1. ก.พาณิชย์เผยการลงทุนและการค้าในตลาดใหม่ของสหภาพยุโรป |
- กระทรวงพาณิชย์ เผยว่า สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้ร่วมกับ European Center for International Political Economy (ECIPE) ศึกษาในตลาดใหม่ 5 ประเทศ ได้แก่ 1) สาธารณรัฐเซ็ก 2) โปรแลนด์ 3) โรมาเนีย 4) สโลวาเกีย และ 5) สโลวาเนีย ซึ่งเป็นตลาดที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออก |
. |
โดยเฉพาะ 4 ประเทศแรก ที่มีการขยายตัวของตลาดและอัตราเจริญเติบโตของ GDP ค่อนข้างสูง แสดงให้เห็นว่ามีภาวะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เป็นตลาดที่น่าสนใจมากสำหรับการลงทุนและการส่งออกสินค้าของไทย |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า การส่งออกของไทยไปยังประเทศคู่ค้าหลัก โดยเฉพาะตลาดในกลุ่มสหภาพยุโรปขยายตัวร้อยละ 30.3 ต่อปี ในเดือน มี.ค. 53 ซึ่งเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว โดยสินค้าที่ส่งออกของไทยไปยังสหภาพยุโรปที่สำคัญในเดือน มี.ค.53 ได้แก่ 1) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 125.7 ต่อปี |
. |
2) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบขยายตัวร้อยละ 47.7 ต่อปี 3) ไก่แปรรูป ขยายตัวร้อยละ 39.3 ต่อปี 4) อัญมณีและเครื่องประดับ ขยายตัวร้อยละ 26.6 ต่อปี 5) เสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 14.3 ต่อปี อย่างไรก็ตาม หากประเทศไทยจะขยายตลาดใน 5 ประเทศดังกล่าว ผู้ส่งออกของไทยและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรเน้นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพสามารถรองรับความต้องการของตลาดดังกล่าวได้ |
. |
2. วิกฤตหนี้สาธารณะของกรีซส่งผลกระทบด้านลบต่อตลาดส่งออกของไทย |
- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า วิกฤตหนี้สาธารณะของกรีซ มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อตลาดส่งออกของไทยโดยมีโอกาสหดตัวลงร้อยละ 0.2-0.4 คิดเป็นมูลค่า 613 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หากปัญหาของกรีซลุกลามไปโปรตุเกสเพียงประเทศเดียว แต่หากสถานการณ์ของกรีซมีความรุนแรงจนลุกลามไปยังสเปน ไอร์แลนด์ และอิตาลี จะส่งผลกระทบตลาดส่งออกไทยให้หดตัวลงร้อยละ 1.2-1.5 คิดเป็นมูลค่า 2,533 ล้านเหรียญสหรัฐฯ |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า ประเทศสมาชิกยูโรและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้อนุมัติเงินกู้ให้แก่กรีซวงเงินกว่า 1.45 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ และตั้งวงเงิน 7.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับทั้งภูมิภาคเพื่อแก้ไขวิกฤตหนี้ที่เกิดขึ้น ดังนั้น จึงคาดว่าในระยะสั้นวิกฤตนี้ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย |
. |
อย่างไรก็ดี หากวิกฤตลุกลามมากกว่านี้ไปถึงประเทศอื่นในกลุ่ม PIIGS อาจส่งผลกระทบต่อไทย เนื่องจากกลุ่มประเทศ PIIGS มีสัดส่วนการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 16.86 ของมูลค่าส่งออกไปยังกลุ่มสหภาพยุโรปทั้งหมด และตลาดในกลุ่มสหภาพยุโรปถือเป็นตลาดส่งออกหลักอันดับ 3 ของไทย คิดเป็นร้อยละ 10.5 ของสัดส่วนการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าทั้งหมด |
. |
นอกจากนี้ การที่ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง ทำให้สินค้าไทยที่ขายในสหภาพยุโรปมีราคาสูงขึ้นและส่งผลให้มีความต้องการลดลงจนอาจทำให้สินค้าไทยขายได้ลดลง |
. |
3. อัตราเงินเฟ้อจีนเพิ่มขึ้น แต่เศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี |
- สำนักข่าว Reuters เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของจีนในเดือน เม.ย. 2553 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 18 เดือน และอัตราการปล่อยสินเชื่อเพิ่มสูงขึ้น โดยดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน เม.ย. 2553 ขยายตัวร้อยละ 2.8 ต่อปี ทั้งนี้ การปล่อยสินเชื่อยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง |
. |
โดยในเดือน มี.ค. 53 ปริมาณสินเชื่อที่ปล่อยกู้อยู่ที่ระดับ 774 พันล้านเยน สูงกว่าประมาณการที่คาดไว้ที่ระดับ 570 พันล้านเยน อย่างไรก็ตาม ดัชนีเศรษฐกิจจีนบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจีนยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งและยังไม่มีสัญญาณของความร้อนแรงของเศรษฐกิจ |
. |
- สศค.วิเคราะห์ว่า อัตราเงินเฟ้อของเศรษฐกิจจีนในเดือน เม.ย. 53 ปรับตัวสูงขึ้น มาจากเศรษฐกิจจีนที่ขยายตัวได้ดี ดังจะเห็นได้จากผลการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial output) ในเดือน เม.ย. 53 ที่ขยายตัวร้อยละ 17.8 ต่อปี จึงทำให้รัฐบาลจีนออกมาตรการชะลอเศรษฐกิจ ผ่านการขึ้นอัตราสำรองเงินของธนาคารพาณิชย์ (Reserve Requirement) ที่ร้อยละ 15.5 เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 53 |
. |
ทั้งนี้ ความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจจีนจะส่งผลดีต่อส่งออกของไทย โดยจีนเป็นประเทศคู่ค้าอันดับสองของไทย คิดเป็นร้อยละ 10.6 ของปริมาณการส่งออกสินค้าทั้งหมดในปี 2552 สศค. คาดว่าเศรษฐกิจจีนในปี 2553 จะขยายตัวร้อยละ 9.5 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.7 ต่อปี |