1.ธปท.ห่วงเงินเฟ้อปี54 หลังงดช่วยค่าครองชีพ |
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 14 ก.ค. นี้ จะมีการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 53 และ54 โดยนำเครื่องชี้เศรษฐกิจโลกและ ไทยล่าสุด ประกอบกับการประเมินแรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อ ปัญหาภัยแล้ง รวมทั้ง การต่ออายุมาตรการลดค่าครองชีพ และการตรึงราคาก๊าซ อย่างไรก็ตาม คาดว่าเงินเฟ้อ ปี 53 จะยังไม่เร่งขึ้นเหมือนกับที่ ธปท.ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ แต่จะเร่งขึ้นในกลางปี 54 หลังมาตรการช่วยค่าครองชีพเหล่านี้หมดลง |
. |
- สศค. คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 53 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ 3.0-4.0 ต่อปี) จากที่คาดการณ์ไว้เดิมเมื่อเดือนมี.ค.53 ที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อปี 53 จะอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี เป็นผลจากสมติฐานราคาน้ำมันที่คาดว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากที่คาดการณ์เดิมจากความกังวลในปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรป และการต่ออายุมาตรการบรรเทาค่าครองชีพของรัฐบาลที่จะช่วยให้แนวโน้มเงินเฟ้อลดลง นอกจากนี้ คาดว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 53 จะอยู่ที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.8-1.8 ต่อปี) |
. |
2.ศูนย์วิจัยกสิกร ปรับประมาณการ GDP ปี 53 เพิ่มร้อยละ 4-6 ต่อปี จากเดิมร้อยละ 2.6-4.5 |
- ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลจีนปรับเปลี่ยนนโยบายควบคุมค่าเงินหยวนให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้นักลงทุนมีความวิตกถึงปัญหาค่าเงินหยวนที่แข็งค่าขึ้น และทำให้ค่าเงินอื่นในภูมิภาครวมทั้งค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย แต่คาดว่าค่าเงินบาทในขณะนี้เริ่มคงตัวแล้ว ภายหลังที่ปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยภายหลังการประกาศนโยบายดังกล่าว |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2553 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเป็นร้อยละ 5.5 ต่อปี โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.0 – 6.0 ต่อปี มากกว่าที่คาดการณ์เดิม ณ เดือนมีนาคมที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1 ปี 2553 ที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 12.0 ต่อปี ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่เร็วกว่าที่คาด โดยเฉพาะในประเทศคู่ค้าใหม่ในเอเชีย ที่ส่งผลให้การส่งออกในปี 2553 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราสูง |
. |
นอกจากนั้น การใช้จ่ายภายในประเทศในปี 2553 ทั้งการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชน ยังมีแนวโน้มฟื้นตัวจากฐานที่ต่ำในปีก่อน สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะปรับเพิ่มขึ้นจากปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0 - 4.0 ต่อปี ตามราคาน้ำมันที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก |
. |
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเดือน พ.ค.53 ลดลงร้อยละ 0.1 ในรอบ 3 เดือน |
- สำนักข่าวเอพีรายงานว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเดือน พ.ค.53 ลดลงร้อยละ 0.1 ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือน ในขณะที่ยอดการส่งออกลดลงร้อยละ 1.7 โดยมีผลมาจากการลดลงของยอดผลผลิตยานยนต์ของบริษัทโตโยต้ามอเตอร์และฮอนด้ามอเตอร์ รวมทั้งผลผลิตสินค้าเซมิคอนดัคเตอร์และโทรทัศน์จอแบน |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเดือน พ.ค.53 อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.2 ซึ่งลดลงร้อยละ 0.1 เป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน โดยมีผลกระทบส่วนหนึ่งมาจากยอดผลผลิตยานยนต์ของบริษัทโตโยต้ามอเตอร์และฮอนด้ามอเตอร์ที่ลดลง โดยเฉพาะการเรียกคืนรถรุ่นต่างๆ ทั่วโลกของโตโยต้ามอเตอร์ จำนวน 8.5 ล้านคัน ประกอบกับความต้องการยานยนต์ของต่างประเทศลดลงจากความกังวลของผู้บริโภคต่อปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะของสหภาพยุโรป |
. |
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณา GDP ในไตรมาสที่ 1 ปี 53 ของญี่ปุ่น ที่ยังคงเติบโตได้ต่อเนื่องในระดับร้อยละ 4.6 ต่อปี รวมถึงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน พ.ค.53 ที่ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยอยู่ที่ร้อยละ 54.7 ในขณะที่มีมูลค่าการส่งออกสินค้าเดือน พ.ค.53 615.84 พันล้านเยน ซึ่งเป็นการขยายตัวเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน ดังนั้น สศค. คาดว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปี 2553 ยังสามารถเติบโตได้ดีอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.5 ต่อปี (คาดการณ์เดือน มิ.ย.53) |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |