กรมสรรพสามิตจัดเก็บรายได้ภาษีเดือนพฤษภาคม 2553 กว่า 3.04 หมื่นล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 5.8 พันล้านบาท ส่งผลให้ในรอบ 8 เดือน ของปีงบประมาณ 2553 (ตุลาคม 2552 – พฤษภาคม 2553) จัดเก็บได้กว่า 2.72 แสนล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 7.67 หมื่นล้านบาท หรือ 39.15% |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บรายได้ภาษีสรรพสามิตประจำเดือนพฤษภาคม 2553 ว่า กรมสรรพสามิตสามารถจัดเก็บภาษีได้รวม 30,488.86 ล้านบาท สูงกว่าในช่วงเดียวกันของปีก่อนจำนวน 3,935.54 ล้านบาท หรือ 14.82% (เดือนพฤษภาคม 2552 จัดเก็บได้ จำนวน 26,553.33 ล้านบาท) และสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ จำนวน 5,806.53 ล้านบาท หรือ 23.53% |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สำหรับรายได้ภาษีสรรพสามิตในเดือนพฤษภาคม 2553 ที่กรมสรรพสามิตสามารถจัดเก็บได้สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1)ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จัดเก็บได้จำนวน 11,939.30 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ จำนวน 3,189.75 ล้านบาท หรือ 36.46% 2)ภาษีรถยนต์ จัดเก็บได้จำนวน 5,248.68 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าประมาณการจำนวน 1,733.57 ล้านบาท หรือ 49.32% |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3)ภาษีเบียร์ จัดเก็บได้จำนวน 4,204.67 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการเล็กน้อยจำนวน 9.83 ล้านบาท หรือ 0.23% 4)ภาษียาสูบ จัดเก็บได้จำนวน 4,160.03 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการจำนวน 828.51 ล้านบาท หรือ 24.87% และ 5)ภาษีสุรา จัดเก็บได้จำนวน 3,202.63 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการจำนวน 17.23 ล้านบาท หรือ 0.54% |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
“สาเหตุที่ภาษีเบียร์ และภาษีสุรา จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ เนื่องจากการปรับเพิ่มอัตราภาษีเบียร์จากร้อยละ 55 ของมูลค่าเป็นร้อยละ 60 ของมูลค่า ส่วนภาษีสุรา เกิดจากการกักตุนสุราผสมจำนวนมากก่อนปรับเพิ่มภาษี รวมถึงเหตุการณ์ความไม่สงบในเขตพื้นที่กรุงเทพฯและจังหวัดอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของประเทศ จึงเป็นผลให้การจัดเก็บรายได้ของภาษีทั้งสองประเภทที่กล่าวมาข้างต้นต่ำกว่าประมาณการที่กำหนดไว้” |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ดร.อารีพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากผลการจัดเก็บรายได้เดือนพฤษภาคม 2553 ที่สูงกว่าเป้าหมายส่งผลให้รายได้ภาษีสรรพสามิตในรอบ 8 เดือนปีงบประมาณ 2553 จัดเก็บได้จำนวน 272,691.12 ล้านบาท สูงกว่าในช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 92,988.97 ล้านบาท (ตุลาคม 2551 – พฤษภาคม 2552 จัดเก็บได้จำนวน 179,702.14 ล้านบาท) และสูงกว่าประมาณการจำนวน 76,717.29 ล้านบาท หรือ 39.15% |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โดยภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จัดเก็บได้สูงสุด จำนวน 102,985.71 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ ภาษีรถยนต์ จัดเก็บได้จำนวน 48,603.13 ล้านบาท อันดับสามได้แก่ ภาษีเบียร์ จัดเก็บได้จำนวน 41,636.25 ล้านบาท อันดับสี่ได้แก่ ภาษียาสูบ จัดเก็บได้จำนวน 35,251.42 ล้านบาท และอันดับที่ห้าได้แก่ ภาษีสุรา จัดเก็บได้จำนวน 29,670.78 ล้านบาท ตามตาราง ดังนี้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
. | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
“กรมสรรพสามิตคาดการณ์ว่าในปีงบประมาณ 2553 การจัดเก็บรายได้ภาษีสรรพสามิตจะเป็นไปตามประมาณการที่กระทรวงการคลังกำหนด คือ 366,000 ล้านบาท เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มที่ดีขึ้น” ดร.อารีพงศ์กล่าว |