iTAP คลอดโครงการ การพัฒนาผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรม RFID กระตุ้นผู้ประกอบการไทยก้าวทันเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าเพิ่มในธุรกิจ
iTAP คลอดโครงการ “การพัฒนาผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรม RFID” กระตุ้นผู้ประกอบการไทยก้าวทันเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าเพิ่มในธุรกิจ |
. |
นางสาวสนธวรรณ สุภัทรประทีป |
. |
เทคโนโลยีด้าน Radio Frequecy Identification หรือ RFID ถือเป็นเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมและมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น เครื่องอ่าน (Rea) และป้าย (Tag) ได้ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีราคาลดลง ซึ่งปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวอย่างแพร่หลายในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรมและการให้บริการ เช่น การขนส่ง การใช้งานด้านระบบการเข้าออก การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน และการบริหารจัดการสินทรัพย์ เป็นต้น |
. |
นางสาวสนธวรรณ สุภัทรประทีป ผู้อำนวยการโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของไทย (iTAP)สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ปัจจุบันการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยี RFID ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มผู้พัฒนาเทคโนโลยีเท่านั้น ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นก็เริ่มหันมาสนใจนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์และระบบของตนเพื่อก่อให้เกิดมูลค่าและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ |
. |
ในส่วนของประเทศไทยเอง หลายธุรกิจได้เริ่มมีการจับคู่ทางการค้า การเจรจาทางธุรกิจ การร่วมกันวิจัยพัฒนา เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบระหว่างบริษัทที่สนใจนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ อาทิ บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ บริษัทพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ บริษัทผลิตแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก หรือ บริษัทที่พัฒนาเทคโนโลยี RFID เพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์สร้างระบบการแก้ไขปัญหา (Solution) ต่างๆ ออกสู่ตลาดเป็นการบูรณาการองค์ความรู้และเป็นการสร้างนวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) |
. |
“ แต่เอสเอ็มอีของไทยในปัจจุบัน ยังไม่มีการรวมตัวในรูปแบบกลุ่มอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยง เพื่อร่วมสร้างนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ อีกทั้งผู้เชี่ยวชาญที่จะเข้ามาให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการที่สนใจพัฒนาหรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RFID ในประเทศไทยยังมีจำนวนน้อย ” นางสาว สนธวรรณ กล่าว |
. |
โครงการ iTAP จึงได้ริเริ่มโครงการ “การพัฒนาผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรม RFID” ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการไทยที่สนใจเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้ผู้ประกอบการเกิดความเข้าใจในเทคโนโลยีอย่างแท้จริง สามารถช่วยเหลือและเชื่อมโยงธุรกิจต่อกันได้ และสามารถร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลคาเพิ่มในธุรกิจ |
. |
กิจกรรมเสาะหาเทคโนโลยีเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ iTAP จัดขึ้น เพื่อสนับสนุนโครงการดังกล่าว ล่าสุด ได้จัดกิจกรรมศึกษาดูงาน “2010 Shenzhen Internation Internet of Things Technologies and Application Exhibition,Shenzhen,China” ขึ้นระหว่างวันที่ 30 มิ.ย. – 3 ก.ค. 2553 ณ เมืองเซิ่นเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีผู้ประกอบการไทย และผู้เชี่ยวชาญร่วมเดินทางครั้งนี้ด้วยกว่า 20 คน ” |
. |
ผอ.โครงการ iTAP กล่าวว่า “ งานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และซอฟต์แวร์ดังกล่าว เป็นงานที่เน้นการแสดงผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยี RFID อย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงการแสดงการนำเทคโนโลยี Wireless และ Censor และเครื่องมือระบบทดสอบต่างๆ นำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยี RFID ซึ่งเป็นงานที่รวมผู้ประกอบการเทคโนโลยีดังกล่าวของจีน โดยมีวัตถุประสงค์ที่มุ่งเน้นกลุ่มผู้ประกอบการ RFID จากทั่วโลก ได้มาแลกเปลี่ยนข้อมูลทางเทคโนโลยี และส่งเสริมให้เกิดการเจรจาทางธุรกิจ ” |
. |
นอกจากจะได้พบปะแลกเปลี่ยนพูดคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ในโอกาสนี้ผู้ประกอบการไทยจะได้เข้าเยี่ยมชมโรงงานผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์ชั้นนำของจีนที่นำเทคโนโลยี RFID ไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ บริษัท Invengo information Technology ผู้วิจัยพัฒนาและผลิต Tag และ เครื่องอ่าน RFID , บริษัท Innovative Technology ผลิตเครื่องรับแบงค์และเครื่องทอนเหรียญ , บริษัท Marktrace Technology ผู้ผลิต Mobile RFID , บริษัท Joint Technology ผู้ผลิต GSP RFID เป็นต้น |