1. ค่าเงินเยนที่แข็งค่าอาจส่งผลให้โตโยต้าย้ายฐานการผลิตรถยนต์มายังไทยมากขึ้น |
- ประธานบริษัทโตโยต้าประจำประเทศไทย นาย Kyoichi Tanada กล่าวว่ากำลังพิจารณาโยกย้ายฐานการผลิตรถยนต์โตโยต้าหลายรุ่นจากประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากมองค่าเงินเยนที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องนั้นทำให้ความสามารถทางการส่งออกของประเทศญี่ปุ่นลดลง ในขณะที่เพิ่มความดึงดูดให้เข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทยมากขึ้น |
. |
โดยบริษัทโตโยต้ามองว่าจะลดปริมาณการผลิตในประเทศญี่ปุ่นลงจาก 3.9 ล้านคันต่อปีลงมาอยู่ที่ 3.2 ล้านคันต่อปีภายในปี 2557ทั้งนี้ ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 88.08 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐในวันนี้ |
. |
- สศค.สศค. วิเคราะห์ว่า อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย จากยอดขายรถยนต์ของไทยที่ขยายตัวสูงตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 52 ได้รับปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศโดยยอดขายรถยนต์ในประเทศเดือน พ.ค. ขยายตัวสูงที่ร้อยละ 60.2 ต่อปี |
. |
ทั้งนี้ การโยกย้ายฐานการผลิตรถยนต์โตโยต้ามายังประเทศไทยจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของ GDP และจะมีส่วนสำคัญในการเพิ่มการจ้างงานให้กับแรงงานไทย |
. |
อีกทั้งจะช่วยสนับสนุนภาคการส่งออกของประเทศไทยด้วย โดยในปัจจุบัน ประเทศไทยส่งออกรถยนต์ประมาณร้อยละ 55 ของรถยนต์ที่ผลิตในประเทศไทยทั้งหมด ทั้งนี้ รถยนต์และส่วนประกอบคิดเป็นร้อยละ 9.3 ของการส่งออกทั้งหมด โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกไปยังประเทศออสเตรเลียและตะวันออกกลาง |
. |
2. กระทรวงพาณิชย์ประกาศว่าอัตราเงินเฟ้อเดือน มิ,.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 3.3 ต่อปี |
- กระทรวงพาณิชย์ แถลงว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป(CPI) เดือน มิ.ย.53 อยู่ที่ 108.15 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.3 ต่อปี และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.26 จากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ CPI ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 53 ขยายตัวร้อยละ 3.5 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานไม่รวมหมวดสินค้าอาหารสดและพลังงานในเดือน มิ.ย.53 อยู่ที่ระดับ 103.63 ขยาตัวร้อยละ 1.1 ต่อปี หรือขยายตัว 0.12 จากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ในช่วง 6 เดือนแรก ขยายตัว 0.7% |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่ไป ที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอในเดือน มิ.ย. 53 นี้ เกิดจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตามในช่วงดังกล่าวราคาผักละผลไม้มีการปรับตัวสู.ขึ้นมาก เนื่องจากมีการประสบปัญหาภัยแล้ง โดย สศค. คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 53 ขยายตัวร้อยละ 3.5 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ 3.0-4.0 ต่อปี) ลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ 3.5-4.5 ต่อปี) |
. |
จากสมมติฐานราคาน้ำมันที่ลดลง และจากการต่ออายุมาตรการบรรเทาค่าครองชีพของรัฐบาลจะช่วยให้แนวโน้มการขยายตัวของเงินเฟ้อลดลง ปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้ สศค. คาดว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 53 จะอยู่ที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.8-1.8 ต่อปี) |
. |
3.ดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม (PMI) จีนเดือน มิ.ย. 53 ปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่สองที่ระดับ 52.1 |
- ดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม (PMI) ของจีนปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ที่ ระดับ 52.1 สะท้อนถึงแนวโน้มเศรษฐกิจจีนที่อาจจะเจริญเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงในระยะต่อไป |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า การที่ดัชนีดังกล่าวปรับตัวลดลงนั้น เป็นผลจากคำสั่งซื้อสินค้าส่งออก (New export orders) และสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Stocks of finished goods of purchases) ที่ได้ปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 สอดคล้องกับตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญล่าสุดของ สหรัฐฯและยุโรป ซึ่งเป็นตลาดส่งออกใหญ่ของจีน ที่ปรับตัวลดลง โดยยอดค้าปลีกสหรัฐเดือนพ.ค. 53 ปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 8 เดือน |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |