เมื่อโลกต้องเผชิญกับภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยน้ำมือของมนุษย์ การปลุกจิตสำนึกร่วมกันในการแก้ไขปัญหา จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง
น.ส. ปิญชาน์ ศรีสังข์ |
. |
. |
โลกของเราทุกวันนี้ต้องเผชิญกับภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ ทั้งมลภาวะเป็นพิษในหลากหลายรูปแบบ ก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศเพิ่มปริมาณสูงขึ้นจนก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming) ซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยจะเห็นได้จากก้อนน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกที่ละลายด้วยอัตราที่รวดเร็วและมีความหนาลดลง ทำให้ปริมาณน้ำทะเลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง |
. |
อีกทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่มีจำนวนจำกัดมากขึ้น มีแนวโน้มที่ในอนาคตอันใกล้หลายประเทศทั่วโลกจะประสบภาวะขาดแคลนอาหารและน้ำ ตลอดจนพื้นที่ทำกินที่มีความอุดมสมบุรณ์ก็ลดขนาดลงตามไปด้วย ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมานี้ ล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือมนุษย์ทั้งสิ้น ความตระหนักและมีจิตสำนึกร่วมกันในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง |
. |
ภาคอุตสาหกรรม ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดในฐานะตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาได้มีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะสรรหาแนวคิด วิธีการ รวมทั้งเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อจัดการกับความรุนแรงของปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในขณะเดียวกัน ภาคอุตสาหกรรมซึ่งถือเป็นกลไกหลักที่สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศก็จำเป็นต้องพัฒนาตัวเองให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก |
. |
ดังนั้น “Green Productivity (GP)” จึงเป็นกุญแจดอกหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ นักวิชาการ และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขาอุตสาหกรรม ในการนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้เพื่อผลักดัน “การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน ควบคู่ไปกับการจัดการปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” |
. |
1. ทำความรู้จัก Green Productivity (GP) |
การดำเนินกิจการของสถานประกอบการอตุสาหกรรมในยุคปัจจุบัน จำเป็นต้องคภนึงถึงกระบวนการปรับปรุงในเชิงธุรกิจและการบริหารจัดการ ซึ่งก่อให้เกิดการลดต้นทุนและเพิ่มผลิตภาพเพื่อจะนำไปสู่ผลกำไรสูงสุด |
. |
ในขณะที่ต้องตระหนักถึงปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยลสภาพแวดล้อมในการทำงานของบุคลากรภายในสถานประกอบการ ทั้งนี้ เพื่อปรับตัวให้สอดรับกับความต้องการของลูกค้าและตลาดที่ให้ความสำคัญกับสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental – friendly Product) มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความแตกต่างในเชิงนวัตกรรมและจุดแข็งให้แก่ธุรกิจในเวทีโลกด้วย |
. |
. |
สำหรับนิยามของ GP อ้างอิงจาก “Handbook on Green Productivity” ซึ่งจัดทำโดย Asian Productivity Organization (APO) ได้ให้คำจำกัดความว่า “Green Productivity is … a strategy for enhancing productivity and environmental performance for overall socio-economic development. |
. |
It is the application of appropriate techniques, technologies, and management systems to produce environmentally compatible goods and service. Green Productivity can be applied in manufacturing, service, agriculture, and communities.” |
. |
จึงสามารถสรุปได้ว่า GP เป็น “ยุทธศาสตร์” เพื่อเสริมสร้าง “สมรรถนะด้านการเพิ่มผลิตภาพและด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม” โดยการประยุกต์ใช้อย่างถูกต้องจะส่งผลให้เกิด “การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม” ในองค์รวมให้ดีขึ้นควบคู่กันไป และช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact) ที่เกิดจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในองค์กร ตลอดจนจากการผลิตสินค้าและบริการ |
. |
นอกจากนี้ GP ยังเป็นเครื่องมือที่ประกอบไปด้วยเทคนิค เทคโนโลยี และระบบบริหารจัดการต่าง ๆ ที่เหมาะสมในการสรรค์สร้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกภาคส่วน ทั้งภาคอุตสาหกรรม บริการ เกษตรกรรม และชุมชนต่าง ๆ |
. |
ทั้งนี้ การดำเนินงานตามแนวทาง GP ให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายจำเป็นต้องอาศัยบุคลากรซึ่งมีวิสัยทัศน์เปิดรับการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความจำเป็นในการปรับตัวให้ก้าวทันต่อสภาวการณ์ รวมทั้งการดำเนินการตามแนวทาง GP เป็นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) เพื่อให้ผลลัพธ์ที่เกิดจากการดำเนินการคงอยู่กับองค์กรอย่างยั่งยืนที่สุด |
. |
การพัฒนาตามแนวทาง GP จำเป็นต้องมีความตระหนังถึงความสำคัญของ “การพึ่งพาอาศัยกันของระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (Interdependency of Economic, Social, and Environment Systems)” โดยมีจุดเน้นใน 3 ประเด็น ที่เรียกว่า GP’s Triple Focus ได้แก่ |
. |
- สิ่งแวดล้อม (Environment) ที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน |
. |
- คุณภาพ (Quality) ผ่านเสียงสะท้อนจากลูกค้าทั้งต่อสินค้าและบริการโดยไม่เพียงแต่รับฟังความคิดเห็นของลูกค้าเท่านั้น แต่ทำความเข้าใจสาเหตุและที่มาของความเชื่อ/ความคิดเหล่านั้น และหาแนวทางที่จะพัฒนาสินค้าและบริการให้เกินกว่าความคาดหมายของลูกค้า โดย Oscar Wilde เคยกล่าวไว้ว่า “Don’t give the people what they want; give them what they never have thought possible.” |
. |
. |
GP เป็นการใช้ประโยชนการจัดการคุณภาพโดยสนับสนุนการใช้วัตถุดิบที่ใหม่และปลอดภัยกว่า เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการและการผลิตรวมทั้งปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน การพัฒนาตามแนวทาง GP ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจทั้งในเรื่องสมรรถนะในการปฏิบัติงานที่สูงขึ้นและการเพิ่มมูลค่าโดยใช้ทรัพยากรน้อยลง ทั้งลดการใช้พลังงานและลดปริมาณของเสีย ดังแนวคิดที่ว่า ผลิตภาพเกิดจาก “การทำให้ดีขึ้นโดยใช้ให้น้อยลง” (Doing Better with Less) |
. |
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง GP ส่งผลให้การใช้ทรัพยากร/วัตถุดิบต่าง ๆ และพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดการลดต้นทุนโดยตรงให้กับธุรกิจควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า GP เป็น Win-Win situation ระหว่างเศรษฐกิต สังคม และสิ่งแวดล้อมซึ่งสามารถเห็นภาพได้อย่างชัดเจน |
. |
. |
2. 4 คุณลักษณะงานตามแนวทาง GP (4 Distinguishing Characteristics of GP) |
การดำเนินการตามแนวทาง GP แบ่งคุณลักษณะของการทำงานออกเป็น 4 หมวด (Criteria) ได้แก่ |
. |
2.1 หลักการพื้นฐานการมีส่วนร่วมของ “คน” (Integrated People-based Approach) จุดแข็งหนึ่งของ GP คือ การมุ่งเน้นหลักการมีส่วนร่วมของคนในองค์กรและการทำงานร่วมกันเป็นทีม (Worker Involvement and Team-based Approach) ทั้งสภาพแวดล้อมในการทำงาน สุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน |
. |
การไม่แยกแยะความแตกต่าง/ปราศจากชั้นวรรณะในองค์กร (Non-discrimination) และสวัสดิการสังคมต่าง ๆ ที่ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ย่อมสร้างความเชื่อมั่นระหว่างคนในองค์กรและระบบบริหารจัดการ และผลักดันให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของคนทั้งองค์กรในการดำเนินการตามแนวทง GP |
. |
2.2 การปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลิตภาพ (Productivity Improvement) เป็นการปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) ผ่านกระบวนการทำงานโดยใช้หลักการ KAIZEN1 หรือดำเนินการอยู่ในวัฏจักรของ PDCA (Plan, Do, Check, and Act) มุ่งเน้นไปที่การนำไปสู่เป้าหมายในการเพิ่มผลิตภาพ แต่อย่างไรก็ตาม GP มีความแตกต่างที่มุ่งเน้นจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย |
. |
2.3 การปรับปรุงด้วยการขับเคลื่อนของข้อมูล (Information-drive Improvement) การจัดการเอกสารหลักฐานการดำเนินงาน (Documentation) และการรายงานผล (Reporting) เป็นส่วนหนึ่งของระบบการบริหารจัดการที่ก่อให้เกิดผลทั้งในเชิงคุณภาพและสิ่งแวดล้อม |
. |
โดยมีแนวคิดที่ว่า “What gets measured gets done” “อะไรก็ตามที่มีการวัดผล สิ่งนั้นจะสำเร็จ” ซึ่งเป็นแรงผลักดันหนึ่งของความสำเร็จในการดำเนินการตามแนวทาง GP เนื่องจากกระบวนการทำงานของ GP สมรรถนะขององค์กรจะมีการวัดและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ตัวชีวัดการปฏิบัติงานตามแนวทง GP (GP Performance Indicators) ที่ได้กำหนดไว้ในช่วงเริ่มต้นการดำเนินงาน |
. |
เอกสารหลักฐานการดำเนินงาน อาจประกอบด้วยบันทึก/รายงานการประชุม รายงานการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ผลการสำรวจเกี่ยวกับลูกค้า รายงานสรุปความคืบหน้าการดำเนินงานของทีมดำเนินการ ระดับความสำเร็จในการบรรลุผลตามตัวชี้วัด รวมทั้งส่วนที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญมากขึ้น โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ การเก็บเอกสารมากเกินไป จะทำให้สิ้นเปลืองทรัพยกร เสียเวลา และเสียเงิน ส่วนการเก็บเอกสารน้อยเกินไป อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาด ข้อบกพร่อง/เสียหาย และความล้มเหลวได้ |
. |
. |
2.4 ความสอดคล้องกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Compliance) ปัจจุบันมีกฎระเบียบข้อบังคับเรื่องการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในหลากหลายประเด็น ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นท้าทายที่ภาคอุตสาหกรรมต้องเผชิญและต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับกฎระเบียบข้อบังคับดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งการดำเนินการตามแนวทาง GP เป็นอีกหนึ่งทางออกที่ช่วยจัดการกับประเด็นท้าทายนี้ได้ ในขณะที่ผลิตภาพเพิ่มขึ้นพร้อม ๆ กันไปด้วย อีกทั้งเป็นการสนับสนุนการปลูกจิตสำนึกภายในองค์กรให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคม (social Responsibility) มากยิ่งขึ้น |
. |
3. เข้าใจหลักการ ยุทธศาสตร์ และกรอบแนวทาง GP (Principles and Framework of GP) |
การดำเนินการตามแนวทาง GP ให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์การบูรณาการ (Integrated Strategy) การทำงานภายใต้หลักการ 2 ด้าน คือ หลักการด้านนิเวศวิทยา และหลักการด้านผลิตภาพ โดยการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริง ต้องเลือกและปรับใช้ให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงขององค์กร จึงจะสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนในการพัฒนาระหว่างทั้งสองด้านไปพร้อม ๆ กันได้อย่างสมดุล |
. |
. |
3.1 หลักการด้านนิเวศวิทยา (Ecological Principles) มุ่งเน้นไปที่ 3 แนวคิดหลัก ได้แก่ |
- ภาระความรับผิดชอบ (Accountability) ของธุรกิจต่อกลุ่มคนทั้งระบบ ไม่เฉพาะเจาะจงแต่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเท่านั้น ซึ่งมีหลายธุรกิจที่มีการนำหลักการนี้ไปใช้ในทางปฏิบัติ เช่น โครงการ Voluntary Used Product “Take Back”, Responsible Care ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ทางการตลาด และเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคตลอดตนผู้ออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง |
. |
- การเก็บภาษี/เสียค่าใช้จ่ายของผู้ก่อมลพิษ (Polluter Pays) ซึ่งเป็นความรับผิดชอบต่อต้นทุนค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการ/เก็บกวาดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Clean-up) ที่เกิดขึ้นจากผู้ก่อมลพิษค่าใช้จ่ายดังกล่าวสามารถเป็นไปในรูปแบบระบบการจัดการที่ปลายท่อ (End-of-pipe Systems)2 การจัดหาเทคโนโลยีใหม่ในการลดแหล่งก่อมลพิษ (Source Reduction)3 หรือแม้แต่การปลูกต้นไม้และสร้างสิ่งแวดล้อมสีเขียวในองค์กร |
. |
- การระมัดระวัง/ป้องกันไว้ก่อน (Precautionary Approach) เป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอยู่เสมอและหลีกเลี่ยวผลกระทบเชิงลบ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เครื่องมือที่ช่วยในการป้องกันอย่างต่อเนื่อง เช่น การป้องกันการเกิดมลพิษ การผลิตที่สะอาด (Cleaner Production) การลดแหล่งก่อมลพิษ |
. |
3.2 หลักการด้านผลิตภาพ (Productivity Principles) มุ่งเน้นไปที่ 3 แนวคิดหลัก ได้แก่ |
- ความสามารถในการทำกำไร (Profitability) เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นรากฐานสำคัญในการดำเนินธุรกิจซึ่ง GP มีเป้าหมายหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิผลต่อค่าใช้จ่าย (Cost Effectiveness) ด้วยการประหยัด/ลดต้นทุนด้านวัตถุดิบต่าง ๆ ผ่านกระบวนการจัดทรัพยากร ย่อมสนับสนุนความสามารถในการทำกำไรให้ดีขึ้นด้วย |
. |
- ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Competitive Advantage) เป็นสิ่งจำเป็นในการรักษาตำแหน่งของธุรกิจในตลาด ซึ่งนำไปสู่โอกาสการแสวงหากำไรและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งในด้านราคาและคุณภาพ โดยในกรณีของ GP หมายถึง “ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-friendliness) “ ของสินค้าและบริการ ที่ก่อให้เกิดโอกาสในการดำเนินธุรกิจในรูปแบบใหม่ |
. |
- การสร้างคน (People-Building) มุ่งให้ความสำคัญกับบุคลากรใน 2 ระดับ คือ 1) การกระตุ้นและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่พนักงาน/เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน และ 2) การสร้างพันธสัญญาเพื่อให้ผู้บริหารองค์กรให้ความสำคัญต่อการดำเนินงาน บุคลากรทั้งสองระดับจำเป็นต้องเข้าใจถึงประโยชน์ที่จะได้รับจาก GP และความเสี่ยงตลอดจนความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหากไม่มีการดำเนินการตามแนวทาง GP |
. |
ถึงตอนนี้ คงสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับท่านได้ไม่มากก็น้อย เกี่ยวกับหลักการและแนวคิดเบื้องต้นของการดำเนินการตามแนวทาง GP สำหรับในตอนที่ 2 จะกล่าวถึงเครื่องมือ เทคนิค และวิธีการของ GP ว่ามีขั้นตอน/กระบวนการอย่างไร ทำอย่างไรให้ GP อยู่กับองค์กรอย่างยั่งยืน และปัจจัยแห่งความสำเร็จของ GP คืออะไร ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ที่มีความชัดเจนและลงลึกในรายละเอียดมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริงบรรลุผลสำเร็จสูงสุด |
. |
1 KIAZEN หมายถึง การปรับปรุงแบบค่อยเป็นค่อยไปและไม่มีที่สิ้นสุด (Gradual and Unending Improvement) เป็นการทำ “สิ่งเล็ก ๆ” ให้ดีขึ้น (Doing “Little Things” Better) เพื่อนำไปสู่การสร้างมาตรฐานที่สูงขึ้น (Higher Stands) และ KAIZEN มีลักษณะตรงกันข้ามกับความพึงพอใจ (Complacency) นอกจากนี้ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตามหลักการดังกล่าว สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทั้งในชีวิตประจำวันของแต่ละคน ชีวิตครอบครัว ชีวิตที่ทำงาน และชีวิตในสังคม |
. |
2 เทคนิคปลายท่อ (End-of-pipe Techniques) หมายถึง วิธีการกำจัดสิ่งปนเปื้อนที่แปลงสภาพแล้ว ออกจากอากาศ น้ำ ของเสีย ผลิตภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นในรูปแบบเดียวกัน เทคนิคนี้เรียกว่าปลายท่อเนื่องจากโดยทั่วไปมักมีการนำไปใช้ทางปฏิบัติในช่วงขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการ ก่อนที่สินค้าและบริการจะถูกจำหน่ายออกไปหรือส่งถึงมือผู้บริโภค (source : http://www.greenfacts.org/glossary/def/end-of-pipe-techniques.htm) |
. |
3 การลดแหล่งก่อมลพิษ (Source Reduction) หมายถึง การลดจำนวนสารพิษ มลพิษ หรือสิ่งปนเปื้อนใด ๆ ในของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตหรือถูกปล่อย/แพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม โดยกระบวนการรีไซเคิล การบำรุงรักษา (Treatment) หรือการกำจัด (Disposal) รวมทั้งลดความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยสารพิษ มลพิษ และสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ |
. |
ที่มา : Handbook on Green Productivity และ Green Productivity and Supply Chain Management Manual จัดทำโดย Asian Productivity Organization (APO) |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม |