รมช.คลังชวนภาคธุรกิจจับมือภาครัฐ กำหนดวาระแห่งชาติ เพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 |
. |
การยกเลิกภาษีระหว่างอาเซียนเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ดันยอดส่งออกเพิ่มขึ้นฟิลิปปินส์ ร้อยละ 90 อินโดนีเซีย ร้อยละ 89 และมาเลเซีย ร้อยละ 62 โดยรัฐบาลต้องลุกขึ้นมาเป็นผู้นำ เพื่อช่วยให้ภาคธุรกิจได้เปรียบเมื่อต้องแข่งขัน ด้วยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐ นต่างๆ และ สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี ซึ่งรัฐบาลมั่นใจว่าประเทศไทยจะแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ หากภาคธุรกิจร่วมแบ่งปันความรู้ ความเข้าใจในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับภาครัฐผ่านทางนักการเมือง เพื่อร่วมกำหนดเป็นวาระแห่งชาติต่อไป |
. |
ในวันนี้ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้กล่าวปาฐกถากับสมาชิกของหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย ราว 150 คน ในการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยเพื่อก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ณ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ ว่า “ภาคธุรกิจต้องผลักดันให้มากขึ้น เพื่อให้ข้อคิดเห็นของตนเข้าไปสู่นโยบายของรัฐบาล |
. |
โดยผ่านทางนักการเมือง และต้องบอกความต้องการ รวมถึง สิ่งที่ตนเองรู้แก่ภาครัฐ เพื่อให้ประเทศไทยแข่งขันได้เมื่อเข้าร่วมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และมีส่วนแบ่งตลาดที่ใหญ่กว่าในระบบการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้ ที่มีมูลค่าสูงถึง 1.7 ล านล้านเหรียญสหรัฐ และ งบลงทุนของต่างประเทศในอาเซียนที่มีมูลค่าสูงถึง 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ” |
. |
รมช. ประดิษฐ์ กล่าวว่า “การส่งออกของไทยไปยังประเทศในภูมิภาคนี้เพิ่มสูงขึ้นมาก ตัวเลขเฉพาะเดือนมิถุนายนเรามียอดส่งออกถึง 1.8 หมื่นล้านบาท และตั้งแต่มีการยกเลิกภาษีระหว่างอาเซียน เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทำให้เรามียอดการส่งออกไปยังประเทศฟิลิ ปินส์เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 90 ส่งออกไปอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 89 ขณะที่การส่งออกไปมาเลเซียก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 62” |
. |
“ยอดการส่งออกที่ดีขึ้นนี้สะท้อนให้เห็นว่าการรวมอาเซียนนั้นมีผลในทางบวกต่อเรา และเพื่อให้เกิดความสำเร็จอย่างยั่งยืน ประเทศไทยต้องเตรียมตัวให้พร้อมกับการเคลื่อนย้ายอย่างอิสระของปัจจัยการผลิต และการบริการต่างๆ รวมถึงการลงทุน เงินทุน หรือแร งงาน ในระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน” นายประดิษฐ์ กล่าว |
. |
นายประดิษฐ์ ยังกล่าวต่อว่า “ประเทศไทยจะแข่งขันกับประเทศอื่นไม่ได้ หากนักการเมืองขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการของภาคธุรกิจ และสภาพการแข่งขันระหว่างภูมิภาค และระหว่างนานาชาติ ผมจึงอยากให้ภาคธุรกิจทำงานร่วมกับภาครัฐอย่างใ ล้ชิดขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศเรา” |
. |
นายประดิษฐ์ กล่าวว่า “รัฐบาลต้องเป็นผู้นำในการช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับภาคธุรกิจ ด้วยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ รวมถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษี นอกจากนั้น เราต้องมีระบบการศึกษาและสาธารณสุขที่เห าะสมกับอนาคต และสอดคล้องกับหลักปฎิบัติแบบสากลอีกด้วย” |
. |
นายประดิษฐ์ ยังได้กล่าวถึงแผนปฏิรูปกรมศุลกากรว่า ได้ให้นโยบายกับกรมศุลกากรในการอำนวยความสะดวกให้กับการค้า เพื่อให้ภาคธุรกิจทำงานได้สะดวกราบรื่นขึ้น |
. |
“สำหรับร่างกฎหมายใหม่ของกรมศุลกากรที่กำลังจะส่งให้สภาพิจารณานั้นมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความโปร่งใส และทำให้คำวินิจฉัยของกรมศุลกากรมีความเที่ยงธรรมยิ่งขึ้น แผนปฏิรูปกรมศุลกากรนี้จึงป็นการยกเครื่องการทำงานของกรมศุลกากรครั้งใหญ่ที่สุด นับ ตั้งแต่ก่อตั้งมากว่า 135 ปี และ การปฏิรูปครั้งนี้เกิดขึ้นมาจากการพูดคุยกับตัวแทนของสมาคมการค้า และหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย โดยรับฟังความต้องการและข้อเสนอแนะต่างๆ” นายประดิษฐ์ กล่าว |