ผู้ส่งออกข้าวจากประเทศไทย บริษัท Capital Rice จำกัด (STC Group) ได้เดินทางไปสหรัฐอเมริกา ระหว่าง เดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2553 เพื่อเปิดตลาดข้าวในสหรัฐฯ สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครนิวยอร์กได้จัดทำนัดหมายให้พบผู้นำเข้าในเขตดูแล คือ รัฐแมรี่แลนด์ นิวเจอร์ซี่และ นิวยอร์ก จำนวน 9 บริษัท ได้แก่ |
. |
- Eastlands Maryland - Rhee Brothers Maryland - Bangkok Market Corporation Brooklyn, New York - Well Luck New Jersey - Summit Import New Jersey - Tristar Foods New Jersey - C. Kenneth Bronx, New York - Tienley Enterprises New York - Pocas International Brooklyn, New York |
. |
จากการพบผู้นำเข้าทั้ง 9 บริษัท บริษัท Capital Rice เห็นว่ามีช่องทางและโอกาสในการเข้าสู่ตลาดสูงถึงแม้ว่าจะมีคำถามจากผู้นำเข้าบางรายว่า Capital Rice เข้ามาช้าเกินไปหรือเปล่า เพราะตลาดข้าวไทย โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิเป็นตลาดใหญ่ในสหรัฐฯมาเป็นเวลานาน |
. |
ผู้บริโภครู้จักข้าวหอมมะลิจากไทยเป็นอย่างดี และมีผู้ส่งออกหลายรายส่งเข้ามาขายอย่างสม่ำเสมออยู่แล้ว การเป็น Supplier หน้าใหม่ในตลาดอาจไม่ใช่ เรื่องง่าย เพราะการค้าข้าวในสหรัฐฯ ไม่ได้ขึ้นกับราคาเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์และความ ไว้วางใจ ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายเป็นอย่างมากด้วย |
. |
ข้อสรุปและความเห็น |
1) การเดินทางมาเจาะตลาดด้วยตนเองของบริษัทผู้ส่งออกไทย เป็นวิธีการเจาะตลาดที่ถูกต้องในสถานการณ์ขณะนี้ ซึ่งผู้นำเข้ามีความกังวลในการเดินทางไปประเทศไทย การได้มีโอกาสพูดคุยและแนะนำตัว เป็นการสร้างความเชื่อมั่นว่าบริษัทมีความจริงใจในการทำการค้า |
. |
2) บริษัท Capital Rice ได้เคยมาเข้าร่วมงานแสดงสินค้า Summer Fancy Food ณ นครนิวยอร์ก ซึ่งกรมส่งเสรืมการส่งออกเป็นผู้จัด และพบว่างานแสดงสินค้าในสหรัฐฯเป็นงานที่มี Exhibitors ส่วนใหญ่เป็นผู้นำเข้าในสหรัฐฯ และ Visitors เป็น Wholesalers/Retailers ซึ่งไม่ใช่ลูกค้าโดยตรง ของ Supplier จากเมืองไทย |
. |
และหาก Thai Suppliers มีลูกค้าที่เป็นผู้นำเข้าสหรัฐฯ อยู่แล้ว จะเป็นการมาขายแข่งกับลูกค้าของตัวเอง ในปีนี้บริษัทจึงตัดสินใจไม่เข้าร่วมงานอีก (งานจะมีปลายเดือนมิถุนายน 2553) แต่ใช้วิธีเดินทางมาเจาะพบลูกค้าโดยตรง ซึ่งบริษัทมีความ เห็นว่าจะได้ผลมากกว่า |
. |
3) ผู้นำเข้าที่เป็นบริษัทไทยในสหรัฐฯส่วนใหญ่ จะนำเข้าข้าวหอมมะลิแท้ แต่ปัจจุบัน เนื่องจากมีการปลูกข้าวปทุมฯในไทยและมีราคาถูกกว่าข้าวหอมมะลิ ทำให้เกิดมีการนำเข้าข้าวหอมมะลิที่ปนข้าวปทุมฯในสัดส่วนที่สูงขึ้นทุกที โดยเฉพาะผู้นำเข้าที่เป็นบริษัทจีนและเกาหลี เนื่องจากราคาถูกกว่ากันมาก (แต่ยังมีป้ายสำแดงบนถุงบรรจุหีบห่อว่าเป็นข้าวหอมมะลิแท้) และข้าวดังกล่าวจะนิยมขายไปยัง Food Service ทั้งหลาย อาทิเช่น ร้านอาหาร ร้านของชำในย่านที่ผู้บริโภคมีรายได้ไม่สูง |
. |
4) ผู้นำเข้าข้าวหอมมะลิแท้ ต้องการให้รัฐบาลไทยดำเนินการในการแก้ไขปัญหาเรื่องข้าวหอมมะลิปลอมปนแต่ยังใช้ป้ายบนถุงบรรจุภัณฑ์ว่าเป็นข้าวหอมมะลิแท้ หากผู้นำเข้าที่ต้องการข้าวราคาถูกที่มีการผสมข้าวปทุมฯ ควรจะมีมาตรการบังคับให้แจ้งบนถุงว่ามีสัดส่วนของข้าวหอมมะลิเท่าใดและข้าวปทุมฯเท่าใด และมีการตรวจเข้มงวดและมาตรการลงโทษที่เด็ดขาด โดยเฉพาะห้ามมิให้ใช้ชื่อว่า “ข้าวหอมมะลิ Thai Jasmine Rice” หากสัดส่วนของข้าวหอมมะลิไม่ถึงตามที่กำหนด |
. |
5) หากยังไม่มีมาตรการที่เข้มงวดเรื่องคุณภาพข้าวหอมมะลิ ในอนาคตจะทำให้ชื่อเสียงของข้าวหอมมะลิที่สั่งสมมานานต้องถูกทำลายไป และผู้บริโภคไม่มีความเชื่อถือในการบริโภคข้าวหอมมะลิที่เป็นสินค้าระดับ Premium เนื่องจากไม่รู้ว่าอันไหนเป็นของจริงของปลอม ยกเว้นบริษัทที่มียี่ห้อของตัวเองติดตลาดแล้วว่าเป็นของแท้เท่านั้นที่จะอยู่ได้ |
. |
สมจินต์ เปล่งขำ สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก |
. |
ที่มา : กรมส่งเสริมการส่งออก |