เนื้อหาวันที่ : 2010-09-27 14:16:06 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1475 views

กรีนพีซร่วมกับชาวสมุย ประท้วงการขุดเจาะปิโตรเลียมในทะเล

กรีนพีซร่วมกับชาวเกาะสมุย ประท้วงการขุดเจาะสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในทะเล จี้รัฐบาลล้มเลิกแผนพัฒนาที่เน้นการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

.

กรีนพีซร่วมกับชาวเกาะสมุย ประท้วงการขุดเจาะสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในทะเล จี้รัฐบาลล้มเลิกแผนพัฒนาที่เน้นการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

.

เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ของกรีนพีซเข้าร่วมกิจกรรมประท้วงในทะเลซึ่งจัดขึ้นโดยเครือข่าย รักษ์อ่าวไทย นอกชายฝั่งเกาะสมุย เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลไทยละทิ้งแผนการพัฒนาที่เน้นการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และมีมาตรการเพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลในอ่าวไทยรวมถึงวิถี ชีวิตของชุมชนตามแนวชายฝั่ง

.

อ่าวไทยมีแหล่งปะการังหลายร้อยชนิด รวมถึงสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อย่างฉลามวาฬ พะยูน โลมาและเต่าทะเล ในช่วง 35 ปีที่ผ่านมา มีการเจาะสำรวจแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทยกว่า 5,000 แห่ง ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ได้สังเกตถึงคุณภาพน้ำทะเลที่ต่ำลงเรื่อยๆ และการรุกคืบของอุตสาหกรรมเข้าไปในระบบนิเวศทางทะเลที่มีคุณค่า แต่ภาครัฐยังคงเปิดรับให้มีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และแทบไม่สนใจถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

.

การเร่งรัดไปสู่ความเป็นอุตสาหกรรมของรัฐบาลไทยได้เอื้อต่อการพัฒนาที่สกปรกแลกกับทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โครงการขุดเจาะสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย เป็นตัวอย่างที่น่าละอายที่วิถีชีวิตและสุขภาพของผู้คน และความหลากหลายทางชีวภาพทางธรรมชาติจะต้องถูกสังเวยให้กับความมั่งคั่งในระยะสั้นที่เป็นผลประโยชน์ของคนกลุ่มเล็กๆ

.

เราเรียกร้องรัฐบาลให้ระงับการดำเนินการขุดเจาะสำรวจและยกเลิกแปลงสัมปทานปิโตรเลียมรอบบริเวณเกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่าทั้งหมด” นายรามเนตร ใจกว้าง นายกเทศมนตรีเมืองเกาะสมุยกล่าว

.

ป่าโบราณกำลังหายไป มหาสมุทรกำลังถูกตักตวงใช้ประโยชน์จนถึงระดับที่มิอาจกลับมาเป็นดังเดิม ความหลากหลายทางชีวภาพทางการเกษตรใกล้ถึงกาลล่มสลายจากการเกษตรแบบอุตสาหกรรม ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ส่งผลกระทบต่อโลกและความมั่นคงทางอาหารของคนนับล้าน รายงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลกฉบับที่ 3 ยืนยันว่า ระบบนิเวศต่าง ๆ ของโลก  

.

เช่น แนวปะการังและป่าไม้ เป็นต้น ได้ก้าวเข้าสู่จุดพลิกผันที่สำคัญ หากยังไม่มีการลงมือปกป้องอย่างจริงจัง ระบบนิเวศต่างๆ ก็มิอาจเป็นระบบค้ำจุนสนับสนุนชีวิตและสร้างปัจจัยที่จำเป็นให้กับคนรุ่นปัจจุบันและอนาคตได้อีกต่อไป  กรีนพีซเชื่อว่ารัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ต้องใช้โอกาสจากการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าดัวยความหลากหลายทางชีวภาพครั้งที่ 10 ที่เมืองนาโกยา ญี่ปุ่น เพื่อหาข้อตกลงในการลงมือปฏิบัติเพื่อปกป้องชีวิตบนโลก

.

“กรีนพีซสนับสนุนการเคลื่อนไหวของชุมชนเพื่อจุดประกายให้การพัฒนาสีเขียวเกิดขึ้นจริงในสังคมไทย การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปได้ เมื่อสิบปีก่อน เรนโบว์ วอร์ริเออร์ได้มาเยือนเกาะสมุยเพื่อรณรงค์การจัดการของเสียและมลพิษไดออกซิน และในครั้งนี้ ความตระหนักที่เพิ่มมากขึ้นของคนทั่วโลกต่อประเด็นความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

.

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบอันเลวร้ายของพลังงานถ่านหินและนิวเคลียร์ ชุมชนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นที่สิชล ท้องชิง และสมุย ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้กำลังลุกขึ้นสู้เพื่อกำหนดแผนการพัฒนาที่ยั่งยืนของตนเอง” นายธารา บัวคำศรี ผู้แทนกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำประเทศไทยกล่าว

.

ขณะนี้เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์อยู่ในประเทศไทยภายใต้โครงการ “ปกป้องสิ่งแวดล้อมกับเรนโบว์ วอร์ริเออร์” ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรีนพีซเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกอาเซียนสนับสนุนการพัฒนาที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ และปรับเปลี่ยนให้แนวทางพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำเป็นการพัฒนาแห่งอนาคต ทัวร์ครั้งนี้มีขึ้นในวาระครบรอบ 10 ปีงานรณรงค์ของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในด้านการปกป้องป่าไม้ การกระตุ้นให้เกิดการปฏิวัติพลังงาน การสนับสนุนเกษตรกรรมยั่งยืน และยุติมลพิษในแหล่งน้ำ

.
ที่มา : กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้