กฎหมายสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อสวัสดิภาพ และความปลอดภัยของ คนงาน ซึ่งถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดในการทำงาน
เป็นเรื่องธรรมดา ที่ภาคอุตสาหกรรมไทยมีการพัฒนาและขยายตัวอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดทุกปี ซึ่งก็มาจากปัจจัยที่ทำให้ภาคอุตสาหกรรมไทยเกิดการพัฒนา และขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อันได้แก่ เงินทุน การตลาด การบริหารงาน และสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาด นั่นก็คือ คนงานและนี่ก็คือที่มาของเรื่องที่จะขอนำเสนอในฉบับนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท่านผู้ประกอบการไทย ควรรับทราบไว้เกี่ยวกับ ‘กฎหมายสภาพแวดล้อมในการทำงาน’ เพื่อสวัสดิภาพ และความปลอดภัยของ คนงาน ซึ่งถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดในการทำงาน จะเป็นอย่างไรนั้น เราควรมาติดตามอ่านกันต่อไป |
. |
ที่มาของกฎหมายสภาพแวดล้อมในการทำงาน |
เรื่องก็เริ่มต้นมาจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้เริ่มตระหนักถึงภาวการณ์ และสภาพการณ์ในการทำงานของคนงาน ตามโรงงานอุตสาหกรรมทุก ๆ ประเภทของประเทศไทย อย่างเช่น |
- สภาพความร้อน - สภาพแสงสว่าง - ภาวะเสียงดังต่าง ๆ |
. |
ซึ่งอยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานและไม่เหมาะสมต่อสภาพร่างกายของมนุษย์ ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายในขณะที่ต้องปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันก็ตาม ที่หนักที่สุดนั้น หากเกิดการสะสมอยู่ในร่างกายของมนุษย์ด้วยแล้ว ก็สามารถเกิดอันตรายที่ใหญ่หลวงในระยะยาวสำหรับคนงาน ซึ่งก็เป็นมนุษย์เฉกเช่นเดียวกับเรา ๆ ท่าน ๆ นั่นเอง |
. |
และเพื่อเป็นการตระหนัก รวมถึง ควบคุมไม่ให้เกิดโรคภัยจากการทำงานขึ้น สำหรับคนงานที่อยู่ในความดูแลของเราในอนาคตนั้น ทางกรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบกิจการโรงงานเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2546 ขึ้น โดยประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับดังกล่าวนี้ แบ่งออกเป็น 5 หมวด 16 ข้อที่ใช้ในการปฏิบัติแล้ว นั่นก็คือ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบกิจการโรงงานเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2546 |
. |
ข้อที่ 1 |
เป็นคำจำกัดความของคำต่าง ๆ ที่ใช้ในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับนี้ คือ |
. |
หมวดที่ 1 เรื่องความร้อน |
ข้อ 2-4 |
กล่าวว่า การปฏิบัติงานในบริเวณที่มีระดับความร้อนเกินเกณฑ์มาตรฐาน ตลอดจนได้กำหนดมาตรฐานของระดับความร้อน โดยสามารถแบ่งเป็นระดับ ๆ ของงานดังนี้ |
- ระดับงานเบา - ระดับงานปานกลาง - ระดับงานหนัก |
. |
การตรวจวัดนั้น จะวัดเป็นอุณหภูมิ "เวทบัลบ์โกลบ" ซึ่งสามารถวัดอุณหภูมิเป็น "องศาเซลเซียล" สามารถคำนวณค่าได้จาก อุณหภูมิของเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียก (NWB) โกลบเทอร์โมมิเตอร์ (GT) และเทอร์โมมิเตอร์กระเปาะแห้ง (DB) โดยใช้สูตรดังนี้ WBGT = 0.7 NWB + 0.3 GT (ในกรณีที่อยู่ในตัวอาคาร หรือ นอกอาคารที่ไม่มีแสงแดด) WBGT = 0.7 NWB + 0.2 GT + 0.1 DB (ในกรณีที่อยู่นอกอาคารที่มีแสงแดด) ค่าที่สามารถคำนวณได้โดยวิธีนี้นั้น จะมีความแตกต่างจากค่าของอุณหภูมิที่วัดได้จากเทอร์โมมิเตอร์ที่ติดผนังห้องโดยทั่วไป เนื่องมาจากการคำนึงถึง การนำ การพา และการแผ่รังสีความร้อน รวมถึง ความชื้น และความเร็วลมอีกด้วย |
. |
เหล่านี้ จะเป็นอุณหภูมิความร้อนที่แท้จริง ที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้จากความรู้สึกของร่างกาย และมีผลต่อการทำงานในแต่ละวัน ซึ่งองค์กรแรงงานระหว่างประเทศก็ให้การยอมรับ ด้วยวิธีการคำนวณดังกล่าว จึงถือได้ว่า เป็นวิธีการคำนวณระดับมาตรฐานสากลอีกด้วย |
. |
หมวดที่ 2 เรื่องแสงสว่าง |
ข้อ 5-7 |
. |
กล่าวว่า ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภทนั้น ต้องจัดให้มีความเข้มของการส่องสว่างของแสงตามมาตรฐานที่กระทรวง ฯ กำหนด โดยกำหนดให้มีแสงสว่างเพียงพอแก่การทำงานอย่างทั่วถึง และสามารถมองเห็นสิ่งกีดขวางที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายจากการเคลื่อนไหวของเครื่องจักรกล หรืออันตรายจากระบบไฟฟ้า ตลอดจนบันไดที่ใช้ขึ้น-ลง รวมถึงทางออก เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินอย่างชัดเจน โดยมีการจัดแบ่ง ดังนี้ |
. |
- ประเภทงาน ที่ไม่ต้องการความละเอียด - ประเภทงาน ที่มีความละเอียดน้อย - ประเภทงาน ที่มีความละเอียดปานกลาง - ประเภทงาน ที่มีความละเอียดสูง - ประเภทงาน ที่มีความละเอียดสูงมาก - ประเภทงาน ที่มีความละเอียดสูงมาก เป็นพิเศษ |
. |
ซึ่งโดยมาตรฐานแล้ว จะอยู่ในช่วง 20-2,400 ลักซ์ จะมาก หรือน้อยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของงานเป็นหลัก |
. |
หมวดที่ 3 เรื่องเสียง |
ข้อ 8-10 |
กล่าวว่า การปฏิบัติงานในบริเวณที่มีระดับเสียงเกินกว่ามาตรฐาน โดยพร้อมกำหนดมาตรฐานของระดับเสียงกับเวลาการทำงานใน 1 วัน โดยจัดแบ่งเป็น |
- จำนวนชั่วโมงของการทำงาน เป็นหลัก แต่ทั้งนี้ ต้องไม่ให้บุคคลเข้าไปในบริเวณที่มีระดับเสียงดัง เกินกว่า 140 เดซิเบลเอ |
.. |
หมวดที่ 4 เรื่องการตรวจวัด และ วิเคราะห์สภาวะแวดล้อมในการทำงาน |
ข้อ 11-15 |
กล่าวว่า เป็นแนวทางเพื่อการนำไปปฏิบัติ โดยจะกล่าวถึง ดังนี้ คือ |
- ความถี่ - วิธีการ - คุณสมบัติของผู้รับรองรายงานการตรวจวัด |
. |
และ ตลอดจน ประเภทโรงงานที่ต้องทำการตรวจวัด ส่วนทางด้านเสียงและความร้อนนั้น ก็ได้กำหนดจำพวกโรงงานที่ต้องทำการตรวจวัดไว้ท้าย ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับดังกล่าวไว้ด้วย |
. |
หมวดที่ 5 เรื่องเบ็ดเตล็ด |
ข้อ 16 |
กล่าวว่า เป็นการกำหนดให้ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ เมื่อพ้นกำหนด 180 วัน โดยนับจากวันที่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลในการบังคับใช้อย่างจริงจัง ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา |
. |
นี่แหละ ที่ท่านผู้ประกอบการควรต้องรับทราบอย่างจริงจัง ด้วยสาเหตุของ กรมโรงงานอุตสาหกรรมนั้น มีผลบังคับใช้ไปแล้ว จวบจนถึงวันนี้ ที่ทางกรมโรงงานอุตสาหกรรมให้ความสำคัญต่อคนงานทุก ๆ ชีวิต โดยถือคติของการกันไว้ดีกว่าแก้ทีหลัง ใครจะไปทราบได้ว่า อุบัติเหตุและอุบัติภัย หรือแม้กระทั่งความปลอดภัยทางด้านต่าง ๆ ของคนงาน นั้น ซึ่งนั่นก็หมายถึง ชีวิตทุกชีวิตย่อมมีค่า และมีสิทธิในการรักษาร่างกายของเขาเท่า ๆ กับเราทุก ๆ คน สิ่งเหล่านี้ ถือได้ว่า ทางกรมโรงงานอุตสาหกรรม มีความห่วงใยถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติ ของกลุ่มคนงาน ของประเทศไทยอย่างจริงจัง ถ้ามีข้อสงสัยอันใดสามารถหาข้อมูลเหล่านี้ได้จาก www.diw.go.th |
. |
ขอขอบพระคุณ หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมโรงงานอุตสาหกรรม แล้วพบกันใหม่ในฉบับหน้ากับเรื่องดี ๆ จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งถ้ามีข่าวคราวดี ๆ หรือ ประกาศ ฯ ต่าง ๆ จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้เขียนจะรีบเขียนมานำเสนอให้กับท่านผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมไทยได้รับทราบกันอย่างถ้วนหน้าต่อไป |