เนื้อหาวันที่ : 2010-07-15 12:12:42 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 3929 views

"ไม่มีความปลอดภัย ไม่มีการผลิต" คติประจำใจชาวไทยฮอนด้า

ฮอนด้า โชว์ผลงานด้านความปลอดภัยโดดเด่นคว้ารางวัลสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานระดับประเทศต่อเนื่องเป็นปี 15 ติดต่อกัน

ฮอนด้า โชว์ผลงานด้านความปลอดภัยโดดเด่นคว้ารางวัลสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานระดับประเทศต่อเนื่องเป็นปี 15 ติดต่อกัน

.

.

“ไม่มีความปลอดภัย ไม่มีการผลิต” คติประจำใจชาวไทยฮอนด้า จากนโยบายและการปฏิบัติที่เข้มแข็งสู่วัฒนธรรมความปลอดภัย จากข้อมูลกระทรวงแรงงานพบว่า อัตราการประสบอันตรายจากการทำงานของลูกจ้าง ตั้งแต่ปี 2543-2552 มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2552 มีอัตราการประสบอันตรายจากการทำงานอยู่ที่ 5.39 รายต่อลูกจ้าง 1,000 คน ลดลงจากปี 2551               

.

ซึ่งมีอัตราการประสบอันตรายจากการทำงานอยู่ที่ 6.08 รายต่อลูกจ้าง 1,000 คน คิดเป็นอัตราส่วนลดลงร้อยละ 11.35 แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญของสวัสดิภาพและความปลอดภัยของพนักงาน ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างหนึ่งของผู้ประกอบการในปัจจุบัน

.

บริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด โรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ และเครื่องยนต์อเนกประสงค์ของฮอนด้านับเป็นสถานประกอบการลำดับต้นๆ ที่เล็งเห็นและให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยในสถานประกอบการอย่างจริงจังนับแต่ตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทยในปี 2508 นโยบาย “ไม่มีความปลอดภัย ไม่มีการผลิต” ของบริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น นับเป็นปรัชญาการดำเนินงานที่ไทยฮอนด้ายึดถือเป็นแนวทางมาตลอด  

.

โดยพิสูจน์ให้เห็นจากรางวัลสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานระดับประเทศ 15 ปีติดต่อกันจากกระทรวงแรงงาน ซึ่งถือเป็นผู้ประกอบการรายแรกและรายเดียวในประเทศไทยที่ได้รับรางวัลนี้อย่างต่อเนื่องยาวนานสูงสุด

.

.

นายประกิจ ชุณหชา กรรมการบริหาร กล่าวถึงเบื้องหลังความสำเร็จในครั้งนี้ว่า “ความสำเร็จของไทยฮอนด้าเกิดขึ้นได้ด้วยความปลอดภัยขององค์ประกอบหลัก 3 ส่วนได้แก่ ฮาร์ดแวร์ คือความปลอดภัยของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน มีระบบป้องกันอันตราย เช่นระบบเซ็นเซอร์ต่างๆ เพื่อป้องกันการผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน ซอฟต์แวร์ คือ ระบบบริหารความปลอดภัยของบริษัท อันประกอบไปด้วย มาตรการและกฎระเบียบด้าน

.

ความปลอดภัย มาตรฐานการทำงานอย่างปลอดภัย เช่น การตรวจเช็คสภาพความพร้อมของเครื่องจักรก่อนเริ่มงานทุกวัน การสวมเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เป็นต้น และ ฮิวแมนแวร์ คือการรณรงค์สร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยให้กับพนักงาน ซึ่งข้อนี้นับเป็นส่วนที่ยากและสำคัญที่สุดในการสร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยในองค์กร        

.

ที่สำคัญ ผู้บริหารระดับสูงสุดต้องให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง เพื่อกระตุ้นให้พนักงานทุกคนเกิดความตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงาน เช่น การตรวจความปลอดภัยสถานที่ปฏิบัติงานของผู้บริหารผู้บังคับบัญชา กิจกรรมการคาดการณ์อันตรายล่วงหน้าที่อาจจะเกิดขึ้นในการทำงาน ฯลฯ           

.

ทั้งนี้ ไทยฮอนด้ายังมุ่งเน้นยกระดับจิตสำนึกด้านความปลอดภัยของพนักงานให้มากขึ้นด้วยการใช้กระบวนการสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย หรือ BBS คือ Behavior Based Safety ซึ่งเป็นกระบวนการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงให้เป็นพฤติกรรมที่ปลอดภัย โดยพนักงานทุกคนจะต้องมีส่วนร่วม และผู้บริหารจะต้องเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น”

.

เส้นทางสู่การสร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยของไทยฮอนด้า แบ่งออกเป็น 3 ช่วงได้แก่ ช่วงเริ่มต้น คือ ปี 2537- 2541 ซึ่งไทยฮอนด้าได้เริ่มจัดตั้งระบบบริหาร

.

.

ความปลอดภัยในปี 2537 โดยมีเป้าหมายที่จะลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุและอัคคีภัยเป็นศูนย์ ภายหลังจากการจัดตั้งระบบบริหารความปลอดภัยเป็นระยะเวลา 2 ปี ไทยฮอนด้าก็ได้เข้าร่วมประกวดสถานประกอบกิจการดีเด่นด้าน

.

ความปลอดภัย ของกระทรวงแรงงานและได้รับรางวัลสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นปีแรกในปี 2539 และรับรางวัลอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ในช่วงแรก ไทยฮอนด้าสามารถลดอุบัติเหตุจากการทำงานจาก 150 รายต่อปี เหลือเพียง 25 รายในปี 2541

.

ต่อจากนั้นในช่วงปี 2542 – 2547 นับเป็นช่วงขยายผลการวางรากฐานด้านความปลอดภัยในสถานประกอบการ โดยสามารถลดอุบัติเหตุได้เหลือเพียง 2.8 รายต่อล้านชั่วโมง ในปี 2547 และในช่วงปี 2548-ปัจจุบัน คือการสร้างความยั่งยืนด้านมาตรฐานความปลอดภัยให้กับองค์กร โดยมุ่งเน้นที่การปลูกจิตสำนึกพนักงานผ่านกิจกรรมต่าง ๆ จัดอบรมซ้ำสำหรับพนักงานทุกระดับ และเข้าสู่ระบบความปลอดภัย ILO-OSH2001 (ILO Guideline on Occupational Safety and Health Management System)

.

โดยมีสถิติการลดอุบัติเหตุเหลือเพียง 0.8 รายต่อล้านชั่วโมงในปี 2552 ในปีนี้ไทยฮอนด้าได้รับรางวัลติดต่อกันเป็นปีที่ 15 ซึ่งครบกำหนดที่กระทรวงแรงงานตั้งไว้คือ ผู้ประกอบการจะได้รับรางวัลได้สูงสุดไม่เกิน 15 ปี อย่างไรก็ตาม ไทยฮอนด้าจะยังคงยึดมั่นในหลักปฏิบัติทางด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด โดยหล่อหลอมให้เป็นวัฒนธรรมขององค์กรและจิตสำนึกของพนักงานทุกคน

.

“ อยากให้ทุกองค์กรมองว่าความปลอดภัยและสวัสดิภาพของพนักงานเป็นเรื่องสำคัญ เพราะบุคลากรคือทรัพยากรที่มีค่าที่สุด จุดเริ่มต้นในการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรจึงควรเริ่มจากนโยบายและความเอาจริงเอาจังของผู้บริหาร ที่ไทยฮอนด้า เราถือว่าพนักงานทุกคนคือสมาชิกในครอบครัวของเรา

.

การให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัย ถือเป็นการดูแลพนักงานและครอบครัว ซึ่งจะสะท้อนสู่ภายนอกว่า องค์กรของเราคือองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างแท้จริง” นายประกิจกล่าวทิ้งท้าย