1. ครม.อนุมัติคงภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % ไปอีก 2 ปี |
- ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติให้ยืดระยะเวลา การคงภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในอัตราร้อยละ 7 ต่อไปอีก 2 ปี หลังจากจะหมดเวลาลงเดือนก.ย.53 นี้ เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบันยังอยู่ในระหว่างการฟื้นตัวจึงต้องการให้ผู้ประกอบการธุรกิจ มีต้นทุนคงที่และสามารถประเมินสถานการณ์ในระยะยาวได้ |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า แม้ว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยในเดือนมิ.ย.53 จะส่งสัญญาณ ฟื้นตัวได้เร็วกว่าทั้งจากมูลค่าการส่งออกและจากการการใช้จ่ายภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง แต่เศรษฐกิจไทยยังคงมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ ปัญหาในกรีซ ปัญหาการเมืองภายในประเทศ การแก้ไขปัญหามาบตาพุดที่อาจล่าช้า และการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่ยั่งยืน |
. |
ฉะนั้น การยืดระยะเวลาการคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ออกไป จึงเป็นอีกหนึ่งมาตรการทางการคลังในการช่วยรักษาการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้ยั่งยืน |
. |
2. สศอ. ปรับเป้าดัชนีอุตสาหกรรมปี 53 เพิ่มขึ้น 2 เท่าจากต้นปีเป็นร้อยละ 15-16 ต่อปี หลังเศรษฐกิจฟื้น |
- สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยถึง ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งปี 53 พบว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1 ต่อ ถือเป็นการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ไตรมาส4 ปี 52 ที่ขยายตัวร้อยละ 11.5 จึงได้มีการปรับประมาณการการขยายตัวของดัชนีอุตสาหกรรมในปี 53 อยู่ที่ร้อยละ 15 – 16 ต่อหรือเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากที่ได้ประมาณการไว้เมื่อต้นปี |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิ.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 14.3 ต่อปี ในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 16.0 ต่อปี ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาโดยการปรับผลของฤดูกาลแล้วพบว่า ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิ.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 3.8 ต่อเดือน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -5.1 ต่อเดือน เนื่องจากสถานการณ์การเมืองที่ผ่อนคลายลงจากเดือนก่อน |
. |
โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ส่งผลบวกต่อดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมรวม ได้แก่ HDD, รถยนต์,แอร์ และชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์ ทั้งนี้ การที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรมไทย ซึ่งเมื่อภาวะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวไทยสามารถรับคำสั่งซื้อได้จากทั่วโลกและสามารถผลิตและส่งมอบสินค้าได้ทันต่อเวลา จึงเป็นที่มั่นใจของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย |
. |
3. ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐชะลอลงในเดือน ก.ค. 53 |
- สำนักข่าวรอยเตอร์ (Reuters) รายงานว่าดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐ (Manufaturing index) ปรับตัวมาอยู่ที่ 55.5 จุดในเดือน ก.ค. 53 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 56.2 จุด สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI new order) ที่ปรับตัวลดลงในเดือน ก.ค. 53 ในขณะที่การจ้างงานปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐที่ปรับตัวลดลงในเดือน ก.ค. 53 เป็นมาจากยอดคำสั่งซื้อที่ปรับตัวลดลงส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมเริ่มมีสัญญาณชะลอตัวลง ทั้งนี้ ยังสะท้อนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐที่มีความเปราะบางอยู่ อย่างไรก็ตาม การจ้างงานในเดือน ก.ค. 53 มีการฟื้นตัวต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนผ่านรายได้จากการจ้างงานที่เพิ่มสูงขึ้น |
. |
ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่ารัฐบาลกลาง (FED) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0-0.25 ต่อปี ดังนั้น นโยบายด้านการเงินยังมีส่วนการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ ทั้งนี้ สศค. คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะสามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ในปี 2553 |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |