เนื้อหาวันที่ : 2010-07-15 14:43:40 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 598 views

ซีเคทีซี เริ่มก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง

โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยกิจการร่วมค้า ซีเคทีซี (สัญญาที่ 1) CKTC JOINT VENTURE (CONTRACT 1)

.

.

กิจการร่วมค้า ซีเคทีซี (CKTC JOINT VENTURE) ผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ เริ่มดำเนินการก่อสร้าง 10 พฤศจิกายน 2552 สิ้นสุดโครงการ 21 กรกฎาคม 2556  กิจการร่วมค้า ซีเคทีซี เป็นการร่วมทุนกันระหว่าง บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท โตคิว คอนสตรัคชั่น จำกัด ได้รับสัญญาสัมปทานในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง

.

เป็นงานก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ(ส่วนตะวันออก)สัญญาที่1 เป็นโครงการของรัฐบาลที่ดำเนินการขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่พักอาศัยอยู่บริเวณปริมณฑล  เส้นทางการก่อสร้างมีระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร มี 8 สถานีโดยเริ่มจากสถานีแยกนนทบุรี 1 และสิ้นสุดที่สถานีเตาปูน

.

มีรายละเอียดสถานีดังต่อไปนี้  1. สถานีแยกนนทบุรี1  2. สถานีศรีพรสวรรค์ 3. สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี 4.สถานีกระทรวงสาธารณสุข  5. สถานีแยกติวานนท์  6. สถานีวงศ์สว่าง 7. สถานีบางซ่อน และ 8. สถานีเตาปูน  เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงยังผ่านสถานที่ราชการสำคัญ ๆ หลายแห่ง ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนทั่วไปที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพฯ จังหวัดนนทบุรีและเขตปริมณฑลได้เป็นอย่างดี   

.

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม 2553 เวลา 09.00 น. กิจการร่วมค้า ซีเคทีซี ผู้ดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง งานก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ (ส่วนตะวันออก) สัญญาที่ 1 ได้เข้าร่วมประชุมกับคณะทำงานศูนย์ประสานงานจังหวัดนนทบุรี เพื่อติดตามความคืบหน้าของการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ และหาแนวทางในการจัดการจารจรในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้าง 

.

ในการนี้ได้กำหนดให้มีการประชุมเพื่อรับทราบความคืบหน้าและผลกระทบการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ณ ห้องประชุมใหญ่ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี โดยมีนายวิเชียร  พุฒิภิญญู  ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี เป็นประธานในการประชุมครั้งนี้

.

ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม คือ 1. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 2. ตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี 3. บริษัทก่อสร้างทั้ง 3 สัญญา ซึ่งได้สรุปข้อมูลความก้าวหน้าการดำเนินโครงการเสนอให้ที่ประชุมได้รับทราบ   เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงแผนการก่อสร้างให้เหมาะสม  และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะให้เกิดผลกระทบและความเดือดร้อนกับประชาชนให้น้อยที่สุด