บีโอไอระดมสมองกูรูจาก 5 กลุ่มธุรกิจไทยในต่างแดนก่อนเสนอยุทธศาสตร์และมาตรการส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ |
. |
. |
บีโอไอร่วมกับสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์ ฯ จัดสัมมนาใหญ่ระดมความ คิดเห็นการลงทุนไทยในต่างประเทศ เชิญผู้นำภาครัฐและเอกชน และนักวิชาการ จาก 5 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ โลจิสติกส์ สิ่งทอ เกษตร ยานยนต์อิเล็กทรอนิกส์ และอสังหาริมทรัพย์ ก่อนจะนำข้อเสนอแนะไปประกอบการพิจารณาจัดทำยุทธศาสตร์และมาตรการส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศต่อไป |
. |
นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนาระดมความคิดเห็นต่อการลงทุนไทยในต่างประเทศ ในหัวข้อ “การลงทุนไทยในต่างประเทศ: วิกฤต โอกาส และความเป็นไปได้ของนักลงทุนไทย” ซึ่งจัดโดยสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน |
. |
ร่วมกับสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ โรมแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมต้องการส่งเสริมและเผยแพร่โอกาสการลงทุนใหม่ๆ ให้กับนักธุรกิจไทยที่สนใจจะไปลงทุนในต่างประเทศได้รับทราบ |
. |
“ข้อมูลที่ได้รับฟังจากนักธุรกิจไทย จะเป็นข้อมูลสำคัญที่แสดงถึงความต้องการของผู้ประกอบการทั้งที่เข้าไปลงทุนในต่างประเทศแล้ว และกลุ่มที่กำลังหาข้อมูลก่อนเข้าไปทำธุรกิจ เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงอุปสรรค |
. |
รวมทั้งโอกาสที่จะทำให้ธุรกิจไทยสามารถแข่งขันและเติบโต ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรม โดยบีโอไอก็จะนำข้อมูลทั้งหมดมาประกอบการพิจารณากำหนดยุทธศาสตร์ มาตรการส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศต่อไป” เลขาบีโอไอกล่าว |
. |
ทั้งนี้ ในการสัมมนา ได้มีการระดมความเห็นเรื่องปัญหาและอุปสรรค โอกาสในการลงทุน สิ่งที่นักลงทุนคาดหวัง และข้อเสนอแนะ จากผู้ประกอบการชั้นนำใน 5 กลุ่มธุรกิจสำคัญ ได้แก่ 1. การขนส่งหรือโลจิสติกส์ 2. สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง 3.การเกษตร ประมง และอาหาร แปรรูป 4. ชิ้นส่วนยานยนต์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 5. การท่องเที่ยว การบริการและอสังหาริมทรัพย์ |
. |
สำหรับมูลค่าการเข้าไปลงทุนในต่างประเทศสะสมของนักลงทุนไทยระหว่างปี 2523 - 2551 พบว่า มีมูลค่า 10,857 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 4 ของจีดีพี โดยการลงทุนของไทยในสหภาพพม่า มีมูลค่าสูงสุด คือ 7,391.8 ล้านเหรียญสหรัฐ อันดับสองคือ การลงทุนในสาธารณรัฐประชาชนจีนมูลค่า 3,186.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ |
. |
อันดับสาม คือการลงทุนใน สปป. ลาว มูลค่า 1,581.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อันดับสี่ คือ การลงทุนในเวียดนามมูลค่า 1,667 ล้านเหรียญสหรัฐ และลำดับที่ห้า คือ การลงทุนในอินเดียมูลค่า 831 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ |
. |
ด้านมาตรการส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศของบีโอไอในปัจจุบัน บีโอไอได้ให้บริการข้อมูลการและให้คำปรึกษาแนะนำนักธุรกิจไทยที่สนใจจะไปลงทุนในต่างประเทศ และได้จัดตั้งหน่วยงานย่อยหรือ Country Desk ดูแลรับผิดชอบโดยตรง นอกจากนี้ยังมีการจัดสัมมนาการสร้างเครือข่ายภาครัฐและเอกชนแนะนำคู่ค้าและผู้ร่วมลงทุน |
. |
โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2550 – 2552) บีโอไอได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศด้วยการพาคณะนักธุรกิจไทยไปดูลู่ทางการลงทุนในประเทศกัมพูชา พม่า เวียดนาม ลาว จีน ไต้หวัน และอินเดีย รวมจำนวนกว่า 50 ครั้ง |
. |
สำหรับมาตรการส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศของหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ประกอบด้วย มาตรการของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย คือให้บริการข้อมูล การให้สินเชื่อระยะยาว การให้สินเชื่อธุรกิจก่อสร้าง และการรับประกันความเสี่ยง |
. |
มาตรการของกระทรวงการคลัง คือ การเว้นการเก็บภาษีซ้อน กองทุนความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนมาตรการของกระทรวงต่างประเทศคือ การคุ้มครองการลงทุน การอำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำ การช่วยเหลือด้านวิชาการ และมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยคือ ระเบียบควบคุมการแลกเปลี่ยน มาตรการการเคลื่อนย้ายเงินตราต่างประเทศ |
. |
ปัจจุบัน นโยบายส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศถือเป็นยุทธศาสตร์ของบีโอไอ และได้จัดตั้งหน่วยงานย่อยรับผิดชอบดูแลการส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศโดยตรง นอกจากนี้ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศขึ้นมาทำหน้าที่ศึกษาและกำหนดยุทธศาสตร์ พร้อมกับการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งองค์กรถาวรและรับผิดชอบงานส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ |
. |
ที่มา : กระทรวงอุตสาหกรรม |