บีโอไอ คุยโวนักลงทุนยังมั่นใจประเทศไทยแห่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน 5 เดือนแรกพุ่งทะลุ 500 โครงการ เงินลงทุน 1.7 แสนล้าน เดือน พ.ค. เงินลงทุนเฉียด 4 หมื่นล้านบาท
บีโอไอ คุยโวนักลงทุนยังมั่นใจประเทศไทยแห่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน 5 เดือนแรกพุ่งทะลุ 500 โครงการ เงินลงทุน 1.7 แสนล้าน เดือน พ.ค. เงินลงทุนเฉียด 4 หมื่นล้านบาท |
. |
นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน |
. |
บีโอไอเผยยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนช่วง 5 เดือนของปีนี้ มีจำนวน 507 โครงการ ขยายตัวร้อยละ 47% และมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 172,600 ล้านบาท โดยในเดือนพฤษภาคม มีมูลค่าขอรับส่งเสริมสูงถึง 39,700 ล้านบาท ส่วนการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศก็ขยายตัว ทั้งจำนวนโครงการและมูลค่าเงินลงทุน สะท้อนความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ บีโอไอเตรียมตอกย้ำเชื่อมั่นอีกในงาน“นายกฯ พบนักลงทุน” 18 มิถุนายนนี้ |
. |
นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ เปิดเผยถึงภาพรวมการลงทุนในช่วง 5 เดือนของปี 2553 (มกราคม-พฤษภาคม) ว่า มีบริษัททั้งไทยและจากต่างประเทศต้องการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยและได้ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอเป็นจำนวน 507 โครงการ รวมมูลค่าเงินลงทุน 172,600 ล้านบาท ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งจำนวนโครงการและมูลค่าเงินลงทุน ร้อยละ 47.8 และร้อยละ 7.3 ตามลำดับ |
. |
ทั้งนี้ ในเดือนพฤษภาคมเดือนเดียว มีการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนถึงจำนวน 107 โครงการ ซึ่งมากที่สุดเมื่อเทียบกับทุกเดือนที่ผ่านมา และมีมูลค่าเงินลงทุนถึง 39,700 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่า นักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศยังเชื่อมั่นศักยภาพของประเทศไทย |
. |
โดยอุตสาหกรรมที่มีการขอรับส่งเสริมมากที่สุดได้แก่ กิจการบริการและสาธารณูปโภค จำนวน 139 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 81,000 ล้านบาท อันดับสองได้แก่กิจการผลิตโลหะ เครื่องจักร ยานยนต์และชิ้นส่วน จำนวน 105 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 21,900 ล้านบาท อันดับสามกิจการเกษตรกรรม และผลิตผลจากการเกษตร จำนวน 84 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 18,300 ล้านบาท |
. |
สำหรับการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI: Foreign Direct Investment) มีการขอรับส่งเสริมการลงทุนจำนวน 306 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 86,281 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ที่มี 226 โครงการ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 ส่วนมูลค่าเงินลงทุนปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 41,353 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 108 |
. |
ทั้งนี้กิจการที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มนักลงทุนสูงสุด เป็นกิจการกลุ่ม โลหะขั้นมูลฐาน เซรามิก และเหมืองแร่ มีมูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 24,561 ล้านบาท รองลงมา เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง มูลค่าเงินลงทุน 18,940.7 ล้านบาท กิจการบริการ และสาธารณูปโภค มูลค่าเงินลงทุน 13,165 ล้านบาท ตามลำดับ |
. |
กลุ่มนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากที่สุด ยังเป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น มีจำนวน 120 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 33,038 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 92 รองลงมาคือ นักลงทุนจากประเทศสิงคโปร์ มีจำนวน 32 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 7,689 ล้านบาท อันดับสาม นักลงทุนจีน มีจำนวน 12 โครงการมูลค่าเงินลงทุน 6,473 ล้านบาท |
. |
ตามด้วยฮ่องกง 11 โครงการ เงินลงทุน 2,693 ล้านบาท และออสเตรเลีย 9 โครงการ มูลค่า 2,091 ล้านบาท เยอรมนี 14 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 1,463 ล้านบาท เป็นต้น และเพื่อเป็นการตอกย้ำความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ บีโอไอจึงมีแผนจะเดินทางไปชักจูงการลงทุนจากต่างประเทศ (โรดโชว์) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง |
. |
รวมถึงกำหนดจัดงาน “นายกรัฐมนตรีพบนักลงทุน” ในวันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน 2553 ตั้งแต่เวลา 11.00 – 15.00 น. ห้อง แกรนด์ไดมอนด์ บอลรูม อิมแพค เมืองทองธานี เพื่อชี้แจงให้นักลงทุนเข้าใจถึงทิศทางที่รัฐบาลจะสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม โดยจะมีนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศเข้าร่วมกว่า 1,300 ราย |