NED เปิดตัว "ลพบุรี โซล่าร์" ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใหญ่ที่สุดในโลก เตรียมขยายการลงทุนเพิ่มเป็น 84 เมกะวัตต์ ฉลองปีมหามงคล
เอ็นอีดี ประกาศเปิดตัว “ลพบุรี โซล่าร์” ต้นแบบโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ด้วยกำลังการผลิตขนาด 73 เมกะวัตต์ ผนึกกำลังกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ ทั้ง ADB, KBank, SCB, BBL และชาร์ป คอร์ปอเรชั่น เตรียมก่อสร้างเดือนสิงหาคมนี้ และเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ปลายปี 2554 พร้อมเดินหน้าขยายการลงทุนเพิ่มอีก 11 เมกะวัตต์ รวมเป็น 84 เมกะวัตต์ เพื่อร่วมฉลองปีมหามงคลของประเทศไทยและคนไทยในปีหน้า |
. |
. |
นายวินิจ แตงน้อย ประธานกรรมการ บริษัท พัฒนาพลังงานธรรมชาติ จำกัด หรือ เอ็นอีดี (Natural Energy Development Co., Ltd. - NED) เผยในพิธีเปิดตัวโครงการ “ลพบุรี โซล่าร์” ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ที่ ต.วังเพลิง อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี มูลค่า 8,000 ล้านบาท ว่า |
. |
ขณะนี้บริษัทฯ พร้อมเริ่มก่อสร้างโครงการแล้ว โดยมีกำหนดเริ่มงานในเดือนสิงหาคมนี้ และเตรียมเดินหน้าโครงการขยายการลงทุนเพิ่มอีกประมาณ 1,200 ล้านบาท เพื่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดกำลังการผลิต 11 เมกะวัตต์ ในพื้นที่เดียวกับโครงการเฟสแรก ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ มีกำลังการผลิตรวม 84 เมกะวัตต์ เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปีมหามงคล แห่งการบรมราชาภิเษกปีที่ 60 และเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในปี 2554 |
. |
ทั้งนี้ โครงการขยายการลงทุนของบริษัทฯ ได้รับหนังสือสนับสนุนการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จากองค์การบริหารส่วนตำบลวังเพลิง และองค์การบริหารส่วนตำบลเขาแหลม รวมทั้งได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ภายใต้โครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) เรียบร้อยแล้ว และได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) แล้วด้วย ซึ่งคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในปีหน้า |
. |
นายวินิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า เอ็นอีดีได้ลงนามในสัญญาจัดซื้อแผงโซล่าร์ แบบทินฟิล์ม จำนวนกว่า 540,000 แผง กับชาร์ป คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นผู้ผลิตแผงโซล่าร์ระดับโลก และลงนามในสัญญาก่อสร้างกับ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท อิตัลไทยเอ็นจิเนียร์ริ่ง จำกัด ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้ในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2554 |
. |
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีแผนในการพัฒนาและตั้งศูนย์นวัตถกรรมพลังงานทดแทนขึ้นในพื้นที่โครงการ โดยเน้นพลังงานแสงอาทิตย์เป็นหลัก เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และเป็นจุดท่องเที่ยวของจังหวัดลพบุรี ร่วมกับเขื่อนป่าศักดิ์ชลสิทธิ์และทุ่งดอกทานตะวัน ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดในปัจจุบันด้วย โดยบริษัทฯ เล็งเห็นว่าการดำเนินงานในส่วนนี้จะช่วยให้ชุมชนและพื้นที่รอบข้างมีรายได้เพิ่มเติมจากการเยี่ยมชมของนักท่องเที่ยวและผู้มาศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ |
. |
สานฝันโครงการพลังงานทดแทนของประเทศไทย |
นายวรมน ขำขนิษฐ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พัฒนาพลังงานธรรมชาติ จำกัด (Natural Energy Development Co., Ltd. - NED) กล่าวเสริมว่า โครงการ “ลพบุรี โซล่าร์” เป็นโครงการแรกที่ขานรับแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี (2551 – 2565) ของประเทศไทย ซึ่งในระยะแรกของแผนนี้ (2551 – 2554) มีเป้าหมายที่จะผลักดันให้เกิดการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 55 เมกะวัตต์ ซึ่งโครงการ “ลพบุรี โซล่าร์" เป็นโครงการที่สนับสนุนให้เป้าหมายดังกล่าวบรรลุได้” |
. |
นอกจากนี้ โครงการ “ลพบุรี โซล่าร์” ยังมีส่วนร่วมในการช่วยประเทศไทยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศได้มากกกว่า 1.3 ล้านตันตลอดอายุการดำเนินโครงการ 25ปี และช่วยลดการนำเข้าเชื้อเพลิงได้มากถึงปีละ 35,000 ตัน ซึ่งสอดคล้องกับการที่ประเทศไทยได้ให้คำมั่นสัญญากับประชาคมโลกที่เมืองโคเปนเฮเกนในเรื่องของการร่วมกันดูแลการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศโลก |
. |
สถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศหนุนโครงการเต็มที่ |
โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 73 เมกะวัตต์ของเอ็นอีดี ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงินชั้นนำทั้งในและจากต่างประเทศ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ซึ่งให้เงินกู้แก่โครงการ มูลค่า 70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณกว่า 2 พันล้านบาท |
. |
รวมถึงธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)และ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่างให้เงินกู้แก่โครงการรวมกันมูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท โดยมีธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท หลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน |
. |
นอกจากนี้ สถาบันการเงินชั้นนำทั้งในและจากต่างประเทศดังกล่าวพร้อมที่จะขยายวงเงินกู้เพื่อสนับสนุนการลงทุนเพิ่มอีกประมาณ 1,200 ล้านบาท เพื่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดกำลังการผลิต 11 เมกะวัตต์อีกด้วย จังหวัดลพบุรีเหมาะสมที่สุด |
. |
นายวรมน กล่าวถึงการเลือกสถานที่โครงการ “ลพบุรี โซล่าร์” ว่า ลพบุรีเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพมากที่สุดในการตั้งโครงการ เพราะมีความเหมาะสมในเรื่องการเชื่อมต่อกับระบบสายส่ง และความเข้มของแสงอาทิตย์ |
. |
ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดยอยู่ในระดับที่สมบูรณ์และเป็นไปตามข้อมูลขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration :NASA) และกระทรวงพลังงาน อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ ที่มีฝุ่นละอองน้อย และไม่มีผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชนโดยรอบและบริเวณใกล้เคียง |
. |
นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า โครงการลพบุรีโซล่าร์ เป็นโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีการสนับสนุนโดยกระทรวงพลังงานในเรื่องนโยบายรายได้ส่วนเพิ่มค่าไฟให้กับโครงการของผู้ถือหุ้นโครงการ (Adder) ด้านการสนับสนุนจากส่วนต่างๆ |
. |
รวมถึงธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) และธนาคารในประเทศ ธนาคารกสิกรไทย ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและเป็นผู้นำในการให้การสนับสนุนธุรกิจพลังงานทดแทน มีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนตามนโยบายของภาครัฐที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเป้าหมายในการพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนให้ได้ 26% ในอีก 15 ปีข้างหน้า |
. |
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ธนาคารได้ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนอุตสาหกรรมพลังงานทางเลือกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะปัจจุบันที่นวัตกรรมทางด้านพลังงานสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นมากยิ่งขึ้นเพื่อการดำรงอยู่ของสังคมอย่างยั่งยืน |
. |
ทั้งนี้ ธนาคารได้กำหนดนโยบายในการเป็นหนึ่งในองค์กรชั้นนำที่ให้การสนับสนุนพลังงานสีเขียวอย่างจริงจัง และการเข้าร่วมสนับสนุนในโครงการของ NED ครั้งนี้ นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของธนาคาร ในการร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานทางเลือก ตลอดจนสร้างความเติบโตที่ยั่งยืนให้กับประเทศไทย |
. |
คุณชาญศักดิ์ เฟื่องฟู รองผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารขอแสดงความยินดีกับ บริษัท พัฒนาพลังงานธรรมชาติ จำกัด ที่ประสบความสำเร็จในการเปิดตัวโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ธนาคารกรุงเทพได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนเงินกู้ครั้งนี้ |
. |
นับเป็นการดำเนินงานตามนโยบายพลังงานของประเทศ โดยเฉพาะด้านการผลิตพลังงานทดแทน ซึ่งได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐในทุกรูปแบบ รวมถึงยังผลักดันพลังงานหมุนเวียนจากลม แสงอาทิตย์ พลังน้ำ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ พลังงานจากขยะอย่างจริงจังและต่อเนื่อง มาโดยตลอด จนถูกกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ |