กรมส่งเสริมการส่งออก ชี้ผู้ส่งออกจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการและควบคุมการปฏิบัติงานภายในองค์กรทั้งระบบ ตั้งเป้าปีนี้ผู้ประกอบการลดต้นทุนโลจิสติกส์ไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท
กรมส่งเสริมการส่งออก ชี้ผู้ส่งออกจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการและควบคุมการปฏิบัติงานภายในองค์กรทั้งระบบ ตั้งเป้าปีนี้ผู้ประกอบการลดต้นทุนโลจิสติกส์ไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท |
. |
. |
นางมาลี โชคล้ำเลิศ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยภายหลังการเปิดสัมมนา “การลดต้นทุนโลจิสติกส์สำหรับผู้ส่งออก” ว่า ผู้ส่งออกจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการและควบคุมการปฏิบัติงานภายในองค์กรทั้งระบบอย่างจริงจัง เพื่อให้สามารถบริหารต้นทุนการส่งออกได้อย่างยั่งยืน |
. |
ซึ่งในปี 2553 กรมฯตั้งเป้าให้ผู้ประกอบการลดต้นทุนโลจิสติกส์ได้ไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท จาก 40 บริษัทที่เข้าร่วมโครงการ โดยปี 2552 เป็นปีแรกที่เปิดนำรองผู้เข้าร่วมโครงการลดต้นทุนโลจิสติกส์ 15 ราย สามารถปรับลดค่าใช้จ่ายโลจิสติกส์คิดเป็นมูลค่ากว่า 370 ล้านบาท |
. |
“หวังว่า ผู้ส่งออกที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้การบริหารจัดการไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินธุรกิจของตนเอง เพื่อปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพ สามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ภายในองค์กรได้และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าซึ่งในทุก 3 เดือนจะจัดต่อเนื่องเพื่อให้ทุกธุรกิจบรรลุเป้าหมายในการลดต้นทุนให้มากที่สุด”นางมาลี กล่าวและว่า |
. |
ในครั้งนี้มีกิจการด้านเกษตรแปรรูปและอุตสาหกรรม อาทิ อาหาร เสื้อผ้า ยานยนต์ เฟอร์นิเจอร์ ที่มีชื่อเสียง เช่น ผลิตภัณฑ์ดอยคำ , ง่วนเชียง, น้ำพริกเผาตราแม่ประนอม , ขาวละออเภสัช เป็นต้น |
. |
นายประพจน์ วชิรกุลพิศาล ผู้จัดการคลังสินค้าและส่งมอบ บริษัท บางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง จำกัด ผู้ผลิต“ข้าวหงษ์ทอง”ที่มีกำลังการผลิตกว่า 25,000 ตันข้าวเปลือกต่อเดือน กล่าวว่า ผลของการเข้าโครงการในรุ่นที่ 1 บริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ 30 ล้านบาทในปี 2552 และปีนี้ตั้งเป้าจะลดค่าใช้จ่ายได้กว่า 50 ล้านบาท โดยเน้นไปที่การบริหารสต็อกข้าวของกิจการให้เหลือเก็บเพียง 100 ล้านตันต่อปีเท่านั้น จากเดิมที่บริษัทฯซื้อข้าวเก็บสต็อกกว่า 30,000 ตันต่อปี โดยส่งพนักงานไปดูแลที่โรงสี-หยงที่ทำสัญญาไว้ 30-40 แห่งทั่วประเทศ |
. |
“ผมเห็นว่า โครงการนี้ได้ให้ประโยชน์กับผู้ประกอบการ จึงอยากเชิญชวนให้มาเวิร์คช็อป ซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ให้คำแนะนำ บริหารจัดการคลังสินค้า การสต็อกสินค้า การขนส่ง |
. |
บริหารกระบวนการโลจิสติกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่การจัดซื้อ จนถึงการกระจายสินค้า โดยอาศัยการกำหนดกลยุทธ์และเทคนิคในการบริหารจัดการด้วยความร่วมมือของทุกฝ่ายในองค์กรเป็นต้น ที่สำคัญคือ อาจจะต้องใช้ระยะเวลาหลายเดือนเพื่อการทดลองทำและต้องไม่ปิดบังข้อมูลเพื่อการแก้ไขปัญหาได้ถูกจุด”นายประพจน์ กล่าว |
. |
อนึ่ง ต้นทุนโลจิสติกส์เป็นปัจจัยหลักสำคัญที่แฝงอยู่ในทุกกิจกรรมธุรกิจ จากการคำนวนภาพรวมต้นทุนมีมูลค่ารวมประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 18.6%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) ซึ่งประกอบด้วยต้นทุนค่าขนส่ง 823 พันล้านบาท (9.1%ของจีดีพี) ต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง 705 พันล้านบาท( 7.8%ของจีดีพี)และต้นทุนการบริหารจัดการด้านโลจิสต์กส์ 153 พันล้านบาท(1.7%ของจีดีพี) |
. |
ที่มา : กรมส่งเสริมการส่งออก |