ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนส.ค. 53 เบิกจ่ายได้จำนวน 110.1 พันล้านบาท คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -22.5 ต่อปี โดยการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำจำนวน 92.5 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -22.7 ต่อปี และรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้หดตัวร้อยละ -37.1 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญในเดือนส.ค. 53 ได้แก่ รายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ของกระทรวงการคลังจำนวน 6.1 พันล้านบาท |
. |
รายจ่ายของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจำนวน 3.8 พันล้านบาท และรายจ่ายเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการจำนวน 3.6 พันล้านบาท ทั้งนี้ การเบิกจ่ายในช่วง 11 เดือนของปีงบประมาณ 53 เบิกจ่ายได้จำนวน 1,591.7 พันล้านบาท หรือหดตัวร้อยละ -7.5 ต่อปี โดยคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ 53 ที่ร้อยละ 85.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณ (1.70 ล้านล้านบาท) |
. |
ทั้งนี้ คาดว่าผลการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 53 จะเป็นไปตามเป้าหมายอย่างน้อยที่ร้อยละ 94.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณ นอกจากนี้ ผลการเบิกจ่ายแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ณ วันที่ 17 ก.ย. 53 สามารถเบิกจ่ายสะสมได้ทั้งสิ้น 225.2 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 64.3 ของกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจำนวน 350.0 พันล้านบาท |
. |
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ส.ค. 53 ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -7.0 พันล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 49.8 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (ก่อนกู้) ของรัฐบาลเกินดุลจำนวน 42.8 พันล้านบาท ทั้งนี้ ฐานะการคลังในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 53 รัฐบาลขาดดุลงบประมาณจำนวน -124.6 พันล้านบาท |
. |
เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -8.0 พันล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด (ก่อนกู้) จำนวน -132.6 พันล้านบาท ซึ่งการขาดดุลดังกล่าวต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลสูงกว่าเป้าหมาย ในขณะที่รัฐบาลมีการกู้เงินตามกรอบการขาดดุล ส่งผลให้ปริมาณเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ส.ค. 53 อยู่ในระดับสูงถึง 393.8 พันล้านบาท |
. |
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ส.ค.53 หดตัวที่ร้อยละ -4.2 ต่อปี หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -2.5 ต่อปี (หรือหดตัวที่ร้อยละ -0.8 ต่อเดือน เมื่อขจัดผลทางฤดูกาล) ตามการลดลงของผลผลิตสำคัญ โดยเฉพาะมันสำปะหลัง เนื่องจากปัญหาโรคระบาดและศัตรูพืช |
. |
ในขณะที่ผลผลิตยางพาราปรับขยายตัวในอัตราชะลอลงเช่นกัน เนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการกรีดยาง ส่วนผลผลิตหมวดปศุสัตว์ขยายตัวในอัตราชะลอลง จากผลผลิตสุกรและไก่เนื้อเป็นสำคัญ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต แต่อย่างไรก็ตาม ราคาที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลให้ผลผลิตหมวดปศุสัตว์ยังขยายตัวได้ |
. |
ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ที่ร้อยละ 31.1 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 32.9 ต่อปี จากการขยายตัวในเกือบทุกหมวดสินค้า ได้แก่ ยางพารา และมันสำปะหลัง (ยกเว้นข้าว) เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่อุปทานมีจำกัด โดยเฉพาะราคามันสำปะหลังและยางพาราที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง จากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเอธานอลและอุตสาหกรรมยานยนต์ในจีน |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |