รมช.กษ. เดินหน้าเปิดโรงงานต้นแบบฯ ผลิตภัณฑ์ยาง แห่งที่ 2 เน้นส่งเสริมการแปรรูป เพิ่มมูลค่าการส่งออก มุ่งสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ |
. |
นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดโรงงานต้นแบบอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางสำหรับเกษตรกร ณ โรงงานต้นแบบอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางสำหรับเกษตรกร อำเภอแกลง จังหวัดระยองว่า ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศที่มีบทบาทสำคัญกับชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทย |
. |
โดยเฉพาะเกษตรกรภาคตะวันออกที่ได้เปรียบเกษตรกรภาคอื่นๆ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยางพาราหลายแห่ง ทั้งระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ประกอบกับอยู่ใกล้ท่าเทียบเรือขนาดใหญ่และทันสมัยอีกด้วย จึงนับได้ว่าภาคตะวันออกเป็นทำเลทองสำหรับการประกอบอาชีพการปลูกยางพารา |
. |
ถึงแม้ว่าราคายางจะมีความผันผวนบ้างตามภาวะเศรษฐกิจโลก แต่ขณะนี้เริ่มปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งราคาสูงเกิน 100 บาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการรักษาเสถียรภาพราคายางที่รัฐบาลได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ยางพาราจึงเป็นพืชที่มีอนาคตสดใสเมื่อเปรียบเทียบกับพืชชนิดอื่น และจากการที่รัฐบาลมีนโยบาลส่งเสริมให้มีการใช้ยางภายในประเทศ |
. |
เพื่อลดปริมาณการส่งออกยางดิบและเป็นการเพิ่มมูลค่ายาง รวมถึงส่งเสริมทักษะเกษตรกรที่ยังขาดความรู้ความสามารถในการผลิตยาง การควบคุมคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวิศวกรรมศาสตร์อย่างใกล้ชิด รวมถึงการบริหารจัดการโรงงาน และการตลาด |
. |
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯโดยสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) จึงสร้างโรงงานต้นแบบอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางสำหรับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ที่มีผลผลิตยางพาราเป็นจำนวนมาก เพื่อให้เป็นโรงงานแปรรูปยางดิบเป็นผลิตภัณฑ์ยางรูปแบบต่างๆ ตลอดจนเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ที่สนใจ รวมทั้งนักเรียนนักศึกษาสายอาชีพที่ต้องการฝึกทักษะและนำความรู้นี้ไปใช้ประกอบอาชีพในอนาคต ต่อไป นาย ‘ศุภชัย’ กล่าว |
. |
นายวิทย์ ประทักษ์ใจ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง กล่าวต่อว่า สกย.ได้สร้างโรงงานต้นแบบอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางสำหรับเกษตรกร จำนวน 4 แห่ง ที่จังหวัดขอนแก่น ระยอง สุราษฎร์ธานี และปัตตานี |
. |
โดยได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์เทคนิคระยอง วิทยาลัยเทคนิคน้ำพอง วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมดำเนินการออกแบบและจัดสร้าง ตลอดจนดูแลบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งในขณะนี้โรงงานต้นแบบอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง |
. |
พร้อมเปิดให้บริการที่จังหวัดระยอง และทยอยจะเปิดอีก 2 แห่ง ได้แก่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และปัตตานีต่อไป เพื่อให้เป็นทั้งโรงงานผลิตสินค้าผลิตภัณฑ์ยางต่างๆ และเป็นโรงเรียนผลิตบุคลากร ให้มีความรู้และทักษะด้านผลิตภัณฑ์ยาง โดยมอบให้สถาบันเกษตรกรร่วมกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่ร่วมบริหารจัดการ ภายใต้เป้าหมายที่มุ่งให้เกษตรกรมีรายได้พึ่งพาตัวเองได้ในอนาคต |
. |
อีกทั้งเพื่อให้ชาวสวนยางในท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้ใช้ประโยชน์เพื่อเรียนรู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพารา ส่วนที่จังหวัดระยองนี้ จะดำเนินการภายใต้การบริหารจัดการร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคระยอง และเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดระยอง ซึ่งจะมีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมยางฯ แห่งอื่นๆ ต่อไป |
. |
ที่มา : เว็บไซต์รัฐบาลไทย |