1. ส่งออกไทยทิ้งยุโรป กลัว 'โลกตื่นตูม' |
- หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำภาคพื้นเอเชียของธนาคารยูบีเอสในฮ่องกงเชื่อว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในยุโรปโดยเฉพาะกรีซจะไม่ส่งผลกระทบต่อเอเชียโดยตรง เว้นเสียแต่ว่ารัฐบาลกรีซจะประสบปัญหาไม่สามารถชำระหนี้ตามกำหนดได้จริงๆ ขณะที่ปัญหาที่อาจลุกลามจากกรีซสู่ประเทศอื่นๆ ในยุโรปมีความเป็นไปได้ที่จะส่งผลกระทบต่อปริมาณการค้าของสหภาพยุโรป (อียู) ที่มีกับประเทศในเอเชีย เพราะนับตั้งแต่ต้นปีมา ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเป็นอย่างมาก ทำให้ไทยต้องเฝ้าจับตาสถานการณ์ในยุโรปอย่างใกล้ชิด |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า วิกฤติเศรษฐกิจของกรีซที่เริ่มขยายวงทั้งในแนวตั้ง กล่าวคือกลายเป็นวิกฤตทางสังคมที่เริ่มมีการใช้ความรุนแรง และในแนวนอน กล่าวคืออาจลุกลามไปยังเศรษฐกิจอื่นๆของยุโรป ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกและนำเข้าของไทยไม่มาก เนื่องจากประเทศไทยมีการค้ากับกรีซเป็นมูลค่าที่ต่ำ และไทยเกินดุลการค้ามาตลอด อย่างไรก็ตาม วิกฤตที่เริ่มส่งผลต่อค่าเงินยูโรอาจส่งผลต่อการส่งออกของไทย |
. |
เนื่องจากสหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าอันดับ 3 ของไทย มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 10.5 ของมูลค่าการส่งออกรวมในปี 52 ค่าเงินยูโรที่อ่อนลงอาจทำให้ไทยส่งออกไปยังยุโรปลดลง อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกของไทยมีการตั้งรับ โดยมีการค้ากับตลาดใหม่และประเทศในภูมิภาคมากขึ้น โดยเฉพาะจีนและอาเซียน 5 ผลกระทบที่มีต่อไทยจึงคาดว่าอาจจะไม่รุนแรงมาก |
. |
2. บอร์ดบีโอไอเผยวิกฤตการขาดแคลนแรงงานส่งผลชัดเจนต่ออุตสาหกรรมของไทย |
- บอร์ดบีโอไอเผย สถานการณ์ปัจจุบันค่อนข้างชัดเจนแล้วในเรื่องการขาดแคลนแรงงาน ส่งผลให้ผู้ประกอบการที่ดำเนินการอยู่ แม้จะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน แต่ไม่สามารถหาแรงงานได้ และมีโอกาสสูงที่จะขยายการลงทุนไปยังประเทศอื่น จึงเห็นว่าในระยะสั้นนี้ ควรผ่อนผันให้ผู้ได้รับการส่งเสริมสามารถใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือได้ เนื่องจากปัจจุบันที่มีการแย่งชิงแรงงานที่มีการขาดแคลนมากขึ้นของภาคอุตสาหกรรม |
. |
โดยเสนอค่าจ้างรวมค่าล่วงเวลามากขึ้นเพื่อเป็นการจูงใจแรงงาน พร้อมสวัสดิการต่างๆ ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่มีการขาดแคลนแรงงานจำนวนมาก ได้แก่ การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ อาหารและเครื่องดื่ม สิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า ขณะเดียวกันข้อเสนอใช้แรงงานต่างด้าวดังกล่าว ยังไม่ได้ข้อยุติ ซึ่งประธานบอร์ดบีโอไอ (นายกรัฐมนตรี) มอบหมายให้ บีโอไอกลับไปหารือกับผู้ประกอบการแต่ละรายถึงความจำเป็นในการใช้แรงงานต่างด้าว |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า ปัญหาการขาดแคลนแรงงานของไทย โดยเฉพาะแรงงานกึ่งฝีมือ เริ่มรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะเป็นข้อจำกัดที่สำคัญที่ทำให้การลงทุนของไทยไม่สามารถขยายกำลังการผลิตได้มากเท่าที่ควร ทั้งนี้ ปัจจุบันแรงงานไทยไม่ต้องการทำงานในบางสาขาอุตสาหกรรม เนื่องจากค่าตอบแทนต่ำ และสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดี |
. |
ประกอบกับอุปทานของแรงงานไม่สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม ดังนั้นแนวทางในการแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ได้แก่ การพิจารณาเพิ่มค่าจ้างให้จูงใจ การพัฒนาสิ่งแวดล้อมในการทำงาน และการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่ผ่อนแรงมากขึ้น ส่วนในระยะยาวภาครัฐควรกำหนดทิศทางอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงให้แรงงานไทยอย่างชัดเจน |
. |
3. เปิดเสรีอาฟต้า ยอดค้าชายแดน 3 เดือนทะลุ 1.9 แสนล้านบาท |
- รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยว่า นับจากความตกลงเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ปรับลดภาษีระหว่างอาเซียนลงเป็น 0% ในสินค้า 8,300 รายการ เมื่อวันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา คงเหลือเพียงสินค้าอ่อนไหว ซึ่งตลาดอาเซียนถือเป็นตลาดหลักของไทย คิดเป็นสัดส่วน 20% จากการส่งออกทั้งหมด ส่งผลให้การค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ ได้แก่ |
. |
มาเลเซีย พม่า ลาว และกัมพูชาในช่วง 3 เดือนแรกปี 53 ซึ่งมีมูลค่า 1.96 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 37.3 จากช่วงเดียว กันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการค้า 1.43 แสนล้านบาท โดยเป็นการค้ากับมาเลเซียสูงสุดอันดับหนึ่ง 1.23 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 63 ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าหมายเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างไทย-อาเซียน โดยเฉพาะในส่วนของการค้าชายแดนเป็น 1 ล้านล้านบาท ได้ภายใน 3 ปี |
. |
- สศค.วิเคราะห์ว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าในไตรมาส 1 ปี 53 ของประเทศไทยขยายตัวในอัตราที่สูงถึงร้อยละ 31.6 ต่อปี จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวที่ร้อยละ 11.9 ต่อปี เมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้วพบว่า ในไตรมาส 1 ปี 53 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 9.9 ต่อไตรมาส จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวที่ร้อยละ 11.7 ต่อไตรมาส ทั้งนี้ ประเทศมาเลเซียเป็นประเทศคู่ค้าหลักสำคัญของไทยอันดับที่ 9 โดยคิดเป็นสัดส่วนที่ร้อยละ 5.0 ของการส่งออกรวมปี 52 |
. |
โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในไตรมาส 1 ปี 53 ของประเทศไทยไปมาเลเซียขยายตัวในอัตราที่ร้อยละ 72.2 ต่อปีจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวที่ร้อยละ 20.5 ต่อปี ซึ่งมาจากการส่งออก ยางพารา เครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ เป็นหลัก ทั้งนี้ สศค. คาดว่า มูลค่าการส่งออกในปี 53 ของไทยจะขยายตัวที่ร้อยละ 15.5 ต่อปี (ช่วงการคาดการณ์ที่ 14.5 – 16.5 ต่อปี) คาดการณ์ ณ มี.ค. 53 |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |