1. พาณิชย์ปลื้มส่งออกอาฟตาไตรมาสแรกพุ่ง 75% |
- รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยถึง ผลการใช้สิทธิพิเศษส่งออกภายใต้อัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากันภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน(อาฟตา) ในช่วงไตรมาสแรกของปี 53 ว่า ไทยส่งออกภายใต้อาฟตามีมูลค่า 3,167.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.1 ต่อปี โดยสินค้าที่ใช้สิทธิอาฟตาสูงส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักร เครื่องปรับอากาศ ขณะที่สินค้าเกษตร ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวโพด น้ำตาลทราย |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า จากการปรับลดอัตราภาษีของอาฟตาในปี 53 นั้นพบว่า การส่งออกของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 53 ไปยังกลุ่มประเทศอาฟตาหลัก(บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์) สินค้าสำคัญที่ขยายตัวสูง ได้แก่ น้ำตาลทราย รถยนต์และส่วนประกอบ และน้ำมันสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 436.1 116.4 และ 113.6 ต่อปี ตามลำดับ |
. |
ทั้งนี้ สัดส่วนของกลุ่มประเทศอาฟตาในช่วงไตรมาสแรกของปี 53 อยู่ที่ร้อยละ 17.2 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12.9 ซึ่งถือว่าเป็นการช่วยกระจายความเสี่ยงในช่วงที่เศรษฐกิจคู่ค้าหลักเกิดวิกฤต ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกาหรือยุโรปที่หนี้สาธารณะอยู่ในระดับสูง |
. |
2. ต่างชาติกระหน่ำลงทุนไทย |
- เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ 4 เดือนแรกของปี 53 ว่ามีจำนวน 245 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.7 ต่อปี จากปีก่อนที่มีโครงการ 186 โครงการ ส่งผลให้มูลค่าการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 146 ต่อปี มาอยู่ที่ 5.33 หมื่นล้านบาท |
. |
ทั้งนี้ มีการลงทุนในโครงการใหม่ 130 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 2.45 หมื่นล้านบาท และเป็นการขยายการลงทุน 115 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 2.87 หมื่นล้านบาท ซึ่งกิจการที่นักลงทุนต่างชาติยื่นขอส่งเสริมและมียอดเงินทุนสูงสุดคือ กิ จการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง โดยเป็นนักลงทุนจากญี่ปุ่นยังคงยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด และรองลงมาคือ สิงคโปร์ |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า ในไตรมาส 1 ปี 53 การลงทุนภาคเอกชน ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 15.8 ต่อปี เพิ่มขึ้นมากจากไตรมาสก่อนที่หดตัวร้อยละ -4.6 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในเครื่องจักรภาคเอกชนที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 17.7 ต่อปี ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกประกอบกับฐานลงทุนในปีที่แล้วต่ำ ซึ่งสะท้อนว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมน่าจะเพิ่มขึ้นในอนาคต |
. |
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการเมืองอาจจะส่งผลกระทบในช่วงไตรมาส 2 ของปี ทั้งนี้ สศค. คาดว่า การลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริงปี 53 จะขยายตัวร้อยละ 8.2 ต่อปี โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 7.7 ถึง 8.7 ต่อปี (คาดการณ์ ณ มี.ค. 53) |
. |
3. นักวิเคราะห์มองการบริโภคภาคเอกชนของสหรัฐฯ จะขยายตัวต่อเนื่องในไตรมาส 2 |
- การใช้จ่ายภาคครัวเรือนและรายได้ประชาชนของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. 53 แม้จะไม่ขยายตัวตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า (%mom) แต่จากรายได้ประชาชนที่แท้จริงเพื่อการบริโภคที่ขยายตัวร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า ปัจจัยราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ |
. |
ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่า หากรายจ่ายภาคครัวเรือนเดือน พ.ค. และ มิ.ย. 53 ขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 0.3 ต่อเดือน จะทำให้การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.2 (%saar) ชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 3.5 (%saar) |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า จากเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในเดือน เม.ย. 53 พบว่าการบริโภคภาคเอกชนของสหรัฐฯ ยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน จากยอดค้าปลีกที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน พ.ค. 53 อยู่ในระดับ 63.3 สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 51 |
. |
สำหรับภาคการจ้างงานนั้น แม้ว่าตำแหน่งงานจะเพิ่มขึ้น แต่อัตราการว่างงานโดยรวมในเดือน เม.ย. 53 ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 9.9 ของกำลังแรงงานทั้งหมด นอกจากนี้ มาตรการกระตุ้นการซื้อบ้านของสหรัฐฯ ที่กำลังจะหมดลง ยังอาจส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนชะลอลงในระยะต่อไป |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |