1. ครม. อนุมัติยกเลิกเสนอร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท หลังรัฐบาลจัดเก็บรายได้เกินเป้า |
- นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แจ้งว่าที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ในการยกเลิกการเสนอร่าง พ.ร.บ. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ จำนวน 4 แสนล้านบาทต่อสภาผู้แทนราษฎร โดยจะไม่ยืนยันร่างกฎหมายดังกล่าวที่ยังคงค้างอยู่ในขั้นตอนวุฒิสภา |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า การยกเลิกเสนอร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว มาจากภาวะเศรษฐกิจไทยที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น ทำให้การจัดเก็บรายได้ภาครัฐบาลดีกว่าประมาณการ โดยการจัดเก็บรายได้สุทธิของรัฐบาลในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 53 จัดเก็บได้กว่า 675.5 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 130.0 พันล้านบาท |
. |
ประกอบกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ทำให้มีความจำเป็นต้องกู้เงินภายใต้ พ.ร.บ. กู้เงิน 4 แสนล้านบาท ลดลง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังมีความจำเป็นที่ต้องการลงทุนในโครงการไทยเข้มแข็งในช่วงปี 54 – 55 ที่มีมูลค่าลงทุนกว่า 733 พันล้านบาทต่อเนื่อง ซึ่งรัฐบาลสามารถกู้ภายใต้เงินงบประมาณประจำปี หรือกู้เงินต่างประเทศได้ |
. |
2. เผยนักท่องเที่ยวเข้าสุวรรณภูมิลด 1 หมื่นคนต่อวัน |
- รมว. การท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า รายงานล่าสุดจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางผ่านสนามบินสุวรรณภูมิลดลงไปวันละประมาณ 1 หมื่นราย จากเดิมที่มีจำนวนนักท่องเที่ยววันละ 3 หมื่นราย มาอยู่มาอยู่ที่ 2.1 หมื่นราย สำหรับแผนการกู้วิกฤตที่เกิดจากผลกระทบ ททท. ได้มีการเสนอ 3 แผนงาน คือ |
. |
1) การประชาสัมพันธ์ 2) การจับมือกับสายการบินบริษัททัวร์รายใหญ่ของต่างประเทศ และ 3) เรื่องการตลาด โดยจะใช้งบประมาณในการทำตลาดทั้งในประเทศ 600 ล้านบาท และงบสำหรับต่างประเทศ 1,450 ล้านบาท |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า ปัญหาการชุมนุมของกลุ่ม นปช. นั้น คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยการเดินทางมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณร้อยละ 70 ผ่านสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งผลกระทบจากการเมืองมีผลที่ชัดเจนขึ้นในเดือนเมษายน 2553 |
. |
สะท้อนได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เข้าทางเข้าประเทศไทยในช่วงระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2553 ถึง 26 เมษายน 2553 หดตัวลงที่ร้อยละ -3.7 ต่อปี ซึ่งส่วนหนึ่งน่าจะเป็นสัญญาณของความเสี่ยงที่จะทำให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศขาดความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ความขัดแย้งด้านการเมือง |
. |
3. ส่งออกจีนมีแนวโน้มชะลอลงในปี 2553 |
- แหล่งข่าว Reuters บ่งชี้ถึงการการค้าระหว่างประเทศของจีนมีแนวโน้มที่ชะลอลงในปี 2553 โดยทางการจีนได้เสนอให้มีการวางมาตรการเพื่อรักษาความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศคู่ค้า และยังคงรักษาค่าเงินหยวนไม่ให้แข็งค่าขึ้น เพื่อรับรองสถานการณ์ดังกล่าว |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า แนวโน้มการส่งออกของจีนที่ชะลอลงในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2553 เป็นผลมาจาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ (1) การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู้ค่าจีนยังมีความเปราะบาง โดย สศค. คาดว่าอัตราการขยายตัวของ GDP สหรัฐฯ ประเทศคู่ค้าหลักจีน จะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.5 ต่อปี ในปี 2553 และอัตราการขยายตัว GDP ของยุโรป จะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.0 ต่อปี ในปี 2553 |
. |
(2) ต้นทุนการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกของจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รายได้จากการส่งออกลดลง ทั้งนี้ ในเดือน มี.ค. 53 จีนขาดดุลการค้า -7.24 พันล้านดอลลาร์ ดังนั้น การคาดการณ์ดังกล่าวจะเป็นผลทำให้รัฐบาลจีนยังคงการดำเนินนโยบายค่าเงินหยวนให้ผูกติดกับเงินสกุลดอลลาร์ต่อไป เพื่อเป็นการสนับสนุนการส่งออกจีน อย่างไรก็ตาม สศค. คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวถึงร้อยละ 9.5 ต่อปีในปี 53 |