1.สภาอุตสาหกรรมประกาศว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการเดือน มิ.ย. 53 ปรับตัวดีขึ้น |
- นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ในเดือน มิ.ย. 53 ที่ได้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,075 ตัวอย่าง ครอบคลุม 39 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมฯ ว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 103.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค. 53 ที่ระดับ 94.7 |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า การปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีดังกล่าว เกิดจากการปรับเพิ่มขึ้นในองค์ประกอบดัชนีในด้านยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองได้คลี่คลายลง และจากความพยายามของรัฐบาลที่เดินหน้าตามแผนปรองดองแห่งชาติให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น |
. |
ขณะเดียวกันการค้าระหว่างประเทศของไทยช่วงที่ผ่านมามีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งออกในเดือน มิ.ย. 53 ขยายตัวสูงสุดในประวัติศาสตร์ที่ร้อยละ 46.3 ต่อปี ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนให้ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการปรับตัวดีขึ้น และมีค่าดัชนีเกิน 100 |
. |
โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดส่งออกต่างประเทศและกลุ่มฯที่เน้นตลาดในประเทศปรับตัวดีขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 119.3 และ 99.5 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 112.8 และ 99.5 ตามลำดับ บ่งชี้สัญญาณการลงทุนที่น่าจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 |
. |
2. ธปท. ชี้ การส่งออกและนำเข้าที่สูงสะท้อนการใช้จ่ายในประเทศที่ดี |
- รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่าการที่ภาคการส่งออกและนำเข้าในเดือนมิ.ย.โดยขยายตัวสูงเป็นประวัติการณ์ถึงร้อยละ 46.3 ต่อปีและ 37. 9 ต่อปี หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 36.6 และ 51.7 ต่อปีเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบช่วงครึ่งแรกของปีนี้เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วนั้น |
. |
สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนผู้บริโภคในประเทศมีความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงว่าเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวที่ดี โอกาสที่เศรษฐกิจจะเติบโตได้ดีต่อเนืองอย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนจากการฟื้นตัวที่อาจจะไม่ต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลกจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจสหรัฐ ยุโรปและความต้องการชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจจีนในระยะถัดไปด้วย |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่าภาคการนำเข้าที่ขยายตัวในระดับที่สูงในช่วงครึ่งแรกของปีมาจากทุกหมวดสินค้า โดยในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภคนั้นขยายตัวได้ในระดับสูงที่ 33.0 ต่อปีบ่งชี้ถึงการจับจ่ายใช้ที่ต่อเนื่องภายในประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงที่ขยายตัวที่ 21.2 ต่อปีและยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งที่ขยายตัวที่ร้อยละ 59.6 ต่อปี |
. |
ในขณะเดียวกัน สินค้าวัตถุดิบและกื่งและสินค้าทุนซึ่งสามารถขยายตัวได้ถึงร้อยละ 60.1 และ32.1 ต่อปีนั้นบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มมีการนำเข้าเพื่อขยายการลงทุนมากขึ้น อีกทั้งเป็นการนำเข้าเพื่อการผลิตเพื่อส่งออกซึ่งสะท้อนได้จากมูลค่าการส่งออกในระดับที่สูงในช่วงที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงอุปสงค์การใช้จ่ายทั้งในและนอกประเทศในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาที่อยู่ในระดับที่สูง |
. |
3.ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (PMI) เดือน ก.ค. 53 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมา |
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing Purchasing Manager Index: PMI) เดือน ก.ค. 53 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 56.5 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ระดับ 55.6 จากผลผลิตและยอดสั่งจองที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้หากพิจารณาเป็นรายประเทศจะพบว่าประเทศเยอรมันเป็นปัจจัยสำคัญของการเพิ่มขึ้นในดัชนีดังกล่าว |
. |
- ฝ่ายเลขาฯ วิเคราะห์ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นนั้น สะท้อนถึงเศรษฐกิจยุโรปที่ยังคงขยายตัวได้ดี ถึงแม้จะเผชิญกับความเสี่ยงด้านวิกฤตหนี้สาธารณะ โดยส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลมาจากค่าเงินยูโรที่ยังคงอ่อนค่าอยู่ ซึ่งส่งผลเชิงบวกต่อการส่งออกสินค้า ในขณะเดียวกันค่าเงินยูโรที่อ่อนค่าลงได้ส่งผลต่อภาคการท่องเที่ยวและบริการให้ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน |
. |
โดยดัชนีฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (Service Purchasing Manager Index: PMI) เดือน ก.ค. 53 ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 56 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจาก PMI ของประเทศฝรั่งเศสปรับตัวดีขึ้น อันเนื่องมาจากภาคการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ค่าเงินยูโรเทียบกับดอลลาร์สหรัฐได้อ่อนค่าลงถึงร้อยละ 9.0 นับตั้งแต่ต้นปี 53 |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |