เนื้อหาวันที่ : 2010-08-02 10:38:41 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 3785 views

SCB EIC แนะธุรกิจอสังหาฯ เน้นจับตาผู้บริโภค

SCB EIC ระบุ ทำเลอย่างเดียวอาจไม่พอ แต่ต้องจับตาการเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริโภค และสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อแข่งขันในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

SCB EIC ระบุ ทำเลอย่างเดียวอาจไม่พอ แต่ต้องจับตาการเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริโภค และสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อแข่งขันในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

.

เมธินี จงสฤษดิ์หวัง Head of Research

.

เมธินี จงสฤษดิ์หวัง Head of Research เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์ของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB Economic Intelligence Center: SCB EIC) พบว่านอกเหนือจากทำเลที่มีความสำคัญธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แล้ว ครัวเรือนแบบใหม่ๆ และรายได้ของครัวเรือนที่สูงขึ้น เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ลักษณะความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป          

.

นอกเหนือจากนี้ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการ ระยะทางจากใจกลางเมือง จำนวนบ้านและสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการ เป็นต้น ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอสังหาริมทรัพย์ได้

.

“ประเด็นที่น่าสนใจมากคือ จะมีการเปลี่ยนแปลงของความต้องการภายในตลาดที่อยู่อาศัยแต่ละประเภท ทั้งตลาดหลัก (segment) ที่เป็นตลาดเดิมและตลาดเกิดใหม่ เช่น ครอบครัวที่มีรายได้สูงมีแนวโน้มจะอยู่บ้านเดี่ยวซึ่งจะเป็นตลาดหลักของบ้านเดี่ยว                       

.

ในขณะที่ผู้เกษียณอายุที่อยู่คนเดียวจะมีแนวโน้มอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมเพิ่มสูงขึ้นซึ่งเป็นตลาดเกิดใหม่ของคอนโดมิเนียม การที่ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เข้าใจตลาดที่เปลี่ยนแปลงและตอบสนองความต้องการเหล่านั้นได้ จะสามารถสร้างความแตกต่างและนำหน้าคู่แข่ง” เมธินีกล่าว

.

ภารดี วิวัฒนะประเสริฐ นักวิเคราะห์อาวุโส

.

นอกจากศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร SCB EIC ได้ทำการวิเคราะห์ว่าปัจจัยใดที่มีผลต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ หรือ ที่เรียกว่า “hedonic pricing analysis” โดย ภารดี วิวัฒนะประเสริฐ นักวิเคราะห์อาวุโส กล่าวว่า “เราต่างทราบว่าทำเลมีความสำคัญมากขนาดไหนสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ทำเลดีๆ มีเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่ง        

.

จากการวิเคราะห์ของเราจะพิจารณาดูว่าปัจจัยอะไรบ้างจะทำให้ผู้บริโภคยินดีจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยหนึ่งๆ โดยพบว่ามีหลายปัจจัย เช่น โครงการที่ถูกพัฒนาโดยบริษัทที่มีชื่อเสียงและน่าเชื่อถือส่งผลให้ผู้บริโภคยินดีจ่ายเงินเพิ่มขึ้นอีกกว่า 40% เมื่อเทียบกับโครงการที่พัฒนาโดยผู้ประกอบการอื่นๆ ทั้งนี้ระยะทางจากใจกลางเมืองก็มีความสำคัญต่อทาวน์เฮ้าส์และคอนโดมิเนียมมากกว่าบ้านเดี่ยว โดยราคาจะลดลงเร็วกว่าบ้านเดี่ยว เป็นต้น”

.

นอกจากนี้ยังพบว่าธุรกรรมที่เกี่ยวกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ คิดเป็นเกือบ 70% ของมูลค่าธุรกรรมดังกล่าวของทั้งประเทศในปี 2009 ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากรุงเทพฯ เป็นตลาดที่มีผู้แข่งขันมาก ทั้งๆ ที่มีพื้นที่จำกัด “รายงานฉบับนี้จึงเน้นถึงการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรและความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงผลที่มีต่อแนวโน้มของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทยในระยะยาว เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในการวางแผนระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ” เมธินี กล่าวทิ้งท้าย