1. สถาบันอาหารคาดแนวโน้มส่งออกอาหารไทยไตรมาส 2 ปี 53 ขยายตัว 6.3% |
- ผู้อำนวยการสถาบันอาหารคาดการณ์แนวโน้มการส่งออกอาหารของไทยในไตรมาส 2 ของปี 2553 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน ทำให้การส่งออกอาหารไทยทั้งปี 2553 มีแนวโน้มขยายตัว 10% |
. |
- สศค.วิเคราะห์ว่า ในไตรมาส 1 ปี 53 อุตสาหกรรมอาหารไทยมีการปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อนหน้า โดยอุตสาหกรรมการผลิตอาหารซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.5 ของการผลิตภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี และมีแนวโน้มการผลิตที่สูงขึ้นในไตรมาสถัดไปตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ |
. |
ด้านการส่งออกอาหารซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าเกษตรนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยในไตรมาสที่ผ่านมาการส่งออกสินค้าเกษตรซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.8 ของของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 48.9 ต่อปี และนอกจากนี้การที่ประเทศนำเข้าสินค้าเกษตรรายใหญ่ของโลกอย่างประเทศบราซิล และอินเดียประสบภาวะภัยแล้ง เป็นปัจจัยบวกที่น่าจะทำให้แนวโน้มการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยเร่งขึ้นอีก |
. |
2. ธปท.ปรับเพิ่มการคาดการณ์ GDP ปี 53 เป็น 4.3 – 5.8 ต่อปี |
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับล่าสุด ปรับคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยในปี 2553 เป็น 4.3-5.8% โดยได้รวมผลกระทบจากสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองในขณะนี้ไปแล้ว คาดว่าจะมีผลกระทบต่อจีดีพีราว 0.9% และมีความเป็นไปได้มากที่จีดีพีปีนี้จะเติบโตในช่วง 5.0-5.5% สำหรับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองจะเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปีนี้ ซึ่งจะทำให้จีดีพีในไตรมาส 2 ชะลอตัวลงจากที่จีดีพีในไตรมาส 1 ที่คาดว่าจะขยายตัวอย่างน้อย 8% |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่าการปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจส่วนหนึ่งมาจากการขยายตัวของประเทศคู่ค้าที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยอาจได้รับกระทบจากการเมืองบ้างผ่านจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลง และผ่านการบริโภคภาคเอกชนที่ชะลอลงตามการลดการออกไปจับจ่ายใช้สอย และในกรณีเบา |
. |
หากปัญหาดังกล่าวามารถคลี่คลายได้ในภายในไตรมาสที่ 2 จะส่งผลให้มีการขยายตัวลดลงจากฐานเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.2 อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผลกระทบมีความรุนแรงและหากยึดเยือไปจนถึงไตรมาสที่ 3 จะส่งผลให้ขยายตัวลดลงจากฐานที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี (กรณีฐานขยายตัวร้อยละ 4.5 ต่อปี) |
. |
3. Feb คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามคาดที่ 0-0.25% |
- ธนาคารกลางสหรัฐประกาศคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น อยู่ที่ 0-0.25% จากการประชุมเมื่อวานนี้ (28 เม.ย.) ย้ำจะคงดอกเบี้ยระดับต่ำไปอีกระยะหนึ่ง จากการที่เงินเฟ้อยังคงมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้เฟดยังระบุว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงมีความแข็งแกร่งขึ้นขณะที่ตลาดแรงงานกำลังเริ่มปรับตัวดีขึ้น ส่วนการใช้จ่ายของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนได้ดีดตัวขึ้น แต่ก็ถูกจำกัดจากอัตราว่างงานซึ่งอยู่ในระดับสูง และภาวะสินเชื่อที่ตึงตัว |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มปรับตัวดีขี้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนได้จากดัชนีบ่งชึ้ (Leading Indicators) ด้านอุปสงค์ล่าสุดที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่นดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย. 53 (Consumer Confidence Index) ที่ปรับตัวอยู่ระดับสูงสุดในรอบประมาณ 1 ปี ทั้งนี้แรงกดดันทางด้านอัตราเงินเฟ้อที่ยังมีไม่มากนัก |
. |
จากการที่อัตราเงินเฟ้อล่าสุดเดือนมี.ค. 53 ขยายตัวอยู่ในระดับที่ต่ำที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี ในขณะที่อัตราการว่างงานเดือนมี.ค. 53 ยังคงอยู่ในระดับที่สูงทีร้อยละ 9.7 ของกำลังแรงงานรวม ส่งผลให้ทางสศค.คาดว่า Fed จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับที่ต่ำไว้อีกระยะหนึ่ง |