GDP ไทยในไตรมาส 1 ปี 53 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 15 ปี ที่ร้อยละ 12.0 ต่อปี หรือร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ผลจากการขยายตัวของภาคการส่งออกสินค้าและบริการและการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 16.2 และ 15.8 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่เมื่อพิจารณาด้านอุปทานพบว่าสาเหตุที่ทำให้ GDP ขยายตัวได้สูงมาจากสาขาอุตสาหกรรม และสาขาโรงแรมภัตตาคารที่ขยายตัวที่ร้อยละ 22.8 และ 15.5 ต่อปี ตามลำดับ |
. |
ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน เม.ย. 53 เบิกจ่ายได้จำนวน 145.5 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.7 ต่อปี ซึ่งเป็นผลมาจากการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำจำนวน 125.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.3 ต่อปีและรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้จำนวน 10.8 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -46.1 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญในเดือน เม.ย. 53 ได้แก่ รายจ่ายของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 15.6 พันล้านบาท |
. |
รายจ่ายเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 5.1 พันล้านบาท และรายจ่ายกองทุนประกันสังคม จำนวน 4.2 พันล้านบาท ทั้งนี้ การเบิกจ่ายในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 53 เบิกจ่ายได้จำนวน 1,079.5 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -3.0 ต่อปี โดยเป็นงบประมาณประจำปีงบประมาณ 53 คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณที่ร้อยละ 56.8 ของกรอบวงเงินงบประมาณ (1.70 ล้านล้านบาท) |
. |
ทั้งนี้ คาดว่าผลการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 53 จะเป็นไปตามเป้าหมายอย่างน้อยที่ร้อยละ 94.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณ นอกจากนี้ ผลการเบิกจ่ายแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง2555 ณ วันที่ 21 พ.ค. 53 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 140.6 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 40.2 ของกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจำนวน 350.0 พันล้านบาท |
. |
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน เม.ย. 53 ดุลเงินงบประมาณเกินดุลจำนวน 17.0 พันล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 11.3 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (ก่อนกู้) ของรัฐบาลเกินดุลจำนวน 28.3 พันล้านบาท ทั้งนี้ ฐานะการคลังในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 53 รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณจำนวน -239.5 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -54.0 พันล้านบาท |
. |
ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด (ก่อนกู้) จำนวน -293.5 พันล้านบาท ส่งผลให้ปริมาณเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน เม.ย. 53 มีจำนวน 175.9 พันล้านบาท ซึ่งการการขาดดุลดังกล่าวสะท้อนถึงการดำเนินนโยบายการขาดดุลของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ |
. |
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน เม.ย. 53 ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 64.4 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 42.8 ต่อปี โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) กำลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น ตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น ตามทิศทางราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก (รายได้เกษตรกรเดือน เม.ย. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 16.9 ต่อปี) และ |
. |
2) ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงความนิยมจากรถที่มีขนาดใหญ่ มาเป็นรถที่มีขนาดกลางและเล็กมากขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าปัญหาความวุ่นวายการเมืองจะเริ่มเห็นผลกระทบอย่างชัดเจนได้ในเดือนพ.ค.53 เป็นต้นไป |
. |
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน เม.ย. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 30.0 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 58.9 ต่อปี จากการชะลอลงของปริมาณการจำหน่ายรถปิคอัพ ที่ขยายตัวร้อยละ 22.4 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวที่ร้อยละ 60.4 ต่อปี ตามแนวโน้มของการลงทุนภาคเอกเอกชนที่มีสัญญาณการชะลอลง เนื่องจากปัจจัยทางเมืองที่กระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ทำให้ประชาชนเริ่มชะลอการบริโภคและการลงทุนลง โดยเฉพาะการบริโภคในสินค้าคงทน |
. |
ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน เม.ย. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 28.1 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 32.1 ต่อปี (ซึ่งแม้ว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลงจากเดือนก่อน แต่ถือได้ว่ายังขยายตัวได้ในระดับสูง) โดยได้รับปัจจัยบวกจาก รายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น ตามทิศทางราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก อย่างไรก็ตาม คาดว่าผลกระทบจากปัจจัยการเมืองจะเห็นผลชัดเจนได้ในเดือนพ.ค.53 เป็นต้นไป |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม |