เนื้อหาวันที่ : 2010-05-11 16:54:36 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 767 views

บีเอสเอ เผยการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนพีซีในไทยลดลง

กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ ร่วมกับไอดีซี เปิดเผยผลการศึกษาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ทั่วโลก พบอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์บนเครื่องพีซีในประเทศไทยลดลง

กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ ร่วมกับไอดีซี เปิดเผยผลการศึกษาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ทั่วโลก พบอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์บนเครื่องพีซีในประเทศไทยลดลง

.

.

วันนี้กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ หรือ บีเอสเอ องค์กรตัวแทนของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์โลกร่วมกับไอดีซี บริษัทวิจัยตลาดชั้นนำ ประกาศผลการศึกษาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ทั่วโลกประจำปีครั้งที่ 7 ที่ติดตามความเคลื่อนไหวของอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก

.

ผลการศึกษาระบุว่า จากปีพ.ศ. 2551 ถึง 2552 อัตราการติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือเครื่องพีซีในประเทศไทยลดลง 1 จุด มาอยู่ที่ร้อยละ 75 การลดลงดังกล่าวดูเหมือนจะส่งสัญญาณยืนยันแนวโน้มที่ดีว่าอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์กำลังลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549

.

ถึงแม้จะมีการถดถอยตัวลงของเศษฐกิจโลก แต่อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนเครื่องพีซีกลับเดินสวนทางกับเศรษฐกิจโลก กล่าวคือมีอัตราที่ลดลงในหลายประเทศ ผลการศึกษาดังกล่าวของบีเอสเอ/ไอดีซี พบว่าอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ลดลงใน 54 ประเทศ และเพิ่มขึ้นใน 19 ประเทศเท่านั้น

.

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษายังพบด้วยว่า เนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วและการเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดซอฟต์แวร์โดยรวมของจีน อินเดีย และบราซิล ซึ่งเป็นประเทศที่พบว่ามีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์สูง ทำให้อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์    ทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 41 ไปอยู่ที่ร้อยละ 43

.

“ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ความพยายามลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยนั้นประสบความสำเร็จ แต่ยังคงสูงกว่าอัตราในระดับภูมิภาคและระดับโลก อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ร้อยละ 75 นั้นยังสูงกว่าอัตราที่จำเป็นสำหรับการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาวของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย” นางสาววารุณี  รัชตพัฒนากุล ที่ปรึกษาและตัวแทนของบีเอสเอประจำประเทศไทยกล่าว

.

“ในช่วงเวลานี้ที่เรากำลังฟื้นตัวจากภาวะการถดถอยของเศรษฐกิจโลกที่รุนแรงที่สุดในรอบยี่สิบปี พร้อมๆ ไปกับการที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังได้รับความเสียหายโดยปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง เราจำเป็นต้องเดินหน้าต่อไปเพื่อทำงานร่วมกับภาครัฐ องค์กรธุรกิจ ตลอดจนผู้บริโภค เพื่อลดความเสี่ยงในการทำผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ และสื่อสารให้เข้าใจถึงผลกระทบที่แท้จริงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่มีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย” 

.

ไอดีซีพบว่า สำหรับทุกๆ 100 ดอลลาร์ ที่ได้จาการขายซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องในปีพ.ศ. 2552 ที่ผ่านมานั้น อีก 75 ดอลลาร์จะหายไปกับการการซื้อซอฟต์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบมากกว่าเรื่องของรายได้ อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนเครื่องพีซีที่ลดลงสามารถสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญหลายประการ

.

การศึกษาของบีเอสเอ/ไอดีซีในปีพ.ศ. 2551 ที่มุ่งไปที่ผลกระทบจากการละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีต่อเศรษฐกิจพบว่า หากประเทศไทยลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ลงได้ 10 จุด ภายใน 4 ปี จะทำให้เกิดการจ้างงานใหม่มากกว่า 2,000 ตำแหน่ง และสร้างรายได้มากกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้กับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ

.

ไอดีซียังประมาณการณ์ว่าทุกๆ 1 ดอลลาร์ที่ได้จากการขายซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง ทำให้เกิดรายได้อีก 3-4 ดอลลาร์ แก่บริษัทผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์และผู้ให้บริการต่างๆ ภายในประเทศด้วย 

.

นอกจากนี้ การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ยังทำให้ผู้บริโภคมีความเสี่ยงในเรื่องของความปลอดภัยของข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ เนื่องจากบ่อยครั้งที่พบว่าซอฟต์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์มีภัยคุกคามที่เรียกว่ามัลแวร์ฝังตัวอยู่ด้วย

.

การต่อสู้กับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ยังคงเป็นความจำเป็นเร่งด่วน กรมทรัพย์สินทางปัญญาและ       กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์     ได้ดำเนินการเพื่อลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่อง กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ให้ความรู้แก่ภาคธุรกิจถึงความจำเป็นที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายลิขสิทธิ์

.

ในขณะที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจยังคงดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่องกับบริษัทต่างๆ ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในทุกภาคส่วนของประเทศ

.

ในไตรมาศแรกของปีพ.ศ. 2553 กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจได้เข้าปราบปรามการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในองค์กรธุรกิจ คิดเป็นมูลค่าซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์กว่า 56 ล้านบาทนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 เป็นต้นมา อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยได้ลดลงมาแล้วห้าจุด มาอยู่ที่ร้อยละ 75 ในปัจจุบัน

.

“ปัจจุบันเศรษฐกิจของโลกพึ่งพิงอยู่กับภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้มแข็งมากกว่าในยุคใดที่ผ่านมา นโยบายที่ส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ๆ ในวันนี้ รวมถึงการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเช่นลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อย่างจริงจังจะกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและนำความรุ่งเรืองมาสู่ประเทศในอนาคต” มร.เจฟฟรีย์  ฮาร์ดีย์ รองประธานและผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียของบีเอสเอกล่าว

.

“แม้ว่าเราจะยินดีที่ความพยายามในการต่อสู้กับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ของบีเอสเอนั้นประสบผลสำเร็จและคืบหน้าไปอย่างต่อเนื่องด้วยดี แต่           ผลการศึกษาทำให้เราจำเป็นต้องดำเนินกิจกรรมต่อไปอย่างต่อเนื่องและเข้มข้นมากขึ้นในอนาคต”

.

“นอกจากนี้ บทเรียนสำคัญอีกบทหนึ่งที่เราได้รับจากวิกฤตการเงินโลกในครั้งนี้คือ ความสำคัญของการสร้างภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ของประเทศให้เกิดขึ้น และต้องสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบต้านทานของอุตสาหกรรมและลดการพึ่งพิงต่างประเทศ

.

ในขณะที่รัฐบาลของประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ได้ใช้นโยบายด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญอย่างเช่นภาคการผลิต ให้กลับมายืนอยู่ได้อีกครั้ง แต่ปัญหาใหญ่ที่กำลังค่อยๆ ทำลายภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยนีสารสนเทศ (ไอที) ของประเทศยังคงไม่ได้รับการแก้ไข” มร. ฮาร์ดีย์ เสริม

.

“ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ ตัวแทนจำหน่าย และร้านค้าในท้องถิ่นเหล่านี้ ต่างช่วยให้เกิดการจ้างงานใหม่ กระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ สร้างรายได้ในรูปของภาษีจ่ายให้แก่รัฐ ทั้งยังสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติ แต่บริษัทซอฟต์แวร์ท้องถิ่นเหล่านี้กำลังประสบปัญหาหนัก เพราะถูกซอฟต์แวร์เถื่อนราคาถูกแย่งตลาดไปหมด ยังไม่นับรวมที่ผลิตภัณฑ์ของตนเองถูกละเมิดลิขสิทธิ์อีกด้วย”

.
ผลการศึกษายังพบว่า

• อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนเครื่องพีซีลดลงในประเทศต่างๆ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 49 ของประเทศที่ทำการศึกษาทั้งหมด อย่างไรก็ดี อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์เฉลี่ยทั่วโลกกลับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 41 ในปีพ.ศ. 2551 เป็นร้อยละ 43 ในปีพ.ศ. 2552 ทั้งนี้เนื่องมาจากจำนวนซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งบนเครื่องพีซีในตลาดเกิดใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

.

• มูลค่าของซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 51,400 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 3 จากปีพ.ศ. 2551
• สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และลักเซมเบิร์ก ยังคงรั้งอันดับประเทศที่มีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ต่ำที่สุด        (คิดเป็นร้อยละ 20  ร้อยละ 21 และร้อยละ 21 ตามลำดับ)

.

• ประเทศที่มีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์สูงที่สุด คือ จอร์เจีย  ซิมบับเว และโมลโดวา (ทั้งหมดมีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สูงกว่าร้อยละ 90 )

.

• ปัจจัยที่ส่งผลให้อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ลดลง คือ การที่ร้านค้าจำหน่ายเฉพาะซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง โครงการรณรงค์ให้ความรู้ของภาครัฐและภาคเอกชน การปราบปรามและการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการเข้ามามีส่วนของเทคโนโลยี เช่น การใช้เทคโนโลยีเพื่อบริหารจัดการสิทธิดิจิดอล (Digital Rights Management - DRM) และการบริหารจัดการสินทรัพย์ประเภทซอฟต์แวร์ (Software Asset Management – SAM) มากขึ้น

.

• ปัจจัยที่ส่งผลให้อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้นคือ การเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดเครื่องพีซีสำหรับผู้บริโภค การขยายขอบเขตการใช้งานคอมพิวเตอร์เก่าซึ่งมักพบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ติดตั้งอยู่มากกว่า ตลอดจนความซับซ้อนที่เพิ่มมากขึ้นในรูปแบบของการละเมิดลิขสิทธิ์และอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

.

การศึกษาของบีเอสเอ/ไอดีซีประจำปีพ.ศ. 2552 ครั้งนี้ ครอบคลุมการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปทั้งหมดที่ใช้งานบนเครื่องพีซี รวมถึงเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเดสท็อป (Desktops)  เครื่องคอมพิวเตอร์แบบแล็บท็อป (Laptops)  เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา ตลอดจนเน็ตบุ๊ค การศึกษายังครอบคลุมการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่เป็นระบบปฏิบัติการ  

.

ซอฟต์แวร์ที่เป็นระบบการทำงาน เช่น ที่ใช้เป็นฐานข้อมูล ที่ใช้เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล และซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นต่างๆ ทั้งที่เป็นซอฟต์แวร์ฟรีที่ถูกต้องตามกฎหมาย และซอฟต์แวร์แบบโอเพ่นซอร์ส

.

อย่างไรก็ตาม การศึกษาครั้งนี้ไม่ครอบคลุมซอฟต์แวร์ที่ใช้งานบนเซิร์ฟเวอร์ หรือเมนเฟรม ไอดีซีใช้สถิติจากการคำนวณการหมุนเวียนของจำนวนซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ และให้นักวิเคราะห์ของไอดีซีในกว่า 60 ประเทศตรวจสอบสภาวะตลาดในแต่ละประเทศ และคิดคำนวณอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก

.
สามารถอ่านผลการศึกษาฉบับเต็มได้ที่ http://www.bsa.org/globalstudy
.
เกี่ยวกับบีเอสเอ

กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (www.bsa.org) มีสมาชิกที่ประกอบด้วยผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ใช้ในกิจการอีคอมเมิร์ส  สมาชิกบีเอสเอรวมถึง อโดบี, อจิเล้นท์ เทคโนโลยีส์, อัลเตียม, แอปเปิ้ล, อควาโฟล, เออาร์เอ็ม, อาร์ฟิค เทคโนโลยี,      ออโต้เดสค์, ออโต้ฟอร์ม, อวีวา,  เบนลี่ ซิสเต็มส์, ซีเอ็นซี ซอฟต์แวร์/มาสเตอร์แคม, คอเรล, 

.

แดสเซิลท์   ซิสเต็มส์ โซลิดเวิร์คส์      คอร์ปอเรชั่น,  เอ็มบาร์คาเดโร, ฟรอนท์ไลน์ พีซีบี โซลูชั่นส์ (ในเครือออร์โบเท็ค วาเลอร์ คัมปานี), ไมโครซอฟท์, มินิแท็บ,            เน็ดกราฟฟิกส์, พาราเมตตริกซ์ เทคโนโลยี  คอร์ปอเรชั่น, โปรเกรส, เควสท์ ซอฟต์แวร์, สเกลเอเบิล ซอฟต์แวร์, ซีเมนส์, ไซเบส,    ไซแมนเทค, เทคล่า, ไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพร์ส  และ เดอะ แมธเวิร์กส์

.
เกี่ยวกับไอดีซี

อินเตอร์เนชั่นแนล ดาต้า คอร์ปอเรชั่น (ไอดีซี) เป็นผู้ให้บริการข้อมูลตลาดระดับคุณภาพชั้นนำของโลก รวมทั้งบริการที่ปรึกษา และการจัดงานต่างๆสำหรับภาคธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม และตลาดเทคโนโลยีผู้บริโภค ไอดีซีช่วยให้มืออาชีพด้านไอที ผู้บริหารธุรกิจ และแวดวงการลงทุนมีข้อเท็จจริงประกอบการตัดสินใจซื้อเทคโนโลยี และกลยุทธ์ทางธุรกิจ

.

นักวิเคราะห์ของไอดีซีกว่า 1,000 คน ใน 110 ประเทศ ให้บริการความเชี่ยวชาญในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น ทางด้านเทคโนโลยี โอกาส และแนวโน้มทางธุรกิจ ไอดีซีมีประสบการณ์กว่า 46 ปีในการให้ข้อมูลเชิงกลยุทธ์แบบเจาะลึก เพื่อช่วยให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายหลักทางธุรกิจ    ไอดีซีเป็นบริษัทในเครือไอดีจี ผู้นำระดับโลกในทางด้านสื่อเทคโนโลยี การวิจัย และการจัดงานต่างๆ ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.idc.com