สสปน. เร่งเครื่องพลิกฟื้นอุตสาหกรรมไมซ์ ชูแนวทางส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ในประเทศ ร่วมมือร่วมใจประชุมเมืองไทย พลิกฟื้นเศรษฐกิจชาติ
สสปน. เร่งเครื่องพลิกฟื้นอุตสาหกรรมไมซ์ ชูแนวทางส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ในประเทศ “ร่วมมือร่วมใจประชุมเมืองไทย พลิกฟื้นเศรษฐกิจชาติ” |
. |
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและตนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. ชี้ วิกฤตการณ์ทางการเมืองส่งผลกระทบต่อรายได้อุตสาหกรรมไมซ์กว่า 3,000 ล้านบาท เดินหน้าเร่งด่วนหาแนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจประเทศ ชูแนวทางทุกฝ่ายต้องร่วมมือร่วมใจประชุมเมืองไทย พลิกฟื้นเศรษฐกิจชาติ พร้อม จัดทำ “โรดแมปใหม่ อุตสาหกรรมไมซ์ไทย” เสนอรัฐบาลใช้เป็นมาตรการในการเยียวยาอย่างเร่งด่วน ภายในเดือนมิถุนายน |
. |
นายอรรคพล สรสุชาติ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ หรือ สสปน. กล่าวถึงผลกระทบที่ได้รับจากสถานการณ์การเมือง ระหว่างเดือน มีนาคม – มิถุนายน 2553 ว่า แม้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยภาพรวมเริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นก็ตาม แต่ผลกระทบที่อุตสาหกรรมไมซ์ได้รับจากเหตุการณ์ดังกล่าว ยังคงเป็นปัญหาที่เรื้อรังและยืดเยื้อและต่อเนื่อง |
. |
โดยเฉพาะในเรื่องของความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ของประเทศไทย ซึ่งทำให้มีการยกเลิกและการเลื่อนการจัดประชุมในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม – 1 มิถุนายน 2553 ส่งผลกระทบคิดเป็นจำนวนนักเดินทางกลุ่มไมซ์ทั้งสิ้น 73,000 ราย รายได้ที่สูญเสียคิดเป็นมูลค่าร่วม 3,000 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 3 เดือน |
. |
นายอรรคพล กล่าวว่า เพื่อให้การดำเนินธุรกิจของอุตสาหกรรมไมซ์ของไทยกลับคืนสู่ภาวะปกติ ทั้งยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นที่ดีต่อภาพลักษณ์ของไทยให้กลับมาอีกครั้ง ทุกฝ่ายต้องร่วมมือร่วมใจเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างจริงจัง ซึ่งเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคมที่ผ่านมา สสปน. ได้จัดงาน “ร่วมใจประชุมเมืองไทย พลิกฟื้นเศรษฐกิจชาติ” |
. |
เพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการไมซ์ในประเทศ ในการหาแนวทางร่วมกันเพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจชาติ โดยมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม จำนวน 459 คน อาทิ สมาคม โรงแรม ศูนย์การประชุมและงานแสดงสินค้า เป็นต้น |
. |
ทั้งนี้ ผลสรุปการระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ สสปน. และเอกชนมีความคิดเห็นเป็นไปในแนวทางเดียวกัน คือ “พลิกฟื้นเศรษฐกิจ และพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส” ที่ผ่านมาเราได้มีการปรับแนวทางโครงการประชุมเมืองไทยภูมิใจช่วยชาติเป็น “ร่วมใจประชุมเมืองไทย พลิกฟื้นเศรษฐกิจชาติ” |
. |
โดยการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อต้องการผลักดันให้ภาครัฐ และภาคเอกชนเห็นถึงความจำเป็นในภารกิจที่ต้องจัดประชุมเมืองไทยให้ด่วนที่สุด เพื่อสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไมซ์ ซึ่งกลไกนี้ คือ จุดที่ช่วยชาติได้จริง และช่วยกระจายรายได้ 76-77 จังหวัดจริง |
. |
นอกจาก โครงการ “ร่วมใจประชุมเมืองไทย พลิกฟื้นเศรษฐกิจชาติ” เป็นการดำเนินงานที่เน้นกระตุ้นให้เกิดการพลิกฟื้นอุตสาหกรรมไมซ์ในประเทศอย่างเร่งด่วนแล้ว การดำเนินโครงการครั้งนี้ จะรวบรวมนำข้อคิดเห็นจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไมซ์ เพื่อจัดทำ “โรดแมปใหม่ อุตสาหกรรมไมซ์ไทย” ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมิถุนายนนี้ |
. |
พร้อมนำเสนอต่อรัฐบาลใช้เป็นมาตรการในการเยียวยาอย่างเร่งด่วนต่อไป โดยจะจัดให้มีการประชุมสรุปหารือร่วมกันกับองค์กร สมาคม และหน่วยงานไทยทีมหลักของอุตสาหกรรมไมซ์ ในวันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน 2553 |
. |
นายอรรคพล กล่าวว่า การประชุมเมืองไทยถือเป็นหัวใจหลักที่จะทำให้การดำเนินงานของภาคอุตสาหกรรมไมซ์ในประเทศ (Domestic MICE) โดยการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภายในประเทศ ส่งต่อไปยังระดับภูมิภาค และสู่ระดับนานาชาติไปยังต่างประเทศ เพื่อนำเสนอสิ่งดีๆ ที่เป็นจุดแข็งของประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศไทย |
. |
เพราะหากตลาดไมซ์ในประเทศมีพื้นฐานที่ดีแล้ว ผู้ประกอบการไมซ์ต่างๆ จะพัฒนาตนเองให้รองรับตลาดต่างประเทศให้กว้างขวาง ซึ่งจะส่งผลให้ทุกพื้นที่ ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในธุรกิจไมซ์ ทั้งสร้างงาน สร้างรายได้ ชุมชนในพื้นที่นั้นๆ ต่อไป สำหรับผู้สนใจในรายละเอียดของการประชุมเมืองไทย |
. |
นอกจากนี้ จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ที่ สสปน.ได้ทำการโรดโชว์ และเร่งฟื้นฟูอุตสาหกรรมไมซ์ โดยประเดิมรุกตลาดในภูมิภาคยุโรปเป็นตลาดแรก จาก 3 เมืองหลัก ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็น “นครแห่งไมซ์” ในระดับโลก โดยจะจัดกิจกรรมโรดโชว์ใน 2 เมืองสำคัญ คือ ลอนดอน สหราชอาณาจักร และกรุงเจนีวา สหพันธรัฐสวิส ได้รับความสนใจมีกลุ่มสมาคมการค้าและผู้จัดงานในอุตสาหกรรมไมซ์เข้าร่วมงานได้กว่า 60 หน่วยงาน โดยมีภาคเอกชนไทยเข้าร่วมงานทั้งสิ้น 19 หน่วยงาน |
. |
ขณะเดียวกัน ได้เข้าร่วมกิจกรรมเทรดโชว์ในอุตสาหกรรมไมซ์ในระดับโลกในงาน IMEX 2010 ณ นครแฟรงค์เฟิร์ต สหพันธรัฐเยอรมนี พร้อมนำเสนอแผนส่งเสริมการขายเชิงรุก “ไทยแลนด์ เอ็กซ์ตร้า แวลู” ภายใต้แนวคิด “คืนกำไรอย่างสูงสุด” ซึ่งครั้งนี้ มีจำนวนนัดหมายเจรจาธุรกิจจำนวน 467 นัดหโดยมีภาคเอกชนไทยเข้าร่วมงานทั้งสิ้น 13 หน่วยงาน |