ราชบุรีโฮลดิ้ง ปิดดีลเงินกู้ 94,000 ล้านบาทเพื่อใช้ในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าหงสา นับเป็นวงเงินกู้ร่วมที่มีมูลค่าสูงสุดของไทย
ราชบุรีโฮลดิ้ง ปิดดีลเงินกู้ 94,000 ล้านบาทโครงการโรงไฟฟ้าหงสา วงเงินกู้ร่วมที่มีมูลค่าสูงสุดของไทย (the largest project financing syndication ever in Thailand) |
. |
. |
บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) แถลงว่า บริษัท ไฟฟ้า หงสา จำกัด ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นร่วมทุนร้อยละ 40 ประสบความสำเร็จในการจัดหาเงินกู้วงเงินมูลค่า 2,783 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 94,620 ล้านบาท เพื่อใช้ในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนหงสาขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 1,878 เมกะวัตต์ ในสปป.ลาว โดยได้ลงนามในสัญญาเงินกู้กับสถาบันการเงินจำนวน 9 แห่งเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ที่ผ่านมา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว |
. |
นายนพพล มิลินทางกูร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง ในฐานะประธานกรรมการบริษัท ไฟฟ้า หงสา จำกัด กล่าวว่า เงินกู้จำนวน 94,620 ล้านบาท เป็นการให้สินเชื่อร่วม (Syndication loan)ของสถาบันการเงินไทยจำนวน 9 แห่ง เป็นดีลที่มีมูลค่าวงเงินสูงสุดของประเทศ และยังสะท้อนถึงความเชื่อมั่นและความไว้วางใจที่มีต่อโครงการโรงไฟฟ้าหงสา |
. |
เพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่ซึ่งจะผลิตกระแสไฟฟ้าจำหน่ายแก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าประเทศ บริษัทฯ มีความมั่นใจว่า ความพร้อมของเงินทุนจะช่วยให้โครงการโรงไฟฟ้าหงสาเดินหน้าดำเนินการตามแผนงานได้สำเร็จโดยจะสามารถเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในปี 2558 ในที่สุด |
. |
วงเงินกู้จำนวน 2,783 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสถาบันการเงินผู้ให้เงินกู้จำนวน 9 ราย ประกอบด้วย 1. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) 2. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) 3. ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) 4. ธนาคารออมสิน 5. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 6. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน) |
. |
7. ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด(มหาชน) 8. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และ 9. ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน) ทั้งนี้ โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนหงสามีมูลค่าโครงการ 3,710 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยกำหนดสัดส่วนโครงสร้างหนี้สินต่อทุนในอัตรา 75 : 25 |
. |
โครงการโรงไฟฟ้าหงสาเป็นโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหินประเภทลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงหลัก มีขนาดกำลังการผลิตติดตั้งประมาณ 1,878 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ที่เมืองหงสา แขวงไซยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2558 |