1.สศช. เผย GDP ไทยใน Q1/53 ขยายตัวที่ร้อยละ 12 ต่อปี สูงสุดในรอบ 15 ปี |
- สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เผย GDP ไทยใน Q1/53 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 15 ปี ที่ร้อยละ 12 ต่อปี โดยยังไม่ได้รวมผลกระทบจากเหตุชุมนุมทางการเมือง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อจีดีพีในไตรมาส 2 |
. |
ทำให้ สศช. ประมาณการ GDP ทั้งปี ไว้ที่ร้อยละ 3.5 - 4.5 ต่อปี จากเดิมคาดว่า GDP ของไทยในปีนี้อาจขยายตัวได้ถึงร้อยละ 6 - 7 ต่อปี ขณะที่มีการประเมินเหตุรุนแรงช่วง เม.ย. - พ.ค. 53 จะกระทบ GDP ปีนี้ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า ตัวเลข GDP ใน Q1/53 ที่ได้ขยายตัวสูงเป็นผลมาจากการขยายตัวของภาคการส่งออกสินค้าและบริการและการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 16.2 และ 15.8 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่เมื่อพิจารณาด้านอุปทานพบว่าสาเหตุที่ทำให้ GDP ขยายตัวได้สูงมาจากสาขาอุตสาหกรรม และสาขาโรงแรมภัตตาคารที่ขยายตัวที่ร้อยละ 22.8 และ 15.5 ต่อปี ตามลำดับ |
. |
นอกจากนี้ สศค. คาดว่าสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองจะส่งผลกระทบชัดเจนใน Q2/53 โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะได้รับความเสียหายร้อยละ 0.5 -1.8 ต่อปี จากกรณีฐานที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 4.5 ต่อปี (คาดการณ์ ณ มี.ค. 53) |
. |
2. มูดีส์ชี้เหตุจลาจลไม่กระทบเชื่อมั่นแบงก์ไทย |
- สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ระบุว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในไทยช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งนำไปสู่เหตุการจราจลเมื่อวันที่ 19 พ.ค.53 นั้น แม้ว่าจะเป็นผลลบต่อความน่าเชื่อถือประเทศไทย แต่เรื่องดังกล่าวก็ยังไม่ได้ทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจและการเงินถดถอยลง |
. |
ส่วนในภาคการธนาคารนั้น ความน่าเชื่อถือของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยขึ้นอยู่กับว่า ธนาคารจะเปิดทำการตามปกติได้หรือไม่ในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้ มูดีส์คาดว่าในระยะใกล้นี้มีแนวโน้มว่า หนี้เสียจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและที่พัก แต่ผลกระทบด้านลบจัดได้ว่าอยู่ในระดับปานกลาง โดยมูดีส์ประกาศคงอันดับความน่าเชื่อถือของไทยที่ 'Baa1' โดยมีแนวโน้มเชิงลบ |
. |
- สศค.วิเคราะห์ว่า เหตุการณ์ความไม่สงบในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น อาจส่งผลต่อระบบการชำระเงินของธนาคารพาณิชย์ อีกทั้งอาจมีหนี้เสียเพิ่มขึ้นจากธุรกิจบริเวณที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งอาจต้องมีการประเมินมูลค่าความเสียหายต่อไป อีกทั้งธุรกิจประกันภัยอาจได้รับผลกระทบบ้างหากมีการกระจายความเสี่ยงที่ไม่เหมาะสม |
. |
อย่างไรก็ตาม ภาคการเงินของไทยยังคงแข็งแกร่ง โดยจะเห็นได้จากสินเชื่อและเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ที่กลับมาขยายตัวตั้งแต่เดือนมี.ค.53 และหากภาครัฐสามารถฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจตลอดจนคลี่คลายความตึงเครียดทางการเมืองได้ มูดี้ส์อาจจะพิจารณาปรับแนวโน้มของไทยจาก'เชิงลบ' เป็น 'มีเสถียรภาพ' ได้ |
. |
3. วินาศกรรมกลางกรุง ฉุดนักท่องเที่ยวไทยลดลง |
- ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดเผยว่า วินาศกรรมกลางกรุงฉุดนักท่องเที่ยวไทยลดลงส่งผลให้สถานการณ์ท่องเที่ยวไทยจะได้รับผลกระทบยาวนานกว่าที่คิด และทำให้จำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมียอดการแจ้งยกเลิกเที่ยวบินอย่างต่อเนื่อง |
. |
ทั้งนี้การยกเลิกเที่ยวบินที่เกิดขึ้นเป็นเพราะจำนวนผู้โดยสารที่ลดน้อยลง ทำให้ต้องมีการลดเที่ยวบินและรวมไฟลต์เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ประกอบกับการประกาศเคอร์ฟิวห้ามออกจากบ้านในช่วง 21.00 -05.00 น. ในช่วง 3 วัน ทำให้ทางสนามบินสุวรรณภูมิ ต้องแก้ปัญหาการตกค้างของผู้โดยสารที่เฉลี่ยอยู่ที่ 500-600 คนต่อวัน |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า ผลกระทบที่เกิดจากการการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงมาก โดยในเดือน เม.ย. 53 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 1.1 ล้านคน คิดเป็นการหดตัวลงร้อยละ -0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อนซึ่งเป็นช่วงที่มีปัญหาการเมืองรุนแรงเช่นกัน และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้วพบว่าหดตัวลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ -14.1 |
. |
นอกจากนี้ ข้อมูลล่าสุดตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. – 22 พ.ค. 53 พบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางผ่านสนามบินสุวรรณภูมิมีจำนวน 4.3 แสนคน คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -14.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้คาดว่าจะส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปี 53 ต่ำกว่าที่คาดทาง สศค. คาดไว้ที่ 15.5 ล้านคน |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |