ธนาคารเอชเอสบีซี เผยผลสำรวจประชากรที่มีฐานะมั่งคั่งในเอเชีย พบเศรษฐีฮ่องกงรวยที่สุดด้วยมูลค่าสินทรัพย์สภาพคล่อง สูงสุด
เอสบีซีเผยเศรษฐีฮ่องกงรวยที่สุดในเอเชีย เกือบครึ่งรวยขึ้นในต้นปี 2010 ผู้มีฐานะมั่งคั่งใน Greater China นำโดยฮ่องกง เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดของเอเชีย สินทรัพย์กว่า 1/3 ของชาวฮ่องกงลงทุนในหุ้น อีก ¼ ลงทุนในสกุลเงินหยวน |
. |
. |
ธนาคารเอชเอสบีซี เผยผลสำรวจประชากรที่มีฐานะมั่งคั่งในเอเชีย พบว่าเศรษฐีฮ่องกงรวยที่สุดด้วยมูลค่าสินทรัพย์สภาพคล่อง (liquid assets) สูงสุด โดยร้อยละ 30 สามารถรักษาสินทรัพย์ไว้ได้เท่าเดิม ส่วนอีกร้อยละ 48 มีสินทรัพย์สุทธิ (net worth) เพิ่มขึ้นในช่วงต้นปี 2010 เมื่อเทียบกับ 6 เดือนที่ผ่านมา |
. |
ผลสำรวจยังพบว่าเศรษฐีนักลงทุนชาวเอเชีย ซึ่งมีอายุน้อยที่สุดในบรรดาเศรษฐีทั่วโลก เน้นลงทุนในตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดของโลกซึ่งภาวะเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว และลงทุนอย่างระมัดระวังในตลาดแถบตะวันตกที่ภาวะเศรษฐกิจยังไม่แน่นอน โดยเฉพาะในยุโรป |
. |
เศรษฐีในฮ่องกงมีสินทรัพย์สภาพคล่องเฉลี่ยรายละ 301,289 เหรียญสหรัฐ สูงกว่าเศรษฐีในสิงคโปร์และไต้หวันเกือบเท่าตัว โดยเศรษฐีในสิงคโปร์และไต้หวันมีสินทรัพย์สภาพคล่องเฉลี่ยรายละ 183,145 เหรียญสหรัฐ และ 155,162 เหรียญสหรัฐ ตามลำดับ ผลสำรวจยังระบุว่า ชาวจีนแผ่นดินใหญ่กลายเป็นเศรษฐีใหม่ของเอเชียที่มีสินทรัพย์สภาพคล่องเฉลี่ยสูงสุดรายละ 126,537 เหรียญสหรัฐ ตามด้วยอินเดีย 87,769 เหรียญสหรัฐ อินโดนีเซีย 61,697 เหรียญสหรัฐ และมาเลเซีย 56,891 เหรียญสหรัฐ |
. |
แผนภูมิแสดงสัดส่วนเงินลงทุนและเงินฝาก (%) |
LCY deposits = เงินฝากสกุลเงินท้องถิ่น Securities = ลงทุนในหุ้น FCY deposits = เงินฝากสกุลเงินต่างประเทศ Unit Trusts = หน่วยลงทุนในกองทุนรวม Other Investments = การลงทุนอื่นๆ |
. |
มร. บรูโน ลี ผู้อำนวยการบริหาร แผนกบริหารความมั่งคั่ง ฝ่ายบุคคลธนกิจ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ธนาคารเอชเอสบีซี กล่าวว่า “ในช่วงต้นปี ผู้มีฐานะมั่งคั่งในฮ่องกงส่วนใหญ่มีกำไรจากการฟื้นตัวของตลาดหุ้น และเริ่มมั่นใจที่จะลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ เพื่อเติบโตพอร์ตลงทุนอย่างสมดุล รวมทั้งโอกาสการลงทุนในตลาดที่เศรษฐกิจเติบโตเร็ว” |
. |
ผลการสำรวจทั่วเอเชียพบว่า กว่าครึ่งหนึ่งของสินทรัพย์สภาพคล่องอยู่ในรูปเงินฝาก โดยผู้มีฐานะมั่งคั่งในอินโดนีเซียถือครองเงินสดสูงสุดถึงร้อยละ 95 ฮ่องกง (ร้อยละ 44) ไต้หวัน (ร้อยละ 42) จีนแผ่นดินใหญ่ (ร้อยละ 41) และอินเดีย (ร้อยละ 40) เศรษฐีเหล่านี้ลงทุนในตลาดหุ้น กองทุนรวม และอื่นๆ อย่างน้อยร้อยละ 40 ของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ถือครองอยู่ |
. |
ธนาคารเอชเอสบีซี สำรวจผู้มีฐานะมั่งคั่งในเอเชีย เป็นครั้งที่ 3 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2553 โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามรวม 2,072 คน อายุระหว่าง 18-65 ปี ใน 7 ประเทศ เป็นผู้มีฐานะมั่งคั่งที่อยู่ในกลุ่ม 10 เปอร์เซ็นไทล์แรกของประชากรที่มีสินทรัพย์สภาพคล่องหรือมูลค่าการจำนองสูงสุด โดยการสำรวจครั้งก่อนจัดทำในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2552 |
. |
การเติบโตของสินทรัพย์สุทธิ (Net worth growth) |
ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 69 (เทียบกับร้อยละ 70 จากการสำรวจครั้งที่แล้ว) ของผู้มีฐานะมั่งคั่งในจีนแผ่นดินใหญ่ มีสินทรัพย์สุทธิเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ 6 เดือนที่แล้ว จำนวนผู้มีฐานะมั่งคั่งทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 88 (เทียบกับร้อยละ 85 จากการสำรวจครั้งก่อน) เมื่อรวมผู้ที่มีสินทรัพย์สุทธิเท่าเดิม |
. |
ทั้งนี้มีผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียจำนวนมากขึ้นที่เปิดเผยว่า สินทรัพย์สุทธิของตนมีปริมาณเพิ่มขึ้นหรือเท่าเดิมในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา คือ สิงคโปร์ร้อยละ 91 (เทียบกับร้อยละ 73 จากการสำรวจรอบที่แล้ว) มาเลเซีย (ร้อยละ 91 เทียบกับ ร้อยละ 87) อินเดีย (ร้อยละ 89 เทียบกับ ร้อยละ 82) ยกเว้น ในอินโดนีเซีย และไต้หวันเท่านั้นที่ผู้มีสินทรัพย์สุทธิเพิ่มขึ้นมีจำนวนลดลง อินโดนีเซีย (ร้อยละ 80 ลดลงจาก ร้อยละ 91) ไต้หวัน (ร้อยละ 67 ลดลงจากร้อยละ 75) |
. |
กลุ่มเศรษฐีอายุน้อยในเอเชีย |
เศรษฐีชาวจีนแผ่นดินใหญ่เป็นกลุ่มคนรวยที่มีอายุน้อยที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีอายุเฉลี่ย 36 ปี ตามมาด้วยเศรษฐีอินเดีย อายุเฉลี่ย 38 ปี และอินโดนีเซีย อายุเฉลี่ย 39 ปี ส่วนเศรษฐีฮ่องกงเป็นกลุ่มที่มีอายุมากที่สุดโดยเฉลี่ย 48 ปี โดย 4 ใน 10 คน (หรือร้อยละ 39) เป็นสามีภรรยาที่มีรายได้ทั้งคู่และไม่มีลูก อย่างน้อยร้อยละ 10 ของผู้ตอบแบบสอบถามในทุกประเทศที่ทำการสำรวจยังเป็นโสด ยกเว้น ในไต้หวัน |
. |
มร. ลี กล่าวว่า “ชาวเอเชียที่อายุน้อยและทำงานแบบไม่ประจำที่ มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นกลุ่มผู้มั่งคั่งในยุคนี้ และเมื่ออายุมากขึ้น ความต้องการด้านการบริหารความมั่งคั่งก็เปลี่ยนไป เราพบว่า การลงทุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดหุ้นภายในประเทศ เป็นสาเหตุสำคัญที่เพิ่มความมั่งคั่งแก่ผู้คนในหลายประเทศของภูมิภาคนี้ เศรษฐีใหม่ของเอเชียโดยเฉพาะในจีนแผ่นดินใหญ่ เป็นนักลงทุนที่รอบรู้มากขึ้น เนื่องจากมองหาการลงทุนที่หลากหลาย รวมทั้งโอกาสลงทุนในต่างประเทศเพื่อกระจายความเสี่ยง” |
. |
การลงทุนในปัจจุบัน |
ผู้มีฐานะมั่งคั่งใน Greater China อย่างน้อย 7 ใน 10 คนลงทุนในหุ้น นำโดยเศรษฐีฮ่องกง (ร้อยละ 87) จีนแผ่นดินใหญ่ (ร้อยละ 71) และไต้หวัน (ร้อยละ 70) ถ้าพิจารณาในด้านปริมาณการลงทุนในตลาดหุ้น เศรษฐีฮ่องกงลงทุนในตลาดหุ้นสูงสุดในภูมิภาคนี้ คิดเป็นร้อยละ 34 ของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ถืออยู่ ตามมาด้วยจีนแผ่นดินใหญ่ (ร้อยละ 29) และไต้หวัน (ร้อยละ 26) |
. |
อย่างไรก็ตาม เศรษฐีในไต้หวันและจีนแผ่นดินใหญ่ กลับเป็นนักลงทุนตลาดหุ้นรายใหญ่ที่สุด โดยมีมูลค่าการซื้อขายหุ้นเฉลี่ย 547,739 เหรียญสหรัฐ และ 371,885 เหรียญสหรัฐ ตามลำดับในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ฮ่องกงตามมาในอันดับสาม ด้วยมูลค่าซื้อขายหุ้นเฉลี่ย 220,795 เหรียญสหรัฐ |
. |
ผลสำรวจยังพบว่า เศรษฐีในจีนแผ่นดินใหญ่เป็นกลุ่มที่มีพอร์ตลงทุนที่หลากหลายที่สุดกลุ่มหนึ่งในภูมิภาค โดยสินทรัพย์สภาพคล่องราว 1 ใน 10 ถูกนำไปลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ร้อยละ 55 ของผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่าตนลงทุนในกองทุนรวม ในภาพรวม เศรษฐีในจีนแผ่นดินใหญ่ลงทุนในกองทุนรวมมากที่สุด มีมูลค่ามากกว่า 30,141 เหรียญสหรัฐ ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา |
. |
การลงทุนในอนาคต |
คนรวยในเอเชียยังคงให้ความสนใจลงทุนในตลาดหุ้น นำโดยเศรษฐีอินเดีย (ร้อยละ 44) ตามมาด้วยฮ่องกง (ร้อยละ 42) จีนแผ่นดินใหญ่ (ร้อยละ 18) ส่วนเศรษฐีใน Greater China นำโดยฮ่องกง (ร้อยละ 20) จีนแผ่นดินใหญ่ (ร้อยละ 16) และไต้หวัน (ร้อยละ 12) มีแผนกระจายการลงทุน รวมถึงการลงทุนในสกุลเงินหยวนในอีก 3 เดือนข้างหน้า และปัจจุบันพบว่า ราวร้อยละ 23 ของเศรษฐีในฮ่องกงลงทุนในสกุลเงินหยวน |
. |
ส่วนผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ พบว่า ได้รับความสนใจจากเศรษฐีใน Greater China มากกว่า นำโดยฮ่องกง (ร้อยละ 32) จีนแผ่นดินใหญ่ (ร้อยละ 21) และไต้หวัน (ร้อยละ 12) ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 13 ในฮ่องกง และร้อยละ 14 ในจีนแผ่นดินใหญ่ สนใจลงทุนในพันธบัตรเป็นครั้งแรก ขณะที่ร้อยละ 14 ของเศรษฐีในจีนแผ่นดินใหญ่ และร้อยละ 10 ในไต้หวันมีแผนเปิดบัญชีในต่างประเทศเพื่อลงทุนในหุ้นและกองทุนรวม |
. |
มร. ลี กล่าวว่า “ผลการสำรวจในภาพรวมสะท้อนว่า ผู้มีฐานะมั่งคั่งในเอเชียยังไม่ได้กระจายการลงทุนในสินทรัพย์ครบทุกประเภท การลงทุนกระจุกตัวมากในหุ้น เมื่อเทียบกับกองทุนรวมที่บริหารโดยมืออาชีพ ซึ่งอาจเนื่องมาจากผลิตภัณฑ์เพื่อการลงทุนที่มีให้เลือกไม่มากนัก และการเข้าถึงตลาดในแต่ละประเทศที่ยังจำกัด |
. |
แต่พบว่าเศรษฐีใหม่ในเอเชียเป็นนักลงทุนที่มีวุฒิภาวะมากขึ้น เพราะระมัดระวังการลงทุนในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนอย่างรวดเร็วเพื่อรับมือกับสภาพตลาดที่เปลี่ยนไป และยังเป็นนักลงทุนที่กระตือรือร้นแสวงหาโอกาสใหม่ๆ เพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่ง เช่น การลงทุนในสกุลเงินหยวน ตลาดเกิดใหม่ และการลงทุนในต่างประเทศ เป็นต้น การมีส่วนร่วมมากขึ้นในตลาดสินทรัพย์เพื่อการลงทุน ยังช่วยบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติการเงินในยุโรปที่จะมีต่อฐานะความมั่งคั่งของเศรษฐีในเอเชียอีกด้วย” |
. |
ดัชนีวัดระดับความเสี่ยงของผู้มีฐานะมั่งคั่งในเอเชียของเอชเอสบีซี (HSBC Affluent Asian Risk Index) |
ผลสำรวจได้คำนวณดัชนีความเสี่ยง เพื่อวัดความคิดและพฤติกรรมของผู้มีฐานะมั่งคั่งในเอเชียที่มีต่อความปลอดภัยในการลงทุน (security) และการเติบโตของสินทรัพย์ (growth) โดยพิจารณาจากคุณสมบัติหลายประการ ซึ่งค่าดัชนีเริ่มตั้งแต่ 0-200 โดยที่ 0 หมายถึง ความปลอดภัยในการลงทุน และ 200 หมายถึง การเติบโตของสินทรัพย์ ตลาดในเอเชียแปซิฟิกมีแนวโน้มค่อนไปทางค่าเฉลี่ย 100 โดยเศรษฐีรุ่นใหม่ในเอเชียมีทัศนคติแบบกลาง ๆ ต่อความเสี่ยง เมื่อเทียบกับ 6 เดือนก่อนหน้า คือ อินโดนีเซีย (ค่าดัชนีอยู่ที่ 100) อินเดีย (100) จีนแผ่นดินใหญ่ (99) |
. |
ส่วนตลาดที่เจริญกว่าอย่างไต้หวัน ค่าดัชนีอยู่ที่ 89 มาเลเซีย (89) สิงคโปร์ (82) และฮ่องกง (82) สะท้อนว่า นักลงทุนหันไปใช้กลยุทธ์เน้นความปลอดภัยในการลงทุนมากขึ้น ค่าดัชนีของฮ่องกง และสิงคโปร์ มีผลมาจากการที่นักลงทุนรอบคอบในการลงทุนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ไม่มั่นใจหรือไม่คุ้นเคย |
. |
ผู้มีฐานะมั่งคั่งในจีนแผ่นดินใหญ่ 6 ใน 10 คน (หรือร้อยละ 66) อินเดีย (ร้อยละ 64) และฮ่องกง (ร้อยละ 62) ยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับปานกลาง ขณะที่ในสิงคโปร์ (ร้อยละ 47 เทียบกับร้อยละ 18 ในการสำรวจคราวก่อน) และ ไต้หวัน (ร้อยละ 36 เทียบกับ ร้อยละ 18) หันมาสนใจการลงทุนแบบคุ้มครองเงินต้นมากขึ้น เมื่อเทียบกับ 6 เดือนก่อน |
. |
ส่วนผู้มีฐานะมั่งคั่งในตลาดเกิดใหม่อย่างอินโดนีเซีย (ร้อยละ 25) และมาเลเซีย (ร้อยละ 23) มีแนวโน้มยอมรับการลงทุนที่มีความเสี่ยงมากกว่านักลงทุนชาติอื่นในภูมิภาคเดียวกัน |