ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2553 มีจำนวน 4,124,712 ล้านบาท หรือร้อยละ 42.39 ของ GDP เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,762,303 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,103,725 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 188,569 ล้านบาท และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 70,115 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 49,568 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง |
. |
หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพิ่มขึ้น 49,000 ล้านบาท 2,546 ล้านบาท และ 482 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกันลดลง 2,460 ล้านบาท ส่วนหน่วยงานอื่นของรัฐนั้นไม่มีหนี้คงค้าง รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 4 |
. |
การเพิ่มขึ้นสุทธิของหนี้สาธารณะคงค้างเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมานั้น ที่สำคัญเกิดจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง โดยเพิ่มขึ้นสุทธิ 49,000 ล้านบาท รายการที่สำคัญเกิดจากรัฐบาลได้ดำเนินการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 36,000 ล้านบาท และได้เบิกเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 เพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 จำนวน 20,000 ล้านบาท |
. |
สำหรับหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นสุทธิ 2,546 ล้านบาท ที่สำคัญเกิดจากการเพิ่มขึ้นของ หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันในส่วนของหนี้ต่างประเทศ เนื่องจากรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเบิกจ่ายเงินกู้จากแหล่งเงินกู้ต่างๆ สูงกว่าการชำระคืนต้นเงินกู้ |
. |
สำหรับหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกันลดลงสุทธิ 2,460 ล้านบาท ที่สำคัญเกิดจากการลดลงของหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน เนื่องจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเบิกจ่ายเงินกู้จากแหล่งเงินกู้ต่างๆ ต่ำกว่าการชำระคืนต้นเงินกู้ |
. |
หนี้สาธารณะ จำนวน 4,124,712 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 372,303 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.03 และหนี้ในประเทศ 3,752,409 ล้านบาท หรือร้อยละ 90.97 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็นหนี้ระยะยาว 3,871,832 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.87 และหนี้ระยะสั้น 252,880 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.13 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง |
. |
ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน |