทางด่วนคร่อมด้านบน ซึ่งกรมทางหลวงไม่ขัดข้อง แต่เห็นว่าควรจะดำเนินการให้เสร็จก่อนปี 2540 |
. |
โครงการทางด่วนที่กำลังฉาวโฉ่ร้อนฉ่าอยู่ในขณะนี้คือ ค่าปรับ ที่เกิดขึ้นจากการขยายเวลาการก่อสร้างโครงการทางด่วนบางนา-บางพลี-บางปะกง เป็นเวลา 11 เดือนจึงเป็นที่มาของค่าปรับซึ่งเป็นค่าเสียหายที่บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง บีบีซีดี เรียกจาก กทพ. หรือจากรัฐ ซึ่งมีการระบุว่าเกิดจากการที่รัฐทำสัญญาเสียเปรียบเอกชน เนื่องจากไม่ได้ระบุลงไปในสัญญาอย่างชัดเจนว่าหากมีการขยายเวลาการก่อสร้างค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นรัฐไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบ ทั้ง ๆ ที่รัฐสามารถจะกำหนดรายละเอียดนี้ได้ |
. |
นายมณเฑียร กุลธำรง รองผู้ว่าการ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กล่าวยอมรับว่า การที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้ กทพ.ชนะคดีค่าโง่ทางด่วน 6,200 ล้านบาท ในวันที่ (15 ก.พ.) ได้ส่งผลดีต่อฐานะทางการเงินของ กทพ.ช่วยให้ไม่ต้องแบกภาระหาเงินมาชดใช้ค่าปรับ ซึ่งหากศาลฎีกาพิพากษาให้ กทพ.แพ้คดี ก็จะสร้างความยุ่งยากในการหาแหล่งเงินเพื่อมาชำระค่าปรับเป็นอย่างมาก นอกจากนี้การที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาชัดเจนในวันนี้ ถือเป็นการยุติคดีค่าโง่ทางด่วนที่ยืดเยื้อยาวนานมาตั้งแต่ปี 2542 และอยู่ในชั้นของศาลฎีกาตั้งแต่ต้นปี 2548 หรือกว่า 2 ปี |
. |
นายมณเฑียร กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า คำพิพากษาได้ระบุถึงการที่มีอดีตผู้บริหาร กทพ.ในอดีต ได้มีการทุจริต รับหุ้นเป็นค่าตอบแทนในคดีนี้นั้น กทพ.ได้เคยทำเรื่องกล่าวโทษร้องทุกข์ผู้บริหารที่มีชื่อตามคำพิพากษา ไปที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ไปแล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งกทพ.ก็จะปล่อยให้ ปปช.ดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายต่อไป ส่วนกรณีที่ผู้บริหาร ช.การช่าง ทำหนังสือแจ้งไปยังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แจ้งว่าคดีดังกล่าว คำพิพากษาศาลฎีกาจะไม่ส่งผลกระทบต่อคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการในอดีต ในส่วนนี้ กทพ.ไม่ทราบว่าเอกชนมีมุมมองในกฎหมายแง่มุมใด แต่ในส่วนของ กทพ.เห็นว่าคดีดังกล่าวถือเป็นอันสิ้นสุดแล้ว. |
. |
โครงการทางด่วนบางนา-บางพลี-บางปะกง นั้นยืดเยื้อยาวนาน มีข้าราชการประจำทุกระดับเกี่ยวข้องนับร้อย ๆ คน และมีรัฐบาลที่เกี่ยวข้องตรง ๆ ถึง 4 รัฐบาล เกี่ยวพันกับ 4 รมว.มหาดไทย, 3 รมช. มหาดไทย และอีก 3 ผู้ว่าการ กทพ. ไม่ว่าจะเป็น...รัฐบาลชวน หลีกภัย (ชวน 1) : พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รมว. มหาดไทย, สุทัศน์ เงินหมื่น รมช.มหาดไทย, สุขวิช รังสิตพล ผู้ว่าการ กทพ. รัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา : พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รองนายกรัฐมนตรี,สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รมช.มหาดไทย, ศิวะ เจริญพงษ์ ผู้ว่าการ กทพ. รัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ : เสนาะ เทียนทอง รมว.มหาดไทยรัฐบาลชวน หลีกภัย (ชวน 2) : พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รมว.มหาดไทย, ประภัตร โพธสุธน รมช.มหาดไทย, สมนึก ชัยเดชสุริยะ ผู้ว่าการ กทพ. |
. |