กระทรวงพาณิชย์ขานรับนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศ ด้านเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งในระดับภูมิภาค อนุภูมิภาคและการค้าชายแดน เพื่อส่งเสริมการส่งออกและพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในทุกมิติและทุกระดับ กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการค้าชายแดนไทย-ประเทศเพื่อนบ้าน กระทรวงพาณิชย์ ได้ดำเนินการจัดตั้งแล้ว 5 จังหวัด คือ สระแก้ว หนองคาย สงขลา ศรีสะเกษ และตาก |
. |
โดยได้จัดงานไปแล้ว 2 ครั้ง คือ งานมหกรรมการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย ณ จังหวัดสงขลา และมหกรรมการค้าชายแดนไทย-ลาว ณ จังหวัดหนองคาย โดยได้จัดงาน “ มหกรรมการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 1 (The 1st Thailand-Combodia Border Trade Festival:Gateway Grand Sale) ” ระหว่างวันที่ 24-28 กันยายน 2553 ณ บริเวณหน้าเทศบาลเมืองอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว |
. |
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าจะเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “ มหกรรมการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 1 ” ในวันศุกร์ที่ 24 กันยายน 2553 ณ จังหวัดสระแก้ว การจัดงานครั้งนี้เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของทั้งสองประเทศให้มีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับท้องถิ่นของไทยที่มีชายแดนติดต่อกับกัมพูชาซึ่งได้แก่ |
. |
จังหวัดตราด จันทบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษและอุบลราชธานี รวมทั้งเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดน อุตสาหกรรม SMEs และสินค้า OTOP ของภาคอีสานและภาคตะวันออก โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้จังหวัดชายแดนดังกล่าวเป็นประตูการค้าชายแดนกับกัมพูชา กิจกรรมภายในงานประกอบไปด้วยกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมและขยายการค้า เช่น การประชุมผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของไทยและกัมพูชา |
. |
เพื่อกำหนดแนวทางความร่วมมือในการขยายการค้าและการแก้ไขปัญหา/อุปสรรคทางการค้า การจับคู่เจรจาธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการของทั้งสองประเทศ การเปิดสายด่วนการค้าไทย-กัมพูชา (Hotline) และการจัดพิธี “ผูกมิตรสนิทกัน” เพื่อเจริญความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา การแสดงและจำหน่ายสินค้า รวมทั้งกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการขายสินค้า เช่น การแสดงดนตรี การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านและการขายสินค้าในราคาพิเศษ |
. |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเพิ่มเติมว่าสถานการณ์การค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ ได้แก่ สปป.ลาว สหภาพพม่า กัมพูชา และมาเลเซีย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2552 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 639,136.48 ล้านบาท และในแปดเดือนแรกของปี 2553(มกราคม-สิงหาคม) มีมูลค่ารวม-2- ทั้งสิ้น 520,964.7 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2552 ซึ่งมีมูลค่า 401,455.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ29.8 |
. |
โดยแยกเป็นมูลค่าการส่งออก 325,840.4 ล้านบาทและมูลค่าการนำเข้า 195,124.3 ล้านบาท ซึ่งเป็นการค้าชายแดนกับมาเลเซียมากเป็นอันดับ 1 มูลค่า 334,780.8 ล้านบาท รองลงมาเป็นสหภาพพม่า มูลค่า 91,600.9 ล้านบาท สปป.ลาวมูลค่า 57,380.9 ล้านบาทและกัมพูชา มูลค่า 37,202.2 ล้านบาท |
. |
โดยในส่วนของการค้าชายแดนไทย-กัมพูชาของปี 2553(มค.-ส.ค.) มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 37,202.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเวลาเดียวกันของปี 2552 ที่มีมูลค่า 29,257.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.2 แยกเป็นมูลค่าการส่งออก 34,744.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 มูลค่าการนำเข้า 2,458.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 90.8 จากมูลค่าการค้าชายแดนไทย-กัมพูชาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และจากการที่กัมพูชาเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่มีศักยภาพทั้งทางด้านแหล่งวัตถุดิบ ทรัพยากรธรรมชาติ แรงงาน |
. |
รวมทั้งสภาพภูมิประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย มีเส้นทางเชื่อมโยงทางถนนระหว่างกันโดยมีเส้นทางเชื่อมโยงเศรษฐกิจตอนใต้(Southern Economic Corridor)และเส้นทางเศรษฐกิจชายฝั่งตอนใต้(Southern Coastral Sub-Corridor) เชื่อมโยงไทย-กัมพูชา-เวียดนาม ทำให้สามารถเอื้ออำนวยต่อการขนส่งสินค้าและบุคคลในการข้ามแดนและผ่านแดน |
. |
นอกจากนี้ประชาชนของทั้งสองประเทศยังมีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่คล้ายคลึง ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของภาคเอกชนไทยที่จะเข้าไปทำการค้าและการลงทุนบนพื้นฐานผลประโยชน์ร่วมกัน โดยภาครัฐจะเป็นกลไกในการให้ความสนับสนุนและผลักดันต่อไป |
. |
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ |