ส.อ.ท. เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2553 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ที่ระดับ 101.6 เหตุปัญหาการเมืองป่วนบวกราคาน้ำมันพุ่งสูง และปัญหาขาดแคลนแรงงาน
ส.อ.ท. เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2553 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ที่ระดับ 101.6 เหตุปัญหาการเมืองป่วนบวกราคาน้ำมันพุ่งสูง และปัญหาขาดแคลนแรงงาน |
. |
. |
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ในเดือนเมษายน 2553 ที่ได้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,135 ตัวอย่าง ครอบคลุม 39 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมฯ ว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 99.3 ปรับตัวลดลงจากเดือนมีนาคม 2553 ที่ระดับ 101.6 ซึ่งปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน |
. |
ทั้งนี้เป็นการปรับลดลงในทุกองค์ประกอบดัชนีทั้งยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ ซึ่งมีสาเหตุมาจากกรณีความขัดแย้งทางการเมือง การชุมนุมย่านราชประสงค์และบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเป็นศูนย์กลางธุรกิจและการท่องเที่ยว ส่งผลกระทบกับภาพรวมเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประกอบกับช่วงเดือนเมษายนมีวันหยุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ติดต่อกันหลายวันทำให้ปริมาณการผลิตลดลงด้วย |
. |
นอกจากนี้ระดับราคาน้ำมันโดยเฉลี่ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในหลายอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมอาหารทะเล เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องนุ่งห่ม สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ และการปรับตัวสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบหลายประเภท ก็ทำให้ความเชื่อมั่นในต้นทุนประกอบการลดลง |
. |
สำหรับดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากระดับ 107.2 ในเดือนมีนาคม อยู่ที่ระดับ 107.4 ในเดือนเมษายน เนื่องจากผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่า ยอดคำสั่งซื้อรวม ยอดขายรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้จากยอดซื้อและยอดขายคาดการณ์จะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการไม่มั่นใจสถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศ แต่เชื่อว่าสถานการณ์การส่งออกจะยังมีแนวโน้มที่ดีในอนาคต |
. |
ทั้งนี้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมจำแนกตามขนาดของกิจการ ดัชนีความเชื่อมั่นของ อุตสาหกรรมขนาดย่อม ปรับเพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมขนาดกลาง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ปรับตัวลดลง ทั้ง 2 ขนาด โดยอุตสาหกรรม ขนาดย่อม ปรับเพิ่มขึ้น จากระดับ ระดับ 90.5 ในเดือนมีนาคม อยู่ที่ระดับ 94.0 ในเดือนเมษายน แต่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 สะท้อนถึงความไม่เชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากเดือนมีนาคม |
. |
อุตสาหกรรมขนาดย่อมปรับตัวลงแรงนับจากเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม โดยในเดือนนี้เริ่มปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้อุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เครื่องประดับ แกรนิตและหินอ่อน อุตสาหกรรมขนาดกลาง ปรับตัวลดลงจากยอดคำสั่งซื้อ ยอดขายรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ |
. |
ซึ่งอุตสาหกรรมพลาสติกมียอดคำสั่งซื้อ ในสินค้าประเภทถุงพลาสติก ขวดพลาสติกลดลงและยังมียอดส่งออกไปสหรัฐในผลิตภัณฑ์บนโต๊ะอาหารลดลง ในอุตสาหกรรมยางแม้จะมีความต้องการซื้อจากประเทศจีน ญี่ปุ่นและยุโรปสูงขึ้น แต่สภาพอากาศที่แห้งแล้งก็ทำให้ปริมาณน้ำยางลดลง ต้นทุนจึงปรับตัวสูงขึ้น |
. |
อุตสาหกรรมขนาดกลางที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร พลาสติก ยา น้ำตาล และผลิตภัณฑ์ยาง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ปรับตัวลดลงจากยอดคำสั่งซื้อ ยอดขายรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ โดยอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมแก้วและกระจก อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน และโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม |
. |
ด้านดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมรายภูมิภาค พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมรายภูมิภาคปรับตัวลดลงในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ในขณะที่ภาคเหนือและภาคใต้ปรับตัวสูงขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยภาคกลาง ดัชนีปรับตัวลดลงทุกองค์ประกอบ |
. |
โดยพบว่ายอดขายอุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนังทั้งในและต่างประเทศลดลง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มส่งออกประเทศจีน ยุโรป เยอรมัน สินค้าประเภทหนังเทียม กระเป๋าธนบัตร และหนัง |
. |
ทั้งนี้อุตสาหกรรมในภาคกลางที่ค่าดัชนีปรับลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนัง แก้วและกระจก เครื่องจักกลและโลหะการ ยา และพลังงานทดแทน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีปรับตัวลดลงในทุกองค์ประกอบดัชนี ส่วนหนึ่งมาจากสถานการณ์ภัยแล้งที่ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องในเดือนเมษายน ซึ่งทำให้พืชผลทางการเกษตรมีปริมาณลดลง รายได้เกษตรกรลดลง การอุปโภคบริโภคในเดือนที่ผ่านมาจึงลดลง ในภาคอุตสาหกรรม |
. |
ด้านอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มมียอดขายในประเทศลดลง จากเครื่องแต่งกาย ตกแต่งผ้า ชุดชั้นในสตรี อย่างไรก็ตามในกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม เสื้อผ้าสำเร็จรูปยังคงมีทั้งยอดคำสั่งซื้อและยอดขายในต่างประเทศโดยเฉพาะในสหรัฐและอียูสูงขึ้น ซี่งแสดงถึงตลาดในต่างประเทศยังคงขยายตัวได้ดีอุตสาหกรรมสำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ค่าดัชนีปรับลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มหลังคาและอุปกรณ์ และยานยนต์ |
. |
ส่วนภาคตะวันออกปรับตัวลดลงเนื่องจากยอดคำสั่งซื้อ ยอดขายรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ โดยอุตสาหกรรมสำคัญในภาคตะวันออกที่ค่าดัชนีปรับลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็ก พลาสติก การจัดการของเสียและวัสดุเหลือใช้ ปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และผู้ผลิตไฟฟ้า ภาคเหนือ ปรับตัวสูงขึ้นจาก ยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย ปริมาณการผลิต |
. |
และผลประกอบการ อุตสาหกรรมสิ่งทอที่มียอดขายเพิ่มขึ้นจากกลุ่มผลิตภัณฑ์เส้นด้าย เส้นไหม อุตสาหกรรรมแกรนิตและหินอ่อน มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้นในสินค้ากลุ่ม หินก่อสร้างและหินอ่อน และอุตสาหกรรมสำคัญในภาคเหนือที่ค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้นได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ สมุนไพร แกรนิตและหินอ่อน เซรามิก หัตถอุตสาหกรรม และภาคใต้ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากยอดคำสั่งซื้อ ยอดขายรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ |
. |
จากอุตสาหกรรมโรงเลื่อยและโรงอบไม้ และอุตสาหกรรมไม้อัดไม้บางและวัสดุแผ่น ซึ่งมียอดขายเพิ่มสูงขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมอื่น เช่น อุตสาหกรรมยาง มียอดขายในผลิตภัณฑ์ยางแท่งเอสซีอาร์และถุงมือยางลดลง ยางแผ่นรมควันส่งออก จีน ญี่ปุ่น ยังมียอดคำสั่งซื้อและยอดขายสูงขึ้น |
. |
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการจำแนกตามตลาดส่งออก (กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ กับกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ) พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นในกลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ และตลาดต่างประเทศปรับตัวลดลงทั้ง 2 กลุ่ม โดยอุตสาหกรรมในกลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ ปรับลดลงในทุกองค์ประกอบดัชนี |
. |
โดยอุตสาหกรรมในที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม หลังคาและอุปกรณ์ ก๊าซ ผู้ผลิตไฟฟ้า เคมี ยา เครื่องจักรกลการเกษตร เครื่องจักรกลและโลหะการ การจัดการของเสียและวัสดุเหลือใช้ |
. |
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นฯกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ สาเหตุมาจากการปรับลดลงในองค์ประกอบดัชนีด้านยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย ปริมาณการผลิต และต้นทุนประกอบการ ส่วนอุตสาหกรรมที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมรองเท้า ยางและผลิตภัณฑ์ยาง |
. |
สำหรับด้านสภาวะแวดล?อมในการดําเนินกิจการ พบว่าผู้ประกอบการมีความกังวลในทุกประเด็นเพิ่มขึ้นโดยมีความกังวลในประเด็นผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองมากที่สุดโดยมีผู้ประกอบการถึงร้อยละ 76.0 ที่ตอบว่าได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมือง รองลงมาคือเรื่องสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ผู้ประกอบการกลับมากังวลในปัจจัยนี้อีกครั้ง |
. |
ทั้งนี้จากความกังวลว่าปัญหาหนี้ในประเทศกรีซอาจลุกลามกลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคได้ ปัจจัยอื่นๆที่ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้นคือ ราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ย ตามลำดับ |
. |
และข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ ต่อภาครัฐในเดือนนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกัน คือ ให้รัฐบาลควรควบคุมสถานการณ์ทางการเมืองไม่ให้เกิดความรุนแรงขึ้นอีก และเร่งแก้ปัญหาทางการเมืองเพื่อไม่ให้มีการชุมนุมยืดเยื้อ ควรสนับสนุนการฝึกอบรมช่างฝีมือภาคอุตสาหกรรม เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพแรงงานไทยและเพื่อให้มีแรงงานเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น |
. |
สนับสนุนการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการโดยเฉพาะกลุ่ม SME ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมือง และเห็นว่าภาครัฐควรมีนโยบายทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศในขณะนี้ |