1. รัฐบาลอนุมัติมาตรการช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง |
- คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติมาตรการช่วยเหลือทั้งด้านภาษีและสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SME และธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง เช่น บุคคลธรรมดาสามารถนำค่าใช้จ่ายการซื้อทัวร์ในประเทศไปหักลดหย่อนได้ไม่เกินคนละ 15,000 บาทต่อปี ผู้ประกอบการท่องเที่ยวสามารถนำค่าใช้จ่ายการส่งเสริมการขายไปหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า การขยายวงเงินสินเชื่อแบบมีหลักประกัน |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองส่งผลกระทบต่อช่องทางเศรษฐกิจ 3 ช่องทางสำคัญคือ ภาคการท่องเที่ยว การบริโภคภาคครัวเรือน และการลงทุนภาคเอกชน คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม 145 พันล้านบาท เทียบเป็นขนาดต่อ GDP ร้อยละ 1.5 |
. |
โดย สศค.คาดว่า ผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลด้านลบต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยคิดเป็นร้อยละ -1.1 ต่อปีในปี 53 อย่างไรก็ตาม คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 53 ยังจะสามารถเติบโตได้ในระดับ 4.0-5.0 ต่อปี จากภาคการส่งออกที่ยังขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง และแรงส่งจากเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวในไตรมาสที่ 1 ปี 53 สูงถึงร้อยละ 12 ต่อปี |
. |
2. BOI เผย 5 เดือนแรก 53 มียอดขอรับส่งเสริมการลงทุน 1.73 แสนล้านบาท |
- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เผยว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 53 มีผู้สนใจยื่นโครงการขอรับส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 507 โครงการ มูลค่าลงทุน 1.73 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.8 และ 7.3 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับ อุตสาหกรรมที่มีการขอรับส่งเสริมมากที่สุด ได้แก่ กิจการบริการและสาธารณูปโภค ส่วนการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) มีการขอรับส่งเสริมการลงทุนจำนวน 306 โครงการ มูลค่ารวม 8.63 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35 และ 108 ต่อปี ตามลำดับ |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า จำนวนยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนที่ขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกัน โดยเฉพาะในเดือน พ.ค. 53 มีการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนมากถึง 107 โครงการ มากสุดเมื่อเทียบกับทุกเดือนที่ผ่านมา และมีมูลค่าเงินลงทุนสูงถึง 39,700 ล้านบาท ซึ่งอุตสาหกรรมที่ขอรับส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ 1) กิจการบริการและสาธารณูปโภค 2) กิจการผลิตโลหะ เครื่องจักร ยานยนต์และชิ้นส่วนประกอบ |
. |
ในขณะที่การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) นักลงทุนชาวญี่ปุ่นยังคงเป็นอันดับหนึ่งที่เข้ามาลงทุนภายในไทย รองลงมา คือ นักลงทุนจากสิงคโปร์ และจีน ตามลำดับ โดยกิจการที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสำคัญ คือ 1) กิจการโลหะขั้นมูลฐานเซรามิก และเหมืองแร่ 2) กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง ทั้งนี้ การเพิ่มของยอดส่งเสริมการลงทุนดังกล่าวสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อการลงทุนในประเทศไทย |
. |
3. IMF เตือนยุโรปให้ตั้งกองทุนฉุกเฉิน 1 ล้านล้านดอลลาร์ |
- ความรุนแรงของวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรปทำให้ IMF ออกมากดดันให้ยุโรปตั้งกองทุนฉุกเฉิน 1 ล้านล้านดอลลาร์ นอกจากปัญหาหนี้ของกรีซแล้ว ทั้งนี้ ยังพบว่าประเทศฮังการีเริ่มมีสัญญาณของปัญหาหนี้ที่อาจจะเลวร้ายไม่แพ้วิกฤติหนี้ของกรีซ ซึ่งอาจส่งผลให้นักลงุทนต่างชาติขาดความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรปมากยิ่งขึ้น |
. |
- สสค. วิเคราะห์ว่า ปัญหาหนี้สาธารณะที่กำลังลุกลามในยุโรป โดยเฉพาะประเทศกรีซ มีแนวโน้มที่ส่งผลความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทำให้ IMF ออกมาเสนอแนวทางเพิ่มเติมในการแก้ปัญหาให้ยุโรปทั้งในด้านการตั้งกองทุนฉุกเฉิน และปรับลดการขาดดุลการคลังในปี 54 ทั้งนี้เนื่องจากช่องทางกู้ยืมเงินจาก IMF EU และ Wolrd Bank จะหมดอายุลงในเดือน ต.ค. 53 นี้ |
. |
ในขณะที่ฮังการีเริ่มส่งสัญญาณของวิกฤติหนี้สาธารณะเช่นกัน แม้ว่าฮังการีจะยังไม่เข้าร่วมยูโรโซน โดยที่สัดส่วนของหนี้สาธารณะต่อ GDP ของฮังการีอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 80 ทั้งนี้ คาดว่าปัญหาหนี้สาธารณะที่กำลังลุกลามในยุโรปจะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยในมากนัก |
. |
เนื่องจากสัดส่วนมูลค่าส่งออกระหว่างไทยและประเทศในกลุ่ม PIIGS คิดเป็นสัดส่วนเพียง ร้อยละ 1.8 ของมูลค่าส่งออกรวม สัดส่วนนักท่องเที่ยวจากกลุ่ม PIIGS คิดเป็นสัดส่วนเพียง ร้อยละ 2.5 ของจำนวนนักท่องเที่ยวโดยรวมของไทย และ สัดส่วนการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) จากกลุ่ม PIIGS คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.69 ของมูลค่าการลงทุนโดยตรงรวมจากต่างประเทศ(FDI) |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |