สวทช.เดินหน้าโครงการ iTAP ขยายเวลาความร่วมมือ 2 สถาบันการศึกษาชั้นนำ ช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้ครอบคลุมทั่วประเทศต่อไปอีก 5 ปี หลังเฟสแรกสร้างผลงานโดดเด่น
สวทช.เดินหน้าโครงการ iTAP ขยายเวลาความร่วมมือ 2 สถาบันการศึกษาชั้นนำ มทส. และ มจธ. ช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้ครอบคลุมทั่วประเทศต่อไปอีก 5 ปี หลังเฟสแรกสร้างผลงานเด่นจากการพัฒนาประสิทธิภาพโรงสีข้าวและโรงเลี้ยงไก่จนได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการมากขึ้น ปัจจุบันมีเอกชนเข้าร่วม 3,600 ราย ก่อให้เกิดการลงทุนด้าน R&D ในภาคเอกชนกว่า 382 ล้านบาท |
. |
. |
รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า ตามที่ทาง สวทช.ได้ดำเนินโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) โดยมีภารกิจหลักในการให้บริการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีตั้งแต่ปี2543 โดยอาศัยความร่วมมือจากพันธมิตรทุกภาคส่วน ที่ผ่านมาการดำเนินงานของ iTAP มีเครือข่ายภูมิภาคในการขับเคลื่อน เพื่อให้การให้บริการเอสเอ็มอีได้อย่างทั่วถึง และครอบคลุมทั้งประเทศ |
. |
ล่าสุด ได้มีการขยายระยะเวลาความร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัย 2 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ออกไปอีก 5 ปี หลังใกล้สิ้นสุดสัญญาเดิม โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี( มทส.)ถือเป็นเครือข่าย iTAP แห่งที่ 3 เมื่อปี 2547 และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.)เข้าร่วมเครือข่ายเป็นแห่งที่ 4 เมื่อปี 2548 ตามลำดับ |
. |
สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ คาดว่า จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมด้วยการวิจัย และพัฒนาเพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขันที่ยั่งยืนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปัจจุบัน iTAP มีเครือข่ายในภูมิภาคทั้งสิ้น 9 แห่ง ประกอบด้วย สวทช.เครือข่ายภาคเหนือ , มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์(มวล.) , มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(มทส.), |
. |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(มอ.) , มหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.) , มหาวิทยาลัยมหาสารคาม(มมส.) และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีบุคลากร iTAP ทั้งสิ้น 95 คน โดยมีที่ปรึกษาเทคโนโลยี (Industrial Technology Advisor) หรือที่เรียกว่า ITA จำนวน 52 คน |
. |
ทั้งนี้ในส่วนของแก่นการทำงานของ iTAP มีอยู่ 3 ประการ ได้แก่ การมุ่งเน้นที่ลูกค้า คือ การทำงานของ iTAP จะต้องมีโจทย์ความต้องการจากเอกชนเท่านั้น ทำหน้าที่เป็นผู้ไขปัญหาทางเทคโนโลยีให้แก่เอกชน แก่นที่สอง คือ การให้บริการอย่างเป็นเลิศ คือ การทำงานอย่างเป็นระบบและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า |
. |
แก่นที่สาม คือ เครือข่าย (Networking) เป็นการทำงานจากเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ เครือข่ายหน่วยงานสนับสนุนภาคเอกชน และสมาคมอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งเรียกว่า เป็นการทำงานแบบ PPP (Public Private Parnership) หรือ รัฐร่วมเอกชน ซึ่งเป็นที่มาของความสำเร็จที่เกิดขึ้น |
. |
ศ.ดร.ชัชนาถ เทพธรานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สวทช. กล่าวว่า ที่ผ่านมาการดำเนินงานของ iTAP ก่อให้เกิดการลงทุนวิจัยพัฒนาในภาคเอกชนไปแล้วไม่น้อยกว่า 382 ล้านบาท จนถึงปัจจุบันมีเอกชนสนใจเข้าร่วมโครงการแล้วถึง 3,687 ราย มีโครงการแล้วกว่า 2,400 โครงการ |
. |
โดยในปีงบประมาณที่ผ่านมาเพียง 7 เดือนมีโครงการที่ได้ดำเนินการไปแล้วกว่า 400 โครงการ นับเป็นความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจที่ iTAP ได้รับความสนใจอย่างมากจากเอกชนเข้าร่วมอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จากช่วงแรกปีละ 5-6 โครงการ เป็น 10-20 โครงการ จนมาสู่ปีละนับร้อยโครงการสวนกระแสเศรษฐกิจ |
. |
สำหรับความร่วมมือระหว่างเครือข่ายมทส.และมจธ.ที่ผ่านมานั้น ผอ.TMC กล่าวว่า ในส่วนของเครือข่าย มทส.ที่ให้บริการภาคเอกชนในพื้นที่อีสานตอนล่าง 4 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์และสุรินทร์ เกิดโครงการทั้งสิ้น 86 โครงการ ก่อให้เกิดการลงทุนวิจัยพัฒนาของเอกชน 13 ล้านบาท ส่วนเครือข่าย มจธ. ให้บริการในพื้นที่ภาคตะวันตก 8 จังหวัด เกิดโครงการ 82 โครงการ ก่อให้เกิดการลงทุนวิจัยพัฒนาของเอกชน 44 ล้านบาท โดยผลงานเด่น ๆ อาทิ โครงการการพัฒนาโรงสีข้าว และ โรงเลี้ยงไก่ |
. |
ศ.ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมทส. กล่าวถึงความพร้อมของมหาวิทยาลัยว่า จากโครงสร้างทางกายภาพที่ได้เปรียบทั้งเทคโนธานี และคณาจารย์อีกกว่า 350 คนที่พร้อมเป็นผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาได้ ซึ่งในจำนวนนี้กว่า 80% เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก |
. |
ประกอบกับมีโครงการ ดร.32 อำเภอรองรับ จึงมีความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับโครงการ iTAP ในฐานะเครือข่ายภาคอีสานตอนล่าง แก้ปัญหาและพัฒนาเทคโนโลยีให้กับเอสเอ็มอีได้อย่างเต็มที่ สนับสนุนผู้ประกอบการที่ต้องการผลิตผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ และมีการลงทุนค่อนข้างสูง ทางมหาวิทยาลัยพร้อมที่จะเป็นภาคีพันธมิตรให้กับสถานประกอบการ ซึ่งถือเป็นเป้าหมายของมหาวิทยาลัย |
. |
“ประเทศไทย เป็นประเทศอุตสาหกรรมเกษตร เรื่องของเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในอนาคต โดยเฉพาะการสนับสนุนให้ภาคเอกชนหันมาสนใจการทำ R&D มากขึ้นเพราะจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับธุรกิจออกไปแข่งขันกับต่างประเทศได้ |
. |
การขยายความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี และเชื่อว่าอัตราการขยายตัวของโครงการจะเพิ่มขึ้นอีกอย่างแน่นอน จากการทำงานร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย คือ iTAP เอกชน และนักวิชาการ ภายใต้โจทย์ของผู้ประกอบการและท้องถิ่น” สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นให้การสนับสนุนสำหรับพื้นที่ภาคอีสาน ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตร , แปรรูป , ปศุสัตว์ , ไอที ฯลฯ |