MPA NIDA เชียร์ตั้งรัฐบาลสมานฉันท์ ลดกระแสขัดแยงระยะยาว แนะรัฐบาลอภิประชานิยมนึกถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจก่อนตัดสินใจ ห่วงชุมนุมยืดเยื้อฉุดเศรษฐกิจโตลดลง
ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า หรือ MPA NIDA แนะรัฐคำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจก่อนตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ปัญหาผ่าทางตันทางการเมือง ชี้การตั้งรัฐบาลสมานฉันท์น่าจะเป็นทางออกที่ส่งผลดีในระยะยาว ลดกระแสเหลือง-แดงได้ดีกว่าแนวทางอื่น ติงหากปล่อยสถานการณ์ยืดเยื้อจนต่างชาติเมินท่องเที่ยว-ลงทุน จะทำให้เศรษฐกิจโตลดลง |
. |
รศ.ดร.มนตรี โสคติยานุรักษ์ |
. |
รศ.ดร.มนตรี โสคติยานุรักษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (MPA NIDA) เปิดเผยว่า ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น มีผลต่อบรรยากาศการลงทุนของภาคเอกชน |
. |
ซึ่งขณะนี้ภาคเอกชนและนักลงทุนก็เป็นห่วงต่อสถานการณ์บ้านเมืองที่ยังไม่มีทางออกของปัญหาที่ชัดเจนว่าจะสามารถลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้อย่างไร แม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมก็ตาม แต่การทำงานของรัฐบาลก็มีอุปสรรค ไม่สามารถบริหารประเทศหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
. |
สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหานั้น อยากให้รัฐบาลคำนึงถึงประเด็นทางเศรษฐกิจเป็นหลัก เนื่องจากในปัจจุบันนี้ปัญหาเศรษฐกิจยังคงเป็นปัญหาใหญ่สำหรับประเทศต่างๆ ทั่วโลก การฟื้นตัวยังไม่แข็งแรงเพียงพอที่จะปล่อยให้เดินหน้าได้โดยไม่ต้องใช้ความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ อีกทั้งเศรษฐกิจของประเทศไทยยังต้องพึ่งพาต่างประเทศในสัดส่วนที่สูง ดังนั้น เรื่องความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติจึงมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย |
. |
“รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น เพราะหากกระทบต่อความเชื่อมั่นของต่างชาติในระดับที่สูงขึ้น เช่น มีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ หรือกระทบต่อการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวของต่างชาติ จะทำให้เม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจหายไปจำนวนมาก เฉพาะการท่องเที่ยวของต่างชาติสร้างรายได้ให้กับประเทศปีละกว่า 5 แสนล้านบาท ซึ่งหากส่วนนี้หายไป ก็จะทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง” รศ.ดร.มนตรีกล่าว |
. |
ผู้อำนวยการหลักสูตร MPA NIDA ให้ความเห็นว่า การหาทางออกของความขัดแย้งในครั้งนี้ รัฐบาลควรใช้กระบวนการทางรัฐสภาในการแก้ปัญหา ทั้งแนวทางการยุบสภา การเปลี่ยนขั้วทางการเมือง หรือการจัดตั้งรัฐบาลสมานฉันท์ ซึ่งถือเป็นกรอบกติกาตามระบอบประชาธิปไตยที่สังคมให้การยอมรับได้ จึงไม่ส่งผลต่อบรรยากาศการลงทุน และการท่องเที่ยวของไทย |
. |
แต่โดยส่วนตัวมองว่าการจัดตั้งรัฐบาลสมานฉันท์เป็นทางออกที่นุ่มนวลที่สุด โดยเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการออกกฎกติกาเพื่อแก้ไขความขัดแย้งจนเป็นที่ยอมรับ ก่อนจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ จะเป็นหนทางที่สร้างบรรยากาศการลงทุนและความเชื่อมั่นให้กับภาคเอกชนได้มากที่สุด |
. |
“การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าวิธีใด หากอยู่ในกรอบกติกาของระบอบประชาธิปไตย จะไม่ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนของไทย เพราะนักลงทุนมีความเข้าใจและยอมรับการเปลี่ยนแปลงตามระบอบประชาธิปไตย |
. |
แต่หากมีการใช้ความรุนแรงเกิดขึ้น การเรียกคืนความเชื่อมั่นให้ต่างชาติกลับมาลงทุนในไทยอีกครั้งต้องใช้เวลานาน กว่าที่นักลงทุนต่างชาติจะกลับมามีความมั่นใจลงทุนและท่องเที่ยวในไทยอีกครั้ง” ดร.มนตรี กล่าว |