ประธาน Club de Madrid บุกทำเนียบพบนายกฯ ชมเชยพัฒนาการเศรษฐกิจไทย และหวังให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วม และเป็นนโยบายคุณภาพที่ยั่งยืน
นาย Willem Kok |
. |
วันนี้เวลา 08.00 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นาย Willem Kok อดีตนายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์ และประธาน Club de Madrid ซึ่งเป็นชมรมอดีตผู้นำโลก เข้าเยี่ยมคารวะ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในโอกาสเข้าร่วมการประชุม Roundtable on ‘The Political Dimensions of the World Economic Crisis; an Asian Perspective’ ของ Cub de Madrid ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๙ ส.ค. ๒๕๕๓ และมีการสนทนา สรุปดังนี้ |
. |
นาย Willem Kok ได้กล่าวขอบคุณรัฐบาลไทย ที่ได้สนับสนุน Club De Madrid จัดการประชุม Roundtable on ‘The Political Dimensions of the World Economic Crisis; an Asian Perspective’ ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๙ ส.ค. ๒๕๕๓ ซึ่งการประชุมดังกล่าว เป็นการจัดร่วมกันระหว่าง Club De Madrid กับ UNESCAP โดยมีวัตถุประสงค์นำผลสรุปที่ได้จากการประชุมเสนอที่ประชุม G 20 Summit ที่สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่าง ๑๑ – ๑๒ พ.ย. นี้ |
. |
ในโอกาสนี้ นาย Kok ได้กล่าวชมเชยพัฒนาการเศรษฐกิจไทย และหวังให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วม และเป็นนโยบายคุณภาพที่ยั่งยืน ต่อไป ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีและอดีตนายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์ ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคและของโลก ซึ่งต่างมีบทเรียนและปรสบการณ์ในอดีตที่นำมาเป็นแนวทางการแก้ปัญหา ช่วงที่ผ่านมานับว่าเป็นช่วงที่เศรษฐกิจโลกมีความเปราะบาง |
. |
ทั้งนี้ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ป่น นั้นเป็นไปได้ช้ากว่าเอเชีย การส่งออกเป็นเพียงการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจด้านเดียว อีกด้านหนึ่งจะต้องกระตุ้นการบริโภคจากภาคเอกชนควบคู่กันไปด้วย ส่วนยุทธศาสตร์การออกจากวิกฤติ ( Exit Strategy ) นั้น ไทยมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ( Stimulus Package) เพื่อแก้ปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งทำให้ปัจจุบันเศรษบกิจไทยมีการฟื้นตัวอย่างเข้มแข็ง |
. |
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้แสดงคงวามกังวลเกี่ยวกับ การเจรจารอบ Doha ( Doha Development Round) ที่ยังไม่บรรลุผล จึงน่าจะมีการหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นหารือในการประชุม G20 ที่เกาหลีใต้ จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในช่วงเดือนพฤศจิกายน นี้ ในโอกาสนี้ นาย Kok ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับบทบาทของ G20 ว่าที่ผ่านมา G20 มีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจโลก และ G20 ก็มีจุดประสงค์ให้หลายผระเทศได้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น |
. |
ขณะเดียวกันขนาดของ G20 ก็ต้องอยู่ขอบเขตที่สามารถบริหารจัดการได้ ความสมดุลย์ทั้งขนาดและการมีส่วนร่วมจึงเป็นสิ่งสำคัญ อีกทั้งจะต้องมีความเป็นสถาบัน เพื่อความมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังให้ข้อสังเกตว่าในส่วนของสมาชิกนั้น ส่วนใหญ่เป็นประเทศในแถบยุโรป แต่ประเทศที่กำลังเติบโต ( Emerging Economy ) ยังเป็นสมาชิกไม่มาก จึงน่าจะสร้างความสมดุลย์ในส่วนของสมาชิกด้วย |
. |
ที่มา : เว็บไซตืรัฐบาลไทย |