ในแต่ละปีไทยต้องพึ่งพาพลังงานนำเข้าจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะพลังงานจากน้ำมัน การขึ้น-ลงของราคาน้ำมันของโลกจึงเป็นปัจจัยสำคัญส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาน้ำมันในประเทศและส่งผลต่อระบบเศรษฐฏิจในภาพรวมของประเทศในที่สุด
. |
สถานการณ์ราคาน้ำมันโลกในอดีต |
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าไทยเป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาพลังงานนำเข้าอย่างมากในแต่ละปี โดยเฉพาะพลังงานจากน้ำมัน ประเทศไทยใช้น้ำมันเป็นพลังงานในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น การขนส่ง การผลิตในอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว เป็นต้น และจะใช้มากขึ้นหากในปีนั้น ๆ มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงขึ้น |
. |
การขึ้น-ลงของราคาน้ำมันของโลกจึงเป็นปัจจัยสำคัญส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาน้ำมันในประเทศและส่งผลต่อระบบเศรษฐฏิจในภาพรวมของประเทศในที่สุด ดังนั้น หากผู้ประกอบการธุรกิจทราบทิศทางราคาน้ำมันในอนาคตก็จะสามารถเตรียมรับมือในการดำเนินงานหรือสามารถเตรียมแผนการดำเนินการทางธุรกิจในอนาคตได้อย่างเหมาะสม ด้านหน่วยงานภาครัฐก็จะสามารถวางนโยบาย/มาตรการเพื่อเตรียมรับมือและลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้าได้อย่างทันท่วงที |
. |
จากแผนภาพที่ 1 แสดงให้เห็นถึงทิศทางราคาน้ำมันดิบของโบกในอดีตที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 1972-2008 พบว่ามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นมาโดยตลอด เช่น ราคาน้ำมันดิบดูไบเพิ่มจาก 1.90 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในปี 1972 มาเป็น 94.34 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในปี 2008 ราคาน้ำมันดิบเวสต์ เท็กซัส เพิ่มจาก 12.23 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ในปี 1975 มาเป็น 100.06 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ในปี 2008 |
. |
แผนภาพที่ 1 ทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบของโลกตั้งแต่ปี 1861-2008 |
ที่มา : http://www.bp.com |
. |
และลักษณะการขึ้นของราคาน้ำมันดิบของโลกจะมีบางปีที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นกว่าปีก่อนหน้ามากจะเป็นในกรณีที่มีเหตุการณ์ไม่ปกติเป็นระยะ ๆ เช่น กรณรอิรักบุกยึดคูเวต การเกิดพายุแคทรีนาที่สร้างความเสียหายแก่ประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างหนัก สงครามอิรัก-สหรัฐอเมริกา ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งที่เกิดจากประเทศไทย |
. |
ปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่าน ความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นจากประเทศอินเดียเนื่องจากเร่งพัฒนาเศรษฐกิจหรือจากประเทศจีนในช่วงที่มีการเตรียมงานโอลิมปิก เป็นต้น โดยเฉพาะในปี 2008 ราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้นผิดปกติ อย่างรุนแรงและเห็นได้ชัด |
. |
โดยราคาน้ำมันดิบได้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดถึงประมาณ 94-100 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล จากความต้องการใช้น้ำมันของโลกเพิ่มสูงขึ้นมากและเป็นผลจากการเก็งกำไรก่อนที่ราคาจะปรับตัวลดลงมาในปี 2009 เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจที่มีต้นเหตุจากสหรัฐอเมริกาได้ส่งผลกระทบจนทำให้เศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในโลกหดตัวเป็นผลให้ความต้องการใช้น้ำมันหดตัวลงไปด้ว |
. |
คาดการณ์ราคาน้ำมันโลก |
ราคาน้ำมันโลกในระยะสั้น |
การขึ้น-ลงของราคาน้ำมันโลกมีปัจจัยหนึ่งขึ้นอยู่กับแนวโน้มความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ในช่วงปี 2009 และคาดว่าจะฟื้นตัวต่อเนื่องมาถึงปี 2010 ทำให้คาดว่าความต้องการใช้น้ำมันของโลกในระยะสั้นจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.86 จากระดับการใช้ 84.6 ล้านบาร์เรล/วันในปี 2009 |
. |
มาอยู่ที่ระดับประมาณ 86.2 ล้านบาร์เรล/วันในปี 2010 และทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกในปี 2010 จะอยู่ในระดับ 70-80 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และอาจปรับตัวสูงกว่า 100 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลได้หากการเติบโตของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่ เช่น กลุ่ม BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน) และกลุ่มประเทศในเอเชียในระดับสูงทำให้การใช้น้ำมันขยายตัวเร็วกว่าอัตราการจัดหา (ตารางที่ 1 ) |
. |
ตารางที่ 1 แสดงสถานการณ์และแนวโน้มราคาน้ำมันเฉลี่ยของโลกในระยะสั้น |
ที่มา : 1วารสารนโยบายพลังงาน (ฉบับที่ 76, ม.ค. – มี.ค. 2551) และ (ฉบับที่ 85, ก.ค. – ก.ย. 2552) (ฉพาะปี 2006-2009) |
. |
ราคาน้ำมันโลกในระยะยาว |
ในรายงานของ International Energy Outlook (IEO) 2009 ซึ่งจัดทำโดยหน่วยงาน Energy Information Administration (EIA) ได้ประมาณการณ์ความต้องการใช้น้ำมันและราคาน้ำมันโลกโดยใช้สมมุติฐานจากความไม่แน่นอนของแนวโน้มการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคของโลกจนถึงปี 2030 มาพิจารณา |
. |
เนื่องจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อความต้องการใช้และการขึ้น-ลงของราคาน้ำมันและสมมุติฐานจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แท้จริง ณ ค่าเงินเหรียญสหรัฐที่แท้จริง ณ ค่าเงินเหรียญสหรัฐในปี 2005 |
. |
IEO 2009 ได้ประมาณการณ์ว่าการเติบโตในอนาคตของเศรษฐกิจโลกจะเพิ่มสูงขึ้นและสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจะเกิดจากประเทศในกลุ่มเศรษฐกิจ Non-OECD ที่กำลังมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจสูงมากกว่าประเทศในกลุ่ม OECD (ตารางที่ 2) |
. |
ตารางที่ 2 World Gross Domestic Product by Country Grouping, 2006 – 2030 |
ที่มา : International Energy Outlook 2009 |
. |
และในการประมาณการณ์ขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกเพื่อที่จะนำไปใช้ประมาณการณ์ความต้องการใช้พลังงานของโลกนั้น IEO 2009 ได้ประมาณการณ์เพิ่มเติมจากกรณีที่มีสมมุติฐานให้คงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงของ GDP โลกและการเปลี่ยนแปลงความต้องการใช้พลังงานของโลกไว้เพื่อใช้เปรียบเทียบเป็นกรณีอ้างอิง (Reference case) กับอีก 2 กรณีที่กำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงตามความไม่แน่นอนของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโลกใน 2 ลักษณะ คือ |
. |
1) กรณีที่เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มการเจริญเติบโตสูง (High economic growth case) และ 2) กรณีที่เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มการเจริญเติบโตต่ำ (Low economic growth case) (แผนภาพที่ 2) ซึ่งผลจากการประมาณการณ์ตามสมมุติฐานพบว่าทั้ง 3 กรณีมีแนวโน้มความต้องการใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น |
. |
แผนภาพที่ 2 World Marketed Energy Consumption in Three Economic Growth Cases, 1980-2030 |
หมายเหตุ : Quadrillion BTU : จีดีพีต่อหน่วยวัดพลังงาน ที่มา : International Energy Outlook 2009 |
. |
IEO 2009 ได้เพิ่มเติมว่าสัดส่วนความต้องการใช้พลังงานของโลกในอนาคตนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตที่ความต้องการใช้พลังงานส่วนใหญ่มาจากประเทศในกลุ่มเศรษฐกิจ OECD แต่ในอนาคตความต้องการใช้พลังงานส่วนใหญ่จะมาจากประเทศในกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ในกลุ่มนอก OECD (The emerging non-OECD economies) โดยเฉพาะจากประเทศจีนและอินเดียที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วมากและเติบโตอย่างมีนัยยะสำคัญ |
. |
แผนภาพที่ 3 World Marketed Energy consumption : OECD and Non-OECD, 1980-2030 |
ที่มา : International Energy Outlook 2009 |
. |
จากแผนภาพที่ 3 ในกรณี Reference case แสดงให้เห็นแนวโน้มของความต้องการใช้พลังงานในโลกกลุ่มเศรษฐกิจ OECD และกลุ่มเศรษฐกิจ Non-OECD โดยสัดส่วนความต้องการใช้พลังงานของกลุ่มเศรษฐกิจ OECD มีแนวโน้มเติบโตลดลงจากร้อยละ 51 ในปี 2006 มาเป็นร้อยละ 41 ในปี 2030 |
. |
ทั้งนี้ การใช้พลังงานของกลุ่มเศรษฐกิจ OECD จะมีการเติบโตอย่างช้า ๆ เฉลี่ยร้อยละ 0.6 ต่อปี เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้พลังงานของกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ในกลุ่ม Non-OECD ที่เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 2.3 ต่อปี |
. |
แผนภาพที่ 4 World Oil Prices in Three Price Cases, 1980-2030 |
ที่มา : International Energy Outlook 2009 |
. |
จากผลการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจและความต้องการใช้พลังงานของโลกตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นภายใต้สมมุติฐานที่ตั้งไว้ IEO2009 ได้ประมาณการณ์แนวโน้มราคาน้ำมันจนถึงปี 2030 เป็น 2 กรณี โดยเปรียบเทียบกับกรณี reference case เช่นกัน คือ ในกรณีราคาน้ำมันต่ำ (Low price case) และในกรณีราคาน้ำมันสูง (High price case) |
. |
ในกรณีราคาต่ำ ราคาน้ำมันโลกคาดว่าจะปรับลดลงเป็น 50 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล (ณ ค่าเงินเหรียญสหรัฐในปี 2007) ในปี 2015 และจะคงระดับราคานี้ไปจนถึงปี 2030 ในกรณีราคาสูงราคาน้ำมันโลกคาดว่าจะปรับเพิ่มสูงขึ้นจาก 68 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในปี 2006 เป็น 200 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ในปี 2030 (แผนภาพที่ 4) โดยเมื่อเปรียบเทียบกับกรณีอ้างอิงที่มีการปรับราคาขึ้นเป็น 130 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในปี 2030 |
. |
จากการคาดการณ์แนวโน้มราคาน้ำมันที่หน่วยงาน EIA ได้จัดทำไว้ประกอบกับทิศทางของราคาน้ำมันในอดีตจะเห็นไดว่าทิศทางของราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น ๆ มาตลอด ทำให้พอจะคาดได้ว่าราคาน้ำมันในกรณีต่ำนั้นคงจะไม่ได้พบเห็นกันอีก คงเหลือ 2 กรณีที่เหลือที่มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดขึ้นในอนาคต คือ |
. |
ในกรณี Reference case ที่ระดับราคา 130 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และในกรณีราคาน้ำมันสูงที่ระดับราคา 200 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนราคาที่จะเกิดขึ้นจริงในช่วงเวลาที่คาดการณ์จะอยู่ที่ระดับใดคงต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมที่จะมีอิทธิพลต่อการปรับระดับราคาน้ำมันขึ้น-ลงในช่วงเวลานั้น |
. |
ทั้งนี้ การปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันที่ผ่านมาทำให้ประเทศต่าง ๆ ในโลกรวมทั้งประเทศไทยได้ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงมากประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับมลภาวะที่เกิดขึ้นจากการใช้พลังงานประเภทฟอสซิลและมีผลต่อการเพิ่มภาวะโลกร้อนทำให้เกิดแนวโน้มการเร่งทำการประหยัดพลังงานในทุกภาคส่วน การใช้พลังงานทางเลือกเพื่อทดแทนน้ำมันให้เพิ่มสูงขึ้น |
. |
การออกกฎและระเบียบต่าง ๆ ในการส่งเสริม สนับสนุนและ/หรือกำหนดให้ต้องใช้พลังงานทางเลือกเพื่อทดแทนน้ำมัน รวมถึงมีการเร่งวิจันและพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตพลังงานทดแทนที่มีประสิทธิภาพเทียบเคียงน้ำมันและผลิตสินค้าที่ประหยัดพลังงานได้สูงที่อาจค้นพบได้อีกในอนาคตข้างหน้า ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการขึ้น-ลงของราคาน้ำมันในแต่ละช่วงเวลานั้นทั้งสินซึ่งผู้ที่ทำการคาดการ์จำเป็นต้องเอาปัจจัยเหล่านี้มีพิจารณาร่วมด้วย |
. |
บทวิเคราะห์ |
ผลของราคาน้ำมันที่มีต่อประเทศไทยและการบริหารจัดการในอนาคต |
ที่ผ่านมาไทยเป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันเพื่อใช้ในประเทศในปริมาณและมูลค่าเป็นจำนวนมากในแต่ละปี (ตารางที่ 3) และคงยังจะต้องนำเข้าน้ำมันเพื่อการบริโภคในประเทศปริมาณมากอีกในอนาคต การคาดการณ์ดังกล่าวข้างต้นมีปัจจัยสนับสนุนจากงานวิจัยของสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ทำการจำลองภาพเหตุการณ์พลังงานของไทยถึงปี 2030 หรือ Thailand Energy Outlook 2030 |
. |
ซึ่งเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์และผลที่เกี่ยวข้องกับการใช้และการจัดหาพลังงานของไทยจนกระทั่งปี 2030 โดยจำลองภาพเหตุการณ์พลังงานของประเทศไทยในกรณีฐานแบ่งเป็น 5 สาขาเศรษฐกิจประกอบด้วยสาขาครัวเรือนบ้านพักอาศัย อุตสาหกรรม คมนาคมและการขนส่ง เกษตรกรรม และธุรกิจ |
. |
โดยใช้ข้อมูลของปี 2004 เป็นปีฐานภายใต้สมมติฐานของการใช้พลังงานที่อัตราความต้องการใช้ยังเติบโตตามเป้าหมายและแผนการจัดหาพลังงานของประเทศยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงและภายใต้ตัวแปรสำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจ แหล่งพลังงาน เทคโนโลยี ราคา ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม |
. |
ซึ่งในการคาดการณ์โดยใช้เครื่องมือโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยในการคำนวณ Long Rang Alternative Energy Planning LEAP)* ในการจำลองภาพอนาคตทางด้านพลังงานที่อาจเกิดขึ้นของประเทศไทยในระยะเวลาข้างหน้า |
. |
ตารางที่ 3 แสดงปริมาณและราคาการนำเข้าน้ำมันดิบของไทย |
หมายเหตุ : * ตัวเลขคาดการณ์เบื้องต้น ที่มา : http://www.eppo.go.th |
. |
*Long-rang Energy Alternatives Planning system (LEAP) เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้สำหรับการพัฒนาแบบจำลองหรือภาพเหตุการณ์ (Scenario) ทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 1980 ภายใต้โครงการ Beijer Institute’s Kenya Fuelwood Project เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับวางแผนพลังงานในระยะยาว |
. |
ออกแบบโดย Paul Raskin และปัจจุบัน LEAP ได้ถูกใช้งานในการวางแผนพลังงานของประเทศต่าง ๆ กว่า 146 ประเทศ โดยหน่วยราชการ สถาบันการศึกษารวมถึงองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร (ที่มา : สถาบันวิจัยพลังงาน โดย วารสารพลังงาน ปีที่ 9 ปี 2551) |
. |
ผลของการวิจัยพบว่าอัตราการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นในทุกสาขาเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2005 ถึงปี 2030 การใช้พลังงานของไทยมีปริมาณสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 67 Mtoe (ล้านตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ) ในปี 2004 จนถึง 231 Mtoe ในปี 2030 |
. |
โดยอัตราความต้องการใช้พลังงานทุกสาขาเศรษฐกิจยกเว้นสาขาครัวเรือนมีอัตราการเติบโตเป็นไปตามผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศโดยสาขาคมนาคมและการขนส่งและสาขาอุตสาหกรรมเป็นสาขาเศรษฐกิจหลักที่มีความต้องการใช้พลังงานสูงอย่างต่อเนื่อง (ตารางที่ 4) และแนวโน้มความต้องการใช้พลังงานในภาพรวมของประเทศจำแนกตามชนิดเชื้อเพลิงแสดงตามแผนภาพที่ 5 |
. |
แม้ว่าปัจจุบันด้านภาวะเศรษฐกิจทั้งของโลกและในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปมากกว่าปีที่ถูกใช้เป็นสมมุติฐานซึ่งอาจทำให้การประมาณการณ์ความต้องการใช้พลังงานในอนาคตของไทยในช่วงเวลาดังกล่าวอาจมีผลเปลี่ยนแปลงไปบ้าง อย่างไรก็ดี เราสามารถที่พอจะเห็นแนวโน้มความต้องการใช้พลังงานในอนาคตของไทยที่สูงขึ้นซึ่งมีความสอดคล้องกับการประมาณการณ์ความต้องการใช้พลังงานโลกที่ IEO 2009 ได้ประมาณการ์ไว้ข้างต้น |
. |
ตารางที่ 4 ปริมาณความต้องการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายจำแนกตามสาขาเศรษฐกิจในกรณีฐาน |
. |
แผนภาพที่ 5 ความต้องการใช้พลังงานในภาพรวมของประเทศจำแนกตามชนิดเชื้อเพลิง |
ที่มา : วารสารพลังงาน, ปีที 9, ฉบับที่ 2551 |
. |
จากภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่แสดงไว้ข้างต้นพอจะแสดงให้เห็นว่าในอนาคตประเทศไทยคงต้องนำเข้าน้ำมันเพิ่มขึ้นในปริมาณมากตามการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เมื่อพิจารณาในตารางที่ 5 จะเห็นว่ามูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบของไทยระหว่างปี 2005-2009 มีแนวโน้มสูงขึ้น ในปี 2008 การนำเข้าน้ำมันดิบของไทยมีมูลค่าสูงถึงประมาณ 1,003 พันล้านบาทหรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณถึงร้อยละ 11 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ |
. |
หากความต้องการใช้พลังงานของไทยเพิ่มสูงขึ้นตามที่มีการประมาณการณ์ไว้คงจะพอสามารถคาดได้ว่ามูลค่าที่ไทยต้องสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าพลังงานโดยเฉพาะน้ำมันคงจะต้องเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ |
. |
นอกจากนี้ ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมอีกโดยจากการประเมินผลกระทบของราคาน้ำมันแพงที่มีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เผยแพร่ในปี 2008 ของบริษัท หลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด พบว่าถ้าราคาน้ำมันสูงขึ้น 10 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จะทำให้เงินเฟ้อขยับขึ้นอีกร้อยละ 1.1 และอาจจะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจหดตัวลงร้อยละ 0.4 และทำให้รายรับหลังหักค่าใช้จ่ายจำเป็นลดลงร้อยละ 1.1 การบริโภคลดลงร้อยละ 0.75 |
. |
(ที่มา : ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ กรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัยเศรษฐกิจ บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ โดย http://www.moneychannel.co.th /Menu6/TradingHour/tabid/86/newsid480/41070/Default.aspx) |
. |
ตารางที่ 5 แสดงมูลค่านำเข้าน้ำมันดิบของไทยเปรียบเทียบกับ GDP |
หมายเหตุ : 1Pตัวเลขคาดการ์เบื้องต้น 2ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศระหว่างปี 2547-2549 ปรับปรุงตาม สศช. |
ที่มา : รายงานพลังงานของประเทศไทยปี 2551/2008 |
. |
ในการแก้ไขผลกระทบอันเกิดจากราคาน้ำมันสูงยิ่งในปัจจุบันนี้มีตัวแปรที่ทำให้ราคาน้ำมันเกิดความอ่อนไหวได้ง่ายและมากกว่าเดิม โดยทั่ว ๆ ไปการแก้ไขผลกระทบที่นิยมทำกันคือ 1) การประหยัดพลังงาน 2) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 3) การใช้พลังงานทดแทน |
. |
ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม การแก้ไขปัญหาผลกระทบจากราคาน้ำมันสูงในกระบวนการผลิตนั้นแนวทางใน 2 ข้อแรกหากอยู่ภายใต้เงื่อนไขในสภาวะการณ์และเทคโนโลยีเช่นในปัจจุบัน เมื่อมีการดำเนินการถึงระดับหนึ่งก็จะไม่สามารถทำให้ประหยัดพลังงานได้มากขึ้น |
. |
ยิ่งในระยะยาวหากราคาน้ำมันได้ไต่ระดับเพิ่มขึ้นจนถึงราคาในกรณีสูงตามที่ IEO2009 ได้คาดการณ์ไว้ นอกจากการประหยัดพลังงานเพื่อช่วยลดความต้องการใช้น้ำมันลงแล้ว การลดผลกระทบจากการใช้พลังงาคงหนีไม่พ้นกรณีที่ 3 คือ การใช้พลังงานชนิดอื่นทดแทนน้ำมัน แต่ไม่ว่าจะเป็นแนวทางการประหยัดพลังงาน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน |
. |
การผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานหรือสามารถใช้ร่วมกับพลังงานทดแทนได้ เป็นอย่างดี หรือการผลิตพลังงานทดแทนน้ำมันต้องอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่จะเป็นเครื่องมือสำคัญซึ่งเราคงจะไม่ลืมสิ่งหนึ่งที่ซ่อนอยู่ คือ เทคโนโลยีเหล่านั้นได้มาจากการทุ่มเททำวิจัยและพัฒนาอย่างจริงจังดังเช่นในต่างประเทศที่ได้มีการทำมานานแล้ว |
. |
สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาเช่นประเทศไทยอาจมีปัญหาด้านงบประมาณไม่เพียงพอที่จะดำเนินการเรื่องดังกล่าว หากไทยไม่รีบดำเนินการอย่างจริงจังตั้งแต่ในขณะนี้เมื่อถึงเวลาที่ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นกว่าเทคโนโลยีที่มีอยู่มาก ๆ ประเทศไทยต้องประสบกับผลกระทบจากราคาน้ำมันสูงอย่างรุนแรงดับที่เคยเป็นมาในอดีต |
. |
แนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบ |
แนวทางการดำเนินการในระยะสั้น |
1) ต่อยอดงานวิจัยด้านพลังงานที่มีอยู่แล้ว นำเทคโนโลยีด้านพลังงาน (เพื่อการประหยัดพลังงาน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการใช้พลังงานทดแทน) ที่มีผู้คิดค้นไว้แล้วในประเทศมาต่อยอดเพื่อเป็นการลดต้นทุนในการวิจัย และควรทำเป็นเชิงพาณิชย์เพื่อให้ได้ขนาดและมีต้นทุนที่เหมาะสมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ |
. |
2) เพิ่มประเภทการให้ส่งเสริม ภาครัฐควรเพิ่มประเภทการให้ส่งเสริมแก่กิจการประเภทนี้โดยให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากประเภท 7.12 – กิจการการวิจัยและพัฒนา* ที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ให้การสนับสนุนไว้เดิมเป็นกรณีพิเศษเพื่อกระตุ้นและจูงใจให้มีผู้สนใจลงทุน |
. |
(หมายเหตุ :* สิทธิและประโยชน์ของกิจการการวิจัยและพัฒนาประเภท 7.12 : 1) ได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรไม่ว่าตั้งอยู่ในเขตใด 2) ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 8 ปีไม่ว่าตั้งอยู่เขตใด 3)ไม่กำหนดสัดส่วนการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล |
. |
แนวทางการดำเนินการในระยะยาว |
1) เสนอให้การวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานเป็นวาระแห่งชาติ ภาครัฐควรกำหนดให้เป็นนโยบายที่ได้รับการยกระดับให้เป็นวาระแห่งชาติเพื่อให้นโยบายนี้ได้รับการสานต่อไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลในยุคใด มีกระทรวงพลังงานเป็นเจ้าภาพหลักและมีหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมด้วย โดยมีกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการนี้ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม |
. |
รวมถึงมีการจัดทำแผนแม่บทด้านการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานระดับชาติเพื่อให้มีกรอบการพัฒนาอย่างมีระบบและความชัดเจน เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว รวมถึงมีการบูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ในระดับประเทศ |
. |
2) ผลักดันให้เกิดศูนย์การทำวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานแห่งชาติ ภาครัฐควรจัดตั้งศูนย์การทำวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานแห่งชาติเพื่อให้เป็นศูนย์ที่รวบรวมองค์ความรู้การพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงาน มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยพลังงานในสาขาต่าง ๆ มีความเพียบพร้อมด้านเครื่องมือวิจัย และเป็นองค์กรที่ทำการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศด้านพลังงานมีการจัดสรรงบประมาณอย่างพอเพียงเพื่อให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง |
. |
แนวทางในการดำเนินการข้างต้อนเป็นการเตรียมการให้พร้อมแบบเชิงรุกซึ่งหากประเทศไทยสามารถดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรมแล้ว แม้ว่าราคาน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้นกว่านี้มากในอนาคตประเทศของเราคงจะสามารถรับมือกับปัญหาอันเกิดจากราคาน้ำมันแพงได้ในระดับที่น่าพอใจ |
. |
รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์โดย |
. |
ที่มาแหล่งข้อมูล : |
- Energy Information Administration (EIA) / International Energy Outlook (IEO) 2009 |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม |