สถานการณ์ทางการเมืองเดินหน้าเข้าสู่ความตึงเครียด ในขณะที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจก็เดินหน้าสู่การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ตามเศรษฐกิจโลก บวกกับการเร่งใช้จ่ายของรัฐบาล ปัญหาการเมืองจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจด้านใดบ้าง และรุนแรงขนาดไหน
. |
บทสรุปผู้บริหาร |
- สถานการณ์ทางการเมืองเดินหน้าเข้าสู่ความตึงเครียด ในขณะที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจก็เดินหน้าสู่การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ตามเศรษฐกิจโลก บวกกับการเร่งใช้จ่ายของรัฐบาล |
. |
- ปัญหาการเมืองจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจผ่าน 3 ช่องทางสำคัญ ได้แก่ 1) ช่องทางความเชื่อมั่น 2) ช่องทางเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ และ 3) ช่องทางเศรษฐกิจด้านอุปทาน โดยผลกระทบจะเกิดขึ้นทันทีในระดับ กทม. และปริมณฑล (ซึ่งมีสัดส่วนของ GDP ร้อยละ 43.8 ใน GDP) และจะแผ่ขยายเป็นผลกระทบระดับประเทศในที่สุด |
. |
- จากการประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากปัญหาการเมือง พบว่า Real GDP ในกรณีเบา Real GDP จะลดลงร้อยละ -0.2 ต่อปีจากกรณีฐาน ส่วนในกรณีรุนแรง Real GDP จะลดลงร้อยละ -0.5 ต่อปีจากกรณีฐานและในกรณีรุนแรงมาก Real GDP จะลดลงมากถึงร้อยละ -1.8 ต่อปีจากกรณีฐาน |
. |
1. สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ดีขึ้นเป็นลำดับ อาจสะดุดหางได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมือง |
- สถานการณ์ทางการเมืองเดินหน้าเข้าสู่ความตึงเครียด ปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และเริ่มตึงเครียดมากขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เนื่องจากหลายฝ่ายจะถือเอาวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 เป็นตัวชี้วัดว่าการเมืองจะเดินไปทางไหน และผลที่ออกมาดูเหมือนจะนำปัญหาการเมืองไปพันธนาการกับเรื่องเศรษฐกิจเรียบร้อยแล้ว |
. |
ภาพที่ 1 สถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจในปัจจุบัน |
. |
- ในขณะที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจกก็เดินหน้าสู่การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกบวกกับการเร่งใช้จ่ายของรัฐบาล เห็นได้จากเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2552 มูลค่าการส่งออกกลับมาขยายตัวเป็นบวกผลผลิตภาคอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวเป็นบวก จำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง และรัฐบาลเร่งเบิกจ่ายได้ตามเป้า จน GDP ในไตรมาส 4 ปี 2552 พลิกกลับมาขยายตัวเป็นบวกถึงร้อยละ 5.8 ต่อปี สูงกว่าที่ทุกฝ่ายได้คาดการณ์ไว้ |
. |
- Momentum ทางเศรษฐกิจได้ส่งผ่านมายังต้นปี 2553 ด้วย โดยดูได้จาก มูลค่าการส่งออกสินค้า 2 เดือนแรกขยายตัวร้อยละ 26 ต่อปี จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2 เดือนแรกขยายตัวร้อยละ 35 ต่อปี ยอดการจัดเกิดภาษีมูลค่าเพิ่ม 2 เดือนแรกขยายตัวร้อยละ 15.4 ต่อปี ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 2 เดือนแรกขยายตัวร้อยละ 32 ต่อปี |
. |
เนื่องจากรายได้เกษตรกร 2 เดือนแรกขยายตัวร้อยละ 10 ต่อปี ทุกฝ่ายจึงคาดการณ์ว่าหากปัญหาการเมืองไม่รุนแรงยืดเยื้อ เศรษฐกิจจะเดินหน้าต่อไปได้อย่างดี และเป็นเหตุผลให้บริษัท มอร์แกน สแตนเลย์ ปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนตลาดหุ้นไทยใน MSCI |
. |
2. ปัญหาการเมืองจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยผ่าน 3 ช่องทางสำคัญ |
ปัญหาการเมืองจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจผ่าน 3 ช่องทางสำคัญ ได้แก่ 1) ช่องทางความเชื่อมั่น 2) ช่องทางเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ และ 3) ช่องทางเศรษฐกิจด้านอุปทาน โดยผลกระทบจะเกิดขึ้นทันทีในระดับ กทม. และปริมณฑล (ซึ่งมีสัดส่วนของ GDP ร้อยละ 43.8 ใน GDP) และจะแผ่ขยายเป็นผลกระทบระดับประเทศในที่สุด ซึ่งแสดงได้ตามกลไกการส่งผ่านผลกระทบในภาพที่ 2 |
. |
ภาพที่ 2 กลไกการส่งผ่านผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย |
. |
2.1 ผลกระทบผ่านช่องทางความเชื่อมั่นที่อ่อนไหว ถือเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นทันทีชั่วข้ามคืนต่อคนเล่นหุ้น ผู้บริโภค ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม นักลงทุนไทย และหากกระทบรุนแรงจะส่งผ่านไปยังนักลงทุนต่างประเทศให้ชะลอการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศด้วย |
. |
- โดยปกติเมืองเกิดความวุ่นวายทางการเมือง ดัชนีตลาดหุ้นจะลดลง แต่ในกรณีที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย กลับพบว่า ดัชนีตลาดหุ้นกลับขึ้นต่อเนื่องมาแล้ว 3 สัปดาห์ โดยล่าสุดทะลุ 800 จุด สาเหตุหลักมาจากนักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อ เนื่องจากเห็นว่าเศรษฐกิจฟื้นตัว และเป็นสาเหตุให้ค่าเงินบาทแข็งสุดในเกือบ 2 ปี ที่ 32.3 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่นักลงทุนรายย่อยเทขาย เนื่องจากความกังวลเรื่องปัญหาการเมือง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า มีผลต่อการตัดสินใจซื้อขายหุ้น และมีผลต่อค่าเงินบาท |
. |
ภาพที่ 3 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ |
. |
- นอกจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยที่แข็งแกร่งแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติ คือ อัตราผลตอบแทนต่อราคาหุ้น (P/E ratio) ของไทยอยู่ระดับต่ำ โดยของไทยอยู่ที่ 11.4 เท่าในขณะที่มาเลเซียอยู่ที่ 15.7 เท่า ไต้หวันอยู่ที่ 15.2 เท่า สิงคโปร์อยู่ที่ 15.1 เท่า อินโดนีเซียอยู่ที่ 14.1 เท่า ฮ่องกงอยู่ที่ 13.9 เท่า ฟิลิปปินส์อยู่ที่ 12.8 เท่า |
. |
- ในเดือนกุมภาพันธ์ เครื่องชี้นำเศรษฐกิจ 2 ตัว ที่เริ่มสะท้อนผลกระทบของปัญหาการเมืองที่ได้ก่อตัวขึ้นแล้ว คือดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) ลดลงมาอยู่ที่ 70.9 หลังจากที่ปรับตัวขึ้นมาได้ 4 เดือน ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ลดลงมาอยู่ที่ 114.5 หลังจากที่ปรับตัวขึ้นมาได้ 6 เดือน |
. |
ภาพที่ 4 ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรม |
. |
- หากผลของการเมืองกระทบในกรณีรุนแรงจะส่งผ่านไปยังความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศให้ชะลอการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศที่เข้ามายังประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม นักลงทุนต่างชาติยังเชื่อว่าเหตุการณ์ไม่รุนแรงและไม่ย้ายฐานการผลิตไปไหน ยิ่งไปกว่านั้นกองทุนต่างชาติยังสนใจเข้าลงทุนในไทยต่อเนื่อง และมีแนวโน้มว่าจะเป็นห่วงปัญหามาบตาพุดมากกว่ากรณีการเมือง |
. |
- แต่หากเกิดผลกระทบในกรณีรุนแรงมาก จนอาจมีการกระทำการอันเป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ ยึดทำเนียบรัฐบาล หรือมีเหตุให้ยุบสภา จนเป็นอุปสรรคต่อการเบิกจ่ายหรือตั้งงบประมาณรายจ่าย อาจจะเกิดการเทขายหุ้นของนักลงทุน จนตลาดหุ้นตกปริมาณซื้อขายเบาบาง เกิดการชะงักงันของการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรและอาจมีนักลงทุนต่างชาติบางส่วนย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมจะลดลงอย่างมาก |
. |
- อนึ่ง ตัวเลขมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ในช่วง 1-19 มีนาคม 2553 ลดลงมาอยู่ที่ 10,202 ล้านบาท เทียบกับ 1-19 มีนาคม 2552 อาจเป็นผลจากปัญหาการเมืองและปัญหามาบตาพุดผสมกัน |
. |
2.2 ผลกระทบผ่านช่องทางเศรษฐกิจด้านอุปสงค์กินวงกว้างและลึก |
ภาพที่ 5-6-7-8 โครงสร้างเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ |
. |
- ผลกระทบจากการเมืองจะส่งผลทางลบทันทีต่อการบริโภคภาคเอกชนและการท่องเที่ยว ในด้านการบริโภคนั้นสะท้อนได้จากดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เริ่มลดลงแล้ว ปริมาณการชะลอกการจับจ่ายใช้สอยต่อวันต่อคนที่ลดลงจากทั้งการไม่ออกนอกบ้านและการปิดห้างร้านต่าง ๆ ภาษีมูลค่าเพิ่มอาจจัดเก็บได้ลดลงบ้างตามความหนักเบาของสถานการณ์ |
. |
- หากผลของการเมืองกระทบในกรณีรุนแรง ประเภทของการบริโภคที่จะได้รับผลกระทบทันที ได้แก่ การบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม การใช้บริการโรงแรมและภัตตาคาร และการเดินทางสัญจร ซึ่งทั้ง 3 ประเภทนี้ มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 52.3 ของการบริโภคภาคเอกชน และส่งผลกระทบทันทีต่อการตัดสินใจลงทุน |
. |
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนก่อสร้าง ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 35.3 ของการลงทุนรวม แบ่งเป็นการลงทุนภาครัฐและภาคเอกชนในสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของการส่งออกบริการทั้งหมด (ท่องเที่ยว+ขนส่ง+สื่อสาร) หรือประมาณร้อยละ 6.5 ของ GDP โดยล่าสุดมี 37 ประเทศ ที่มีคำเตือนการมาเที่ยวประเทศไทย ซึ่งจะส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ระยะเวลาการพักสั้นลง การใช้จ่ายต่อคนต่อครั้งลดลง |
. |
- แต่หากเกิดผลกระทบในกรณีรุนแรงมาก จนอาจมีการกระทำอันเป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ ยึดทำเนียบรัฐบาล หรือมีเหตุให้ยุบสภา จนเป็นอุปสรรคต่อการเบิกจ่ายหรือตั้งงบประมาณรายจ่าย จะส่งผลกระทบทางลบเพิ่มเติมจากรณีรุนแรงต่อการบริโภคสินค้ากึ่งคงทน |
. |
เช่น น้ำมัน เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน ผลิตภัณฑ์เคมี พลาสติก กระดาษ และการบริโภคสินค้าคงทน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ จะลดลงตามความไม่มั่นใจในเศรษฐกิจ รายได้ และการมีงานทำ และรวมถึงการลงทุนในสาขาที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น การลงทุนผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและรถยนต์ เนื่องจากไม่มั่นใจว่าลงทุนและผลิตแล้ว จะขายได้หรือไม่ |
. |
ที่สำคัญยังกระทบทางลบอย่างมากต่อ 1) การท่องเที่ยว (เพราะการเดินทางมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณร้อยละ 70 ผ่านสนามบินสุวรรณภูมิ) 2) การส่งออกสินค้า (เพราะการส่งออกประมาณร้อยละ 25 ของการส่งออกทั้งหมด ผ่านสนามบินสุวรรณภูมิ) และ 3) การใช้จ่ายภาครัฐ เพราะหากไม่มีสภาหรือรัฐบาลก็มีผลให้การเบิกจ่ายล่าช้ามากขึ้นและทำให้การตั้งงบประมาณรายจ่ายปี 2554 เลื่อนออกไป กรณีนี้จะกระทบเศรษฐกิจอย่างมาก |
. |
- ผลข้างเคียงต่อดุลบริการและส่งผลต่อดุลบัญชีเดินสะพัด ทั้งนี้ ส่วนประกอบของดุลบริการ คือบริการรับและบริการจ่าย ในบริการรับ แบ่งออกเป็นรายได้จากการท่องเที่ยว (สัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของบริกการรับ) ที่เหลือคือรายได้จากการสื่อสารและรายได้จากการขนส่ง เมื่อการเมืองส่งผลให้นักท่องเที่ยวไม่กล้าเดินทางเข้าประเทศไทยหรือเข้ามาแต่อยู่ไม่นานย่อมทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลง |
. |
ภาพที่ 9 ดุลบัญชีเดินสะพัด (ดุลการค้า+ดุลบริการ เงินโอน และบริจาค) |
. |
จากภาพที่ 9 จะเห็นว่า 3 เดือนที่ผ่านมาเราพึ่งพาการเกินดุลบริการมาก โดยเฉพาะในส่วนของรายได้จากการท่องเที่ยว สิ่งที่กังวลในระยะต่อจากนี้ไป คือดุลบริการอาจไม่ใช่ตัวช่วยให้เกินดุลบัญชีเดินสะพัดแล้วและยิ่งกังวลในระยะต่อจากนี้ไป คือดุลบริการอาจไม่ใช่ตัวช่วยให้เกินดุลบัญชีเดินสะพัดแล้ว และยิ่งกังวลมากขึ้นหากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเร่งให้มีการนำเข้าสูงขึ้น ซึ่งมีผลให้ดุลกาค้าเกินดุลลดลงหรืออาจขาดดุลได้ ดังนั้น ทั้งดุลการค้าและดุลบริการจะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน |
. |
- ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดอาจไม่ลดลง หากผลของเศรษฐกิจที่ชะลอลง ไปส่งผลให้ความต้องการภายในประเทศลดลง ทำให้การนำเข้าสินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบ และสินค้าอุปโภคบริโภคลดลง ในขณะที่การส่งออกสินค้าไม่ได้รับผลกระทบ |
. |
2.3 ผลกระทบผ่านช่องทางเศรษฐกิจด้านอุปทานกินวงกว้างทั้งระดับประเทศและกทม. และปริมณฑล |
. |
ภาพที่ 10-11 โครงสร้างเศรษฐกิจด้านอุปทาน |
. |
- ผลกระทบจากการเมืองจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจด้านอุปทานในวงกว้างเกือบทุกสาขาการผลิต ยกเว้นภาคเกษตรกรรม ซึ่งการวิเคราะห์ผลกระทบด้านอุปทานนี้ สามารถวิเคราะห์ได้ 2 ระดับ คือ ระดับประเทศและระดับ กทม. และปริมณฑล |
. |
- หากผลของการเมืองกระทบในกรณีรุนแรง จะส่งผลทางลบทันทีต่อการค้าส่งค้าปลีก โรงแรมและภัตตาคาร ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และการเงิน ซึ่งทั้ง 5 สาขาเศรษฐกิจมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 27.4 ของ GDP สะท้อนให้เห็นบ้างแล้วจาก ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค การชะลอการจับจ่าย การไม่เดินทางสัญจรไปไหน และจะส่งผลบ้างต่อการจ้างงานในสาขาเศรษฐกิจดังกล่าว ที่จะกระทบรุนแรงและเห็นชัดที่สุดในระดับ Micro คือ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ ธุรกิจการจัดประชุมสัมมนา หรือ MICE เป็นต้น |
. |
- แต่หากเกิดผลกระทบในกรณีรุนแรงมากจนอาจมีการกระทำการอันเป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ ยึดทำเนียบรัฐบาล หรือมีเหตุให้ยุบสภา จนเป็นอุปสรรคต่อการเบิกจ่ายหรือตั้งงบประมาณรายจ่าย นอกจากกระทบในวงกว้างแล้ว ยังกระทบทางลบเพิ่มเติมจากกรณีรุนแรงอย่างมากต่อ 1) ภาคคมนาคม ขนส่ง สื่อสาร (เพราะหากปิดสนามบินจะกระทบต่อการขนส่งทางอากาศ) |
. |
ตารางที่ 1 สาขากการคมนาคม ขนส่ง สื่อสาร |
. |
2) ภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากปัญหาการเมืองทำให้การผลิตหยุดชะงัก ระบบ Logistic เป็นอัมพาต การขนส่งสินค้าให้ถึงมือผู้ซื้อทั้งภายในประเทศและต่างประเทศมีโอกาสล่าช้า ย่อมส่งผลให้การสั่งผลิตสินค้าลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอุรสาหกรรมที่ส่งออกทางอากาศเป็นหลัก ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนประกอบยานยนต์ และ 3) การบริหารภาครัฐ เพราะหากไม่มีสภาหรือรัฐบาลก็มีผลต่อการบริหารราชการแผ่นดิน กรณีนี้จะกระทบเศรษฐกิจอย่างมาก |
. |
- ผลกระทบจากการเมืองจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจใน กทม. และปริมณฑล อย่างมากเพราะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศ มีสัดส่วน GPP สูงร้อยละ 43.8 ใน GDP โครงสร้างเศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลนั้นประกอบด้วยสาขาเศรษฐกิจหลัก คือ |
. |
- ภาคอุตสาหกรรม มีสัดส่วนร้อยละ 42.2 ของ GDP (เฉพาะ กทม. สัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 21.8 ของ GPP) และหากเทียบกับภูมิภาคจะมีขนาดเล็กกว่าอยู่เล็กน้อย ทั้งที่มีพื้นที่ไม่มากนัก สะท้อนการกระตัวของภาคอุตสาหกรรม |
. |
- ภาคโรงแรมและภัตตาคาร มีสัดส่วนร้อยละ 5.6 ของ GPP (เฉพาะ กทม. สัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 9.0 ของ GPP) และหากเทียบกับภูมิภาคจะมีขนาดใหญ่กว่าถึง 1 เท่าตัว สะท้อนความเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของประเทศ |
. |
- ภาคการเงิน มีสัดส่วนร้อยละ 5.3 ของ GPP (เฉพาะ กทม. สัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 8.0 ของ GPP) และหากเทียบกับภูมิภาคจะมีขนาดใหญ่กว่าเกือบ 1 เท่าตัว สะท้อนความเป็นศูนย์กลางการเงินของประเทศ |
. |
ภาพที่ 12 โครงสร้างเศรษฐกิจด้านอุปทานของ กทม. และปริมณฑล |
. |
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบขนาดของสาขาเศรษฐกิจระหว่าง กทม. และปริมณฑล กับภูมิภาค |
. |
ภาพที่ 13 มูลค่าของ GPP สาขาเศรษฐกิจต่าง ๆ เฉพาะของ กทม. และภูมิภาค |
. |
- หากผลของการเมืองกระทบในกรณีรุนแรง จะส่งผลทางลบทันทีต่อการค้าส่งค้าปลีก โรงแรมและภัตตาคาร ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และการเงิน ซึ่งทั้ง 5 สาขาเศรษฐกิจมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 32.8 ของ GPP |
. |
- แต่หากเกิดผลกระทบในกรณีรุนแรงมาก จนอาจมีการกระทำอันเป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ ยึดทำเนียบรัฐบาล หรือมีเหตุให้ยุบสภา จนเป็นอุปสรรคต่อการเบิกจ่ายหรือตั้งงบประมาณรายจ่าย นอกจากจะกระทบในวงกว้างแล้ว ยังกระทบทางลบอย่างมากต่อ 1) ภาคคมนาคม ขนส่ง สื่อสาร (เพราะสนามบินสุวรรณภูมิอยู่ในเขตปริมณฑลจะกระทบทางลบอย่างมากต่อเศรษฐกิจ จ.สมุทรปราการ) |
. |
2) ภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากปัญหาการเมืองทำให้การผลิตหยุดชะงัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอุตสาหกรรมที่อยู่ในเขตปริมณฑล ได้แก่ สิ่งทอ อาหาร เครื่องดื่ม อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และ 3) การบริหารภาครัฐ |
. |
3. การประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากการเมือง พบว่า Real GDP จะลดลงจากกรณีฐานร้อยละ -0.2 ถึง -1.8 ต่อปี |
3.1 เงื่อนไขในการตั้งสมมติฐาน ขึ้นอยู่กับมิติของระดับความรุนแรงและระยะเวลาของปัญหา โดยสมมติเป็น 3 กรณีได้ดังนี้ |
- กรณีเบา หมายถึง ชุมนุมประท้วงไม่มีความรุนแรงถึงขั้นรัฐบาลต้องประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หรือสลายการชุมนุม และการชุมนุมจะสิ้นสุดลงภายในไตรมาส 2 (เม.ย. – มิ.ย.) |
. |
- กรณีรุนแรง หมายถึง ชุมนุมประท้วงมีความรุนแรงถึงขั้นที่รัฐบาลต้องประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หรือสลายการชุมนุม มีการยึดสถานที่ราชการ และการชุมนุมไปสิ้นสุดภายในไตรมาสที่ 3 (ก.ค. – ก.ย.) |
. |
- กรณีรุนแรงมาก หมายถึง ชุมนุมประท้วงมีความรุนแรงถึงขั้นที่รัฐบาลต้องประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หรือสลายการชุมนุม มีการยึดสถานที่ราชการ มีการกระทำที่อาจเป็นอุปสรรคต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น การค้าระหว่างประเทศ การเบิกจ่ายหรือการตั้งงบประมาณรายจ่าย และการชุมนุมยืดเยื้อไปถึงไตรมาส 4 (ต.ค. – ธ.ค.) |
. |
3.2 การตั้งสมมติฐานเพื่อการประมาณการเศรษฐกิจ จะเริ่มจากการพิจารณาความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับการท่องเที่ยว การบริโภค การลงทุน การส่งออก และการใช้จ่ายภาครัฐ โดยสมมติเป็น 3 กรณีได้ดังนี้ |
. |
- กรณีเบา สมมติโดย 1) จำนวนนักท่องเที่ยว กระทบผ่านจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงประมาณ 10% หรือลดลง 3.68 แสนคนในไตรมาส 2 และกลับเป็นปกติที่ 1.26 ล้านคน และ 1.56 ล้านคนในไตรมาส 3 และ 4 ตามลำดับ รายได้ท่องเที่ยวหายไป 5,000 ล้านบาท และ 2) การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 2 ลดลงโดยคำนวณจากคน กทม. 6.8 ล้านคน x จำนวนเงินที่ใช้จ่ายลดลงต่อวันต่อคนประมาณ 50 บาท x จำนวนวันในไตรมาส 2 ประมาณ 90 วัน = 30,600 ล้านบาท |
. |
ภาพที่ 14 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในกรณีฐาน |
. |
ภาพที่ 15 ผลกระทบจากการเมืองในกรณีต่าง ๆ |
. |
ตารางที่ 3 ผลต่างของจำนวนนักท่องเที่ยวในแต่ละกรณี และการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับปี 2552 |
สศค.ประมาณการเป้าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติไว้ที่ 16.8 ล้านคน (ททท. ประมาณการไว้ที่ 15.5 – 16.0 ล้านคน) |
. |
- กรณีรุนแรง สมมติโดย 1) จำนวนนักท่องเที่ยว กระทบผ่านจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงประมาณ 20% หรือลดลง 7.36 แสนคน และ 7.56 แสนคน และ 2.34 แสนคน ในไตรมาส 2 3 และ 4 ตามลำดับ รายได้ท่องเที่ยวหายไป 20,800 ล้านบาท |
. |
2) การบิรโภคภาคเอกชนในไตรมาส 2 และ 3 ลดลงโดยคำนวณจากคน กทม. 6.8 ล้านคน x จำนวนเงินที่ใช้จ่ายลดลงต่อวันต่อคนประมาณ 50 บาท x จำนวนวันในไตรมาส 2 และ 3 ประมาณ 180 วัน = 61,200 ล้านบาท และ 3) การลงทุนภาคเอกชนในไตรมาส 2 และ 3 หายไปไตรมาสละ 5% ของการลงทุนเอกชนในไตรมาส 2+3 ในยามปกติ คิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 45,500 ล้านบาท |
. |
- กรณีรุนแรงมาก สมมติโดย 1) จำนวนนักท่องเที่ยว กระทบผ่านจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงประมาณ 30% หรือลดลง 1.1 ล้านคน และ 1.13 ล้านคน และ 0.94 ล้านคน ในไตรมาส 2 3 และ 4 ตามลำดับ รายได้จากการท่องเที่ยวหายไป 44,300 ล้านบาท |
. |
2) การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 2 3 และ 4 ลดลงโดยคำนวณจากคน กทม. 6.8 ล้านคน x จำนวนเงินที่ใช้จ่ายลดลงต่อวันต่อคนประมาณ 50 บาท x จำนวนวันในไตรมาส 2 3 และ 4 ประมาณ 270 วัน = 91,800 ล้านบาท และ 3) การลงทุนภาคเอกชนในไตรมาส 2 3 และ 4 หายไปไตรมาสละ 5% ของการลงทุนเอกชนในไตรมาส 2+3+4 ในยามปกติ คิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 68,200 ล้านบาท |
. |
4) การส่งออกสินค้าจะถูกกระทบครั้งเดียวในเดือนเดียวของไตรมาส 2 ให้หายไปร้อยละ 25 ของมูลค่าส่งออกสินค้า คิดเป็นเม็ดเงินสูญเสียประมาณ 115,000 ล้านบาท (เพราะการส่งออกผ่านสนามบินสุวรรณภูมิคิดเป็น 25% ของการส่งออกทั้งหมด และในไตรมาส 3 ถือเป็น High season ของการส่งออกสินค้า จึงไม่มีทางที่รัฐบาลจะปล่อยให้ปิดสนามบินนานเกิน 1 เดือน) และ |
. |
5) การใช้จ่ายของรัฐบาล หากมีการยุบสภา ไม่มีฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่มีรัฐบาล จะเป็นอุปสรรคต่อการเบิกจ่ายงบลงทุนในงบประมาณประจำปี 2553 และเงินในแผนไทยเข้มแข็ง ที่สำคัญอาจทำให้การตั้งงบประมาณรายจ่ายของปีงบประมาณ 2554 จะล่าช้าออกไป คิดเป็นเม็ดเงินที่เบิกจ่ายล่าช้าประมาณ 41,000 ล้านบาท |
. |
3.3 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากการเมือง พบว่า Real GPD จะลดลงจากกรณีฐานร้อยละ -0.2 ถึง -1.8 ต่อปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสถานการณ์และระยะเวลาของการชุมนุม โดยสมมติเป็น 3 กรณีได้ดังนี้ |
. |
ภาพที่ 16 ผลกการประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากปัญหาการเมืองในกรณีต่าง ๆ |
. |
- กรณีเบา อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจะลดลงร้อยละ -0.2 ต่อปี จากกรณีฐาน โดยกระทบผ่านปริมาณและมูลค่าการส่งออกบริการ (ท่องเที่ยว) ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง และผ่านการบริโภคภาคเอกชนที่ชะลอลงตามการลดการออกไปจับจ่ายใช้สอย ทั้งนี้เหตุการณ์จะกลับเป็นปกติในครึ่งปีหลัง |
. |
- กรณีรุนแรง อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจะลดลงร้อยละ -0.5 ต่อปีจากกรณีฐาน โดยกระทบผ่านปริมาณและมูลค่าการส่งออกบริการ (ท่องเที่ยว) ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงถึง 2 ไตรมาส และผ่านการบริโภคภาคเอกชนที่ชะลอลงตามการลดการออกไปจับจ่ายใช้สอย รวมทั้งการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอการตัดสินใจลงทุนออกไปจนกว่าเหตุการณ์จะกลับเป็นปกติในไตรมาสสุดท้ายของปี |
. |
- กรณีรุนแรงมาก อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจะลดลงร้อยละ -1.8 ต่อปีจากกรณีฐาน โดยกระทบผ่านปริมาณและมูลค่าการส่งออกบริการ (ท่องเที่ยว) ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงถึงสิ้นปี และผ่านการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอออกไปถึงสิ้นปี นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบจากการดำเนินการที่เป็นอุปสรรคกับการส่งออกสินค้าและการใช้เงินงบประมาณของภาครัฐ แต่อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจยังคงพลิกกลับเป็นบวกได้ เมื่อเทียบกับปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ -2.3 ต่อปี |
. |
ตารางที่ 4 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจในปี 2553 จากปัญหาการเมืองใน 3 กรณี |
. |
หมายเหตุ : ประเมิน ณ วันที่ 18 มีนาคม 2553 |
กรณีฐาน เป็นกรณีที่กระทรวงการคลังใช้แถลงข่าวประมาณการเศรษฐกิจปี 2553 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2553 |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |