สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ขอเชิญชวนชาวไทยทั่วประเทศชมปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวศุกร์ ในวันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม 2553 นี้
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) |
. |
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ขอเชิญชวนชาวไทยทั่วประเทศชมปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวศุกร์ (Lunar occultation of Venus) ในวันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม 2553 นี้ |
. |
ปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวศุกร์เกิดจากการเรียงตัวกันของดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และโลก ที่เคลื่อนที่มาอยู่ในระนาบเดียวกัน ซึ่งตรงกับวันขึ้น 2 ค่ำ ดวงจันทร์จะปรากฏอยู่ในกลุ่มดาววัว สูงจากขอบฟ้าทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 37 องศา ดาวศุกร์จะเริ่มสัมผัสดวงจันทร์ในเวลาประมาณ 18:11 น. |
. |
โดยจะสังเกตเห็นดาวศุกร์ค่อยๆ ลับหายไปด้านหลังของดวงจันทร์ และดาวศุกร์จะเริ่มพ้นออกมาจากดวงจันทร์ในเวลาประมาณ 19:24 น. สูงจากขอบฟ้าทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 22 องศา (คำนวณจากจังหวัดเชียงใหม่) ซึ่งการสังเกตในแต่ละพื้นที่ ช่วงเวลาของการบังจะเริ่มและสิ้นสุดจะไม่เท่ากัน (ดูรายละเอียดในตารางที่ 1) |
. |
การสังเกตปรากฏการณ์ในครั้งนี้ในบางพื้นที่อาจจะไม่สามารถสังเกตการณ์ได้ในระยะเวลาของการเกิดสัมผัสแรกเนื่องจากในช่วงเวลาที่เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวดวงอาทิตย์ยังไม่ตกลับขอบฟ้าจึงยังมีแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ทำให้สังเกตยากเล็กน้อย |
. |
แต่อย่างไรก็ตามยังสามารถติดตามชมปรากฏการณ์นี้ในช่วงที่ดาวศุกร์เคลื่อนตัวออกจากดวงจันทร์ได้ในช่วงเวลาต่อมา ในบางพื้นที่อาจมีเมฆบังและฝนตก โดยปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวศุกร์นี้สามารถสังเกตเห็นได้ทั่วประเทศไทยและอีกหลายประเทศในทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป และแอฟริกาเหนือ |
. |
. |
ภาพแสดงขนาดดาวศุกร์ที่กำลังออกจากดวงจันทร์ |
. |
ตารางเวลาการเกิดปรากฏการณ์ในประเทศไทย |
. |
ข้อแนะนำ |
ควรใช้อุปกรณ์ช่วยในการสังเกตการณ์จะทำให้สามารถสังเกตปรากฏการณ์ได้ดียิ่งขึ้น อุปกรณ์ที่ช่วยในการสังเกต เช่น กล้องสองตา และกล้องโทรทรรศน์ ทุกขนาด |
. |
การเกิดปรากฏการ์ดวงจันทร์บังดาวศุกร์ครั้งต่อไป |
ถ้าหากท่านได้ที่พลาดการชมปรากฏการ์ดวงจันทร์บังดาวศุกร์ครั้งนี้ แล้วต้องรอชมในปีหน้าถึงจะเกิดปรากฏการณ์การ์ดวงจันทร์บังดาวศุกร์อีกครั้ง |
ตารางนี้คำนวณไว้ล่วงหน้า 30 ปี (พ.ศ. 2553-2583) |
. |
แหล่งอ้างอิง 1. คำนวณจากโปรแกรม Occult 4 2. รูปภาพจำลองการเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวศุกร์จากโปรแกรม Stellarium |
. |
โดย กรกมล ศรีบุญเรือง เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) |
. |
http://www.narit.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=553&Itemid= |
. |
ท่านสามารถติดตามข่าวสารอื่นๆ ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติเพิ่มเติมได้ที่ www.narit.or.th |