ก.อุตสาหกรรมต่อยอดการพัฒนาความร่วมมือภายใต้กรอบ GMS เดินหน้าศึกษาศักยภาพทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของไทยตามเส้นทาง Eastern- Sub corridor
ก.อุตสาหกรรมต่อยอดการพัฒนาความร่วมมือภายใต้กรอบ GMS เดินหน้าศึกษาศักยภาพทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของไทยตามเส้นทาง Eastern- Sub corridor |
. |
. |
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อพัฒนาความได้เปรียบในเชิงเปรียบเทียบทางด้านทรัพยากร แรงงานและวัตถุดิบในประเทศเพื่อนบ้านมาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศบนพื้นฐานของการพัฒนาที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน |
. |
ในการนี้ สำนักงานฯ จึงได้ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์และจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมกับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากกรอบ ACMECS และกรอบ GMS ตามแนวพัฒนาเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor : NSEC)ซึ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมในเส้นทางเชื่อมโยงไทย-สปป.ลาว-สหภาพพม่า และจีนตอนใต้ (มณฑลยูนนาน) |
. |
ล่าสุดในปีงบประมาณ 2552 สำนักงานฯ ได้ศึกษาต่อยอดการพัฒนาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมภายใต้กรอบ GMS โดยเน้นเส้นทาง Eastern-Sub Corridor ซึ่งเชื่อมระหว่างมณฑลกวางสีทางตะวันตกของจีนและเมืองฮานอยในเวียดนาม และกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้ (Pan-Beibu Gulf Economic Cooperation : PBG) หรืออ่าวตังเกี๋ยในภาษาเวียดนาม |
. |
ซึ่งเป็นความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคล่าสุดที่ริเริ่มโดยรัฐบาลกวางสีของจีนเพื่อร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่รายรอบอ่าวดังกล่าวในบริเวณทะเลจีนใต้ ได้แก่ เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และบรูไน 7 |
. |
โดยรัฐบาลกลางของจีนได้ยกระดับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้ขึ้นเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับชาติและในเดือนสิงหาคม 2009 ประเทศไทยได้เข้าร่วมกลุ่ม PBG เป็นสมาชิกในอาเซียนลำดับที่ |
. |
วัตถุประสงค์ของโครงการ คือ เพื่อศึกษาและจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้กรอบ GMS ในเส้นทาง Eastern- Sub corridor และกรอบ PBG โดยการศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของไทย เวียดนาม และจีน (กวางสี) โดยใช้แนววิเคราะห์ Interconnecting Diamond ซึ่งปรับประยุกต์จาก Diamond Model ของ Michael E. Porter |
. |
รวมทั้งศึกษา สำรวจและวิเคราะห์อุตสาหกรรมสำคัญของทั้ง 3 พื้นที่ศึกษา เพื่อกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายในสาขาหลักและสาขาย่อย ทั้งนี้ โดยนำแนวคิดการวิเคราะห์ “โซ่คุณค่า” (Value Chain Analysis) มาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ ซึ่งผลการคัดกรองอุตสาหกรรมเป้าหมายใน 5 กลุ่ม ได้แก่ อุตสาหกรรมเพื่อการบริโภค อุตสาหกรรมเพื่อการอุปโภค อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมเบา และอุตสาหกรรมหนัก |
. |
ผลปรากฎว่า อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของ 5 กลุ่ม เรียงตามลำดับ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูป โดยกรณีศึกษานี้ไทยควรออกไปลงทุนในเวียดนาม โดยมีตลาดเป้าหมาย คือ ตลาดจีนตะวันตกซึ่งเป็นพื้นที่ Land Lock รวมทั้งตลาดหลักอื่น ๆ ของโลก เช่น ญี่ปุ่น และยุโรป อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ควรมีการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางแปรรูปขั้นสูงเพื่อการส่งออก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ยางจาก |
. |
น้ำยางข้น เช่น ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย ใกล้แหล่งปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น หนองคาย โดยมีตลาดเป้าหมาย คือ จีน สำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลัง ควรส่งเสริมให้มีการลงทุนในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพแปรรูปจากมันสำปะหลังในไทย โดยมีตลาดในมณฑลกวางสี โดยเฉพาะในนครหนานหนิงซึ่งมีนโยบายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยการส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ |
. |
ในส่วนของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า และอุตสาหกรรมรถยนต์ ผู้ประกอบการไทยยังไม่ควรออกไปลงทุนในเวียดนามและจีนในพื้นที่ศึกษาในขณะนี้ เนื่องจากยังไม่มีความได้เปรียบในด้านวัตถุดิบและค่าแรงงานโดยเฉพาะในเวียดนามที่ผู้ประกอบการต้องแบกภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการแรงงานที่สูงกว่าในไทย |
. |
นอกจากนี้ ในส่วนของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ไทยยังไม่มีความสามารถในการแข่งขันเชิงเปรียบเทียบเมื่อเทียบกับผู้ประกอบการต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในเวียดนาม โดยเฉพาะเกาหลีใต้ และอินเดีย |
. |
ทั้งนี้ ในส่วนของอุตสาหกรรมรถยนต์ควรสนับสนุนการเข้ามาลงทุนของผู้ผลิตรถยนต์จากจีนในไทย เนื่องจากอุตสาหกรรมรถยนต์ในจีน |
. |
สำหรับประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมในเส้นทาง Eastern Sub-corridor ภายใต้กรอบ GMS จากการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงทางภูมิศาสตร์และการไหลเวียนของวัตถุดิบและสินค้าในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า การพัฒนาความเข้มแข็งและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยจะต้องดำเนินการในสองด้านควบคู่กันไป คือ |
. |
การเพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูป/การผลิต และการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งสินค้าผ่านเส้นทางใน สปป.ลาว และเวียดนามไปยังชายแดนจีนที่เมืองผิงเสียงสู่นครหนานหนิงในกวางสีเพื่อกระจายสินค้าต่อไปยังมณฑลอื่น ๆ ของจีน |
. |
สำหรับยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้กรอบ PBG มีแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญ อาทิ เช่น ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ/ภาคเหนือเพื่อป้อนตลาดจีน การจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการลงทุนในนครหนานหนิงและฮานอย จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การย้ายฐานการผลิตอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีความได้เปรียบเชิงห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) ไปในประเทศเพื่อนบ้าน |
. |
การรวมกลุ่มพันธมิตรของอุตสาหกรรมเป้าหมายในระบบโซ่คุณค่า การพัฒนาแรงงานอุตสาหกรรมในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือท่าเรือคู่แฝดระหว่างท่าเรือไทยกับท่าเรือฝางเฉิง ท่าเรือชินโจวในกวางสีและท่าเรือไฮฟองในเวียดนาม เป็นต้น |
. |
ทั้งนี้ ในการแปลงยุทธศาสตร์ดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมจะได้นำเสนอคณะกรรมการกำกับดูแลงานด้านต่างประเทศของกระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาให้ความเห็นชอบและมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวตามภารกิจของหน่วยงานต่อไป |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม |