กฟผ. เผย การใช้ไฟฟ้าสูงสุดทำลายสถิติ ครั้งที่ 10 ในรอบปี เท่ากับ 24,009.9 เมกะวัตต์ สูงกว่าประมาณการปี 2553 ในการจัดทำพีดีพี 2010 ฉบับเดือน ก.พ. 53 กว่า 700 เมกะวัตต์ สาเหตุสำคัญจากอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยที่ 39 องศาเซลเซียส และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ |
. |
นายบรรพต แสงเขียว รองผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม ในฐานะโฆษก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (10 พ.ค. 53) เวลา 14.00 น. ได้เกิดความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (Peak) เท่ากับ 24,009.9 เมกะวัตต์ นับเป็นครั้งที่ 10 ของปี 2553 ที่ทำลายสถิติ ปี 2552 ถึงร้อยละ 8.9 (วันที่ 24 เม.ย. 52 เท่ากับ 22,044.9 เมกะวัตต์) |
. |
นอกจากนี้ยังสูงกว่าประมาณการในค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า ปี 2553 ที่ใช้ในการจัดทำแผน PDP 2010 ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งพยากรณ์ไว้เท่ากับ 23,249 เมกะวัตต์ อยู่ถึงกว่า 700 เมกะวัตต์ ซึ่งเทียบเท่าโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ 1 โรง |
. |
โดยสาเหตุสำคัญมาจากสภาพอากาศร้อนอบอ้าว โดยมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 39 องศาเซลเซียส ซึ่งนับเป็นอุณหภูมิสูงที่สุดของปี 2553 รวมถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นจึงขอให้ประชาชนช่วยกันประหยัดไฟฟ้า เลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงานไฟฟ้าและบำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพดี เพื่อช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้า |
. |
สำหรับสถิติการเกิด Peak ในปี 2553 นั้น เกิดขึ้นมาแล้ว 9 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 2 มี.ค. เท่ากับ 22,185.80 เมกะวัตต์ วันที่ 3 มี.ค. เท่ากับ 22,406.40 เมกะวัตต์ วันที่ 8 มี.ค. เท่ากับ 22,542.20 เมกะวัตต์ วันที่ 9 มี.ค. เท่ากับ 22,649.78 เมกะวัตต์ วันที่ 16 มี.ค. เท่ากับ 23,143.26 เมกะวัตต์ |
. |
วันที่ 25 มี.ค. เท่ากับ 23,304.05 เมกะวัตต์ วันที่ 5 เม.ย. เท่ากับ 23,529.69 เมกะวัตต์ วันที่ 6 เม.ย. เท่ากับ 23,730.21 เมกะวัตต์ และวันที่ 22 เม.ย. เท่ากับ 23,897.72 เมกะวัตต์ ตามลำดับ |
. |
ที่มา : สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน |