1. ธปท. เผยกรอบอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.5 - 3.0 ต่อปี เหมาะสม |
- ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า กรอบอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 53 ที่ระดับร้อยละ 0.5 – 3.0 ต่อปี ซึ่งถือว่ามีความเหมาะสมสำหรับเศรษฐกิจ ณ ขณะนี้ โดยเป็นกรอบที่แคบลงกว่าอดีตที่เคยอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.5 – 3.5 ต่อปี โดยพิจารณาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือน มิ.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 1.1 ต่อปี ลดลงเล็กน้อยจากเดือน พ.ค. 53 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.2 ต่อปี โดยมีสาเหตุมาจากราคาสินค้าหลายชนิดที่มีการเปลี่ยนแปลงโดยสินค้าที่มีราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ค่าเช่าบ้านและค่าของใช้ส่วนบุคคล ในขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ ค่าโดยสารรถประจำทางปรับอากาศชั้น 2 และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ |
. |
ทั้งนี้ สศค. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 53 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.8 – 1.8 ต่อปี คาดการณ์ ณ เดือนมิ.ย. 53) ซึ่งอัตราเงินพื้นฐานในปัจจุบันยังคงอยู่ในกรอบคาดการณ์ของธปท. |
. |
2. ธปท. เชื่อภาคการท่องเที่ยวของไทยฟื้นแน่ช่วงปลายปี 53 |
- ธปท กล่าวถึง แนวโน้มการท่องเที่ยวในช่วงครึ่งหลังของปี 53 ว่าหากไม่มีปัจจัยลบเพิ่มเติม คาดว่าการท่องเที่ยวของไทยจะเข้าสู่ภาวะปกติได้ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวปลายปีนี้ แต่ภาพรวมจำนวนนักท่องเที่ยวปี 53 จะยังคงต่ำกว่าปี 52 และรายรับภาคการท่องเที่ยวโดยรวมของทั้งปี 53 จะต่ำกว่าปีก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการมีการปรับลดราคาลง เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว |
. |
สำหรับภาคการท่องเที่ยวจากต่างชาติพบว่าหลังในช่วงปลายปี 52 ที่ภาวะเศรษฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้น นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมายังไทยปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่สถานการณ์การเมืองในประเทศและความเสี่ยงจากปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มยุโรป รวมทั้งปัจจัยทางฤดูกาล ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในเดือนเม.ย. 53 ลดลงมาก และในเบื้องต้นคาดว่าอาจจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อภาวะการท่องเที่ยวของไทยในช่วงที่เหลือของปี |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า แม้ว่าการท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากปัญหาการเมืองที่เริ่มในเดือน มี.ค.แต่พบว่าเริ่มมีผลชัดเจนในเดือน พ.ค.ที่มีการหดตัวครั้งแรกที่ร้อยละ -12.9 ต่อปี แต่มีสัญญาณฟื้นตัวเร็วในเดือน มิ.ย. ที่มีการหดตัวเพียงร้อยละ -1.1 ต่อปี ดีกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้เดิม |
. |
ทั้งนี้ จากข้อมูลล่าสุดพบว่าจำนวนผู้เดินทางผ่านสนามบินสุวรรณภูมิ (คิดเป็นร้อยละ 70 ของด่านทั้งหมด) 21 วันแรกของเดือน ก.ค.53 มีจำนวน 5.8 แสนคน ขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 11.5 ต่อปี ซึ่งนับว่ากลับมาฟื้นตัวอย่างชัดเจน ทั้งนี้ จากนโยบายของรัฐบาลที่ออกมาช่วยเหลือภาคการท่องเที่ยว จะทำให้การท่องเที่ยวต่างชาติสามารถฟื้นตัวได้ต่อเนื่องและจะสามารถมีจำนวนได้ไม่ต่ำกว่าปีก่อนที่มีจำนวน 14.1 ล้านคน |
. |
3. อินเดียปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 |
- ธนาคารกลางอินเดียประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย repo rate ร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 5.75 ในการประชุมวันที่ 27 กรกฎาคม 53 และได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย reverse repo rate ร้อยละ 0.50 เป็นร้อยละ 4.5 ซึ่งเป็นการปรับขึ้นในสัดส่วนที่มากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ โดยธนาคารกลางได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเงินเฟ้อในปีงบประมาณ 2553 เป็นร้อยละ 6.0 จากเดิมขยายตัวร้อยละ 5.5 |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของอินเดียสอดคล้องกับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องในช่วงหลาย ไตรมาสข้างหน้า |
. |
การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อสะกัดกั้นการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อหลังจากที่รัฐบาลประกาศปล่อยลอยตัวราคาน้ำมันเบนซินและปรับเพิ่มราคาเชื้อเพลิงอื่นๆ ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2553 ซึ่งแนวโน้มการคุมเข้มนโยบายการเงินเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับการคุมเข้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางในแถบเอเชีย |
. |
อาทิ ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ ธนาคารกลางมาเลเซีย และธนาคารกลางไต้หวัน ที่ยังคงอยู่ในช่วงเริ่มแรกของวัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ สศค. คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจอินเดียน่าจะขยายตัวร้อยละ 8.2 ต่อปี ในปี 2553 โดยเป็นผลมาจากอุปสงค์ในประเทศที่ยังขยายตัวได้ดีและภาคการผลิตขยายตัวได้ดีมาก |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |