1. ส่งออก พ.ค. พุ่ง 42.1% โตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 |
- นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่าการส่งออกเดือน พ.ค. 53 มีมูลค่า 16,556 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 42.1% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 โดยมีอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 22 เดือน ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 14,345 ล้านดอลลาร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 55.1% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวปีก่อน |
. |
ส่งผลให้เกินดุลการค้าประมาณ 2.2 พันล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ยังไม่ปรับเป้าหมายการส่งออกปีนี้ที่วางไว้ 14% มูลค่า 1.7 แสนล้านดอลลาร์ เนื่องจากต้องประเมินสถานการณ์ส่งออกเดือน มิ.ย.นี้ รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกก่อน |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า การส่งออกของไทยเดือนพ.ค.ที่ขยายตัวได้ดี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกทองคำที่ขยายตัวร้อยละ 521.3 ต่อปี อย่างไรก็ตาม การส่งออกที่หักทองคำยังคงขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 32.8 ต่อปี จากการส่งออกยางพารา เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และรถยนต์ที่ขยายตัวสูง |
. |
โดยการส่งออกในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาส 2 ขยายตัวสูงที่ร้อยละ 38.8 ต่อปี จะเป็นปัจจัยบวกต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ให้ยังคงขยายตัวได้ดี แม้ว่าจะมีเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ทั้งนี้ การส่งออกไทยในครึ่งปีหลัง ยังคงมีความเสี่ยงจากปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปและฟองสบู่ของภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีน |
. |
2. บอลโลกดันยอดสินค้าแอลซีดีพุ่งร้อยละ 50 |
- รองกรรมการผู้จัดการบริษัท แอลจี อิเล็คทรอนิกส์ จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2010 สินค้ากลุ่มจอภาพมีอัตราเติบโตเกินร้อยละ 50 ในขณะที่สินค้ากลุ่มอื่นก็ได้รับผลพวงจากกระแสฟุตบอลโลกด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ สินค้าหมวดคูลลิ่งโพรดักส์ อาทิ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ พัดลม และเครื่องทำน้ำเย็นปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศปีนี้การเติบโตเกินร้อยละ 50 เนื่องจากปีนี้สภาพภูมิอากาศร้อนอบอ้าวกว่าทุกปีที่ผ่านมา |
. |
- สศค.วิเคราะห์ว่า การที่ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อสินค้ากึ่งคงทนประเภททีวี ตู้เย็นเพิ่มขึ้นนอกจากจะมาจากเทศกาลบอลโลกแล้ว ส่วนหนึ่งยังมาจากการที่ราคาสินค้าปรับตัวลดลงมากตามเทคนิคการแข่งขันทางการค้าของบริษัทเอกชน ประกอบรายได้ภาคครัวเรือนยังอยู่ในเกณฑ์ดี (รายได้เกษตรกรในเดือน พ.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 23.1) ซึ่งการที่ยอดขายปรับตัวเพิ่มขึ้นดังกล่าว จะส่งผลดีต่อการบริโภคภาคเอกชนให้สูงขึ้นไตรมาสที่ 2 ปี 53 ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 53 ต่อไป |
. |
3. ธนาคารกลางจีนย้ำไม่ปรับค่าเงินหยวนรุนแรง |
- เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (20 มิ.ย. 53) ธนาคารกลางจีนประกาศว่าการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินหยวนจะไม่เป็นไปอย่างรุนแรงในครั้งเดียวตามที่หลายฝ่ายกังวล การประกาศดังกล่าวมีขึ้นภายหลังจากที่ได้ก่อนหน้านั้นเพียงวันเดียวทางการจีนได้เปิดเผยว่าจะเตรียมปรับอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวนให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น |
. |
พร้อมทั้งระบุว่าในขณะนี้ยังไม่มีฐานที่จะทำการเปลี่ยนแปลงหรือปรับค่าเงินหยวนครั้งใหญ่แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ทางการจีนมิได้ระบุถึงนโยบายใดๆ ที่ชัดเจนในการปรับค่าเงินดังกล่าว ทั้งนี้ การประกาศครั้งนี้มีขึ้นก่อนหน้าการประชุม จี 20 เพียงไม่กี่วัน |
. |
- สศค.วิเคราะห์ว่า การที่จีนประกาศจะทำการเปลี่ยนแปลงค่าเงินหยวนนั้นเป็นไปตามคำเรียกร้องของหลายประเทศที่ขาดดุลการค้ากับจีนในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับที่ 2 ของจีนรองจากสหภาพยุโรป |
. |
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงค่าเงินหยวนดังกล่าวคาดว่าจะทำให้ภาคการส่งออกและดุลการค้าของจีนขยายตัวชะลอลงได้ จากล่าสุดในเดือน พ.ค. 53 ที่การส่งออกของจีนขยายตัวในระดับสูงกว่าร้อยละ 48.5 ต่อปี และดุลการค้าเกินดุล 1.95 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |