กรีนพีซระบุเนสท์เล่ใช้น้ำมันปาล์มจากการทำลายป่าฝนเขตร้อน และป่าพรุในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์อย่างคิทแคท ซึ่งเป็นสาเหตุของการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และเร่งให้เกิดหายนะจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
. |
รายงานล่าสุดของกรีนพีซระบุเนสท์เล่ใช้น้ำมันปาล์มจากการทำลายป่าฝนเขตร้อน และป่าพรุในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์อย่างคิทแคท (Kit Kat) ซึ่งเป็นสาเหตุของการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า อาจส่งผลให้อุรังอุตังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และ ยังเร่งให้เกิดหายนะจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
. |
รายงานกรีนพีซฉบับล่าสุด ที่มีชื่อว่า “จับได้คาหนังคาเขา” ได้แสดงถึงการที่เนสท์เล่สั่งซื้อน้ำมันปาล์มจากแหล่งจัดหาวัตถุดิบอย่างบริษัทในเครือซีนาร์ มาส (Sinar Mas) ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มแหล่งใหญ่ และเป็นผู้ทำลายป่าฝนเขตร้อนและแหล่งกักเก็บคาร์บอนจากป่าพรุ รวมถึงถิ่นที่อยู่อาศัยของอุรังอุตัง ซีนาร์ มาส ยังเป็นเจ้าของกิจการผลิตกระดาษ Asia Pulp and Paper ในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำลายป่าฝนเขตร้อนขนาดใหญ่อีกด้วย |
. |
. |
เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2553 นักกิจกรรมกรีนพีซทั่วยุโรปราว 100 คนได้จัดกิจกรรมรณรงค์ขึ้น นักกิจกรรมกรีนพีซในประเทศอังกฤษ เยอรมัน และเนเธอร์แลนด์ แต่งตัวในชุดอุรังอุตัง แล้วจัดกิจกรรมรณรงค์หน้าสำนักงานใหญ่ของบริษัทเนสท์เล่ เพื่อเรียกร้องให้เนสท์เล่หยุดการใช้น้ำมันปาล์มที่มาจากการทำลายป่าฝนเขตร้อนในประเทศอินโดนีเซีย |
. |
นอกจากนี้ กรีนพีซยังรณรงค์ผ่านสื่อออนไลน์โดยเปิดตัววิดิโอที่เล่าเรื่องราวของพนักงานบริษัทที่กำลังพักและทานคิทแคท แต่แทนที่จะเป็นภาพขนมคิทแคท กลับกลายเป็นพนักงานคนนั้นกำลังทานนิ้วของอุรังอุตังอย่างเอร็ดอร่อย เนสท์เล่จึงนำวิดิโอดังกล่าวออกจากเว็บไซต์ YouTube แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีคนพยายามโพสท์วิดิโอในเว็บไซต์อยู่เรื่อยๆ |
. |
ซีนาร์ มาส ซึ่งเป็นผู้ขายน้ำมันปาล์มให้เนสท์เล่ เป็นผู้รับผิดชอบการทำลายป่าฝนและถิ่นที่อยู่อาศัยของอุรังอุตัง เป็นพื้นที่มหาศาล |
. |
“ในการที่เนสท์เล่ตอบโต้ต่อหลักฐานที่กรีนพีซนำเสนอเช่นนี้ หมายความว่าเนสท์เล่ยอมรับว่าตนได้ใช้น้ำมันปาล์มจากการทำลายป่าเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์คิทแคท และการที่นำวิดิโอรณรงค์ของกรีนพีซออกจากเว็บไซต์ YouTube นั้นเท่ากับว่าเนสท์เล่กำลังพยายามปิดบังความจริง” นายชัยเลนดรา ยัสวัน ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว |
. |
เนสท์เล่เป็นบริษัทผลิตอาหารและเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ ที่ใช้น้ำมันปาล์มในกระบวนการผลิตเป็นจำนวนมหาศาล ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา การเพิ่มปริมาณการใช้น้ำมันปาล์มสูงขึ้นถึง 2 เท่าต่อปี โดยใช้น้ำมันปาล์ม 320,000 ตันในหลากหลายผลิตภัณฑ์ รวมถึงคิทแคท หลังจากการรณรงค์ของกรีนพีซ เมื่อวานนี้เนสท์เล่ได้ออกแถลงการณ์จะยกเลิกสัญญาโดยตรงกับซีนาร์ มาส |
. |
ผู้ผลิตน้ำมันปาล์ม อย่างเช่น ซีนาร์ มาส กำลังทำลายป่าฝนเนื้อที่มหาศาล เพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน จึงผลักไสอุรังอุตังไปสู่ขอบเหวแห่งการสูญพันธุ์ สร้างความเสี่ยงให้กับความอยู่รอดของชุมชนในท้องถิ่น และ เร่งความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
. |
“ทั้งๆ ที่มีการยกเลิกการสั่งผลิตภัณฑ์โดยตรงจากซีนาร์ มาส แต่เนสท์เล่จะยังคงใช้น้ำมันปาล์มจากซีนาร์ มาสในผลิตภัณฑ์คิทแคท โดยสั่งซื้อจากผู้จัดหาวัตถุดิบรายอื่น อย่างไรก็ตาม กรีนพีซจะรณรงค์จนกว่าเนสท์เล่จะยกเลิกการสั่งซื้อวัตถุดิบจากซีนาร์ มาส ทั้งหมด” นายชัยเลนดรากล่าว |
. |
การเปิดเผยรายงานนี้มีจุดประสงค์เพื่อผลักดันให้เนสท์เล่ยกเลิกสัญญาการจัดหาน้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบกับบริษัทซีนาร์ มาส เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา กรีนพีซได้ส่งข้อเรียกร้องถึงเนสท์เล่พร้อมด้วยหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าซีนาร์ มาส ได้ละเมิดกฎหมายอินโดนีเซียและเพิกเฉยต่อข้อตกลงที่ได้ให้ไว้ในฐานะที่เป็นหนึ่งในสมาชิกของเวทีการใช้น้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (Sustainable Palm oil หรือ RSPO) |
. |
ตั้งขึ้นโดยภาคอุตสาหกรรมที่อ้างว่าจะนำอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไปสู่อุตสาหกรรมที่ยั่งยืน แต่ยังคงมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าบริษัทซีนาร์ มาสยังคงทำลายป่า และด้วยหลักฐานการทำลายสิ่งแวดล้อมได้ชี้ชัด หลายบริษัท รวมถึงยูนิลิเวอร์ และคราฟ (Unilever และ Kraft) ได้ยกเลิกสัญญากับบริษัทซีนาร์ มาสแล้ว |
. |
ผืนป่าฝนเนื้อที่มหาศาลของอินโดนีเซียกำลังถูกทำลาย เพื่อใช้ปลูกปาล์มน้ำมัน |
. |
“ซีนาร์ มาส นอกจากจะขาดความรับผิดชอบในการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศอินโดนีเซียแล้ว ยังผลักดันการทำลายป่าเพื่อปลูกน้ำมันปาล์มอย่างเต็มที่ ส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้านชีวิตที่ต้องพึ่งพิงผืนป่า” นายชัยเลนดรากล่าวเสริม |
. |
“บริษัทอื่นๆได้เปลี่ยนแปลงแล้ว แต่เนสท์เล่ยังไม่พยายามอย่างเต็มที่ที่จะหยุดทำลายถิ่นที่อยู่ของอุรังอุตัง เนสท์เล่จะต้องยกเลิกการสั่งซื้อวัตถุดิบจากซีนาร์ มาส ทั้งหมด เพื่อหยุดการทำลายป่าฝนเขตร้อนและ ป่าพรุในอินโดนีเซีย” นายชัยเลนดรา ยัสวัน กล่าว |
. |
คลองดังเช่นในภาพถูกขุดโดยบริษัทปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อดึงน้ำออกจากป่าพรุที่อุดมไปด้วยก๊าซคาร์บอน ก่อนที่พื้นที่แห่งนี้จะถูกถางและเผา เพื่อเตรียมปลูกปาล์มน้ำมัน |
. |
ประเทศอินโดนีเซียมีอัตราการทำลายป่าเร็วที่สุดในโลก สาเหตุหลักมาจากการทำลายป่าเพื่อปลูกน้ำมันปาล์ม จึงทำให้อินโดนีเซียอยู่ในอันดับสามของประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลก รองจากจีนและสหรัฐอเมริกา |
. |
เรียกร้องเนสท์เล่ให้่หยุดใช้น้ำมันปาล์มที่มาจากบริษัทที่กำลังทำลายป่าฝน เรียกร้องให้พวกเขายกเลิกสัญญาที่ทำกับผู้ขายส่งที่ย่ำแย่ที่สุด เ่ช่น ซีนาร์ มาส สร้างความสัมพันธ์กับอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มและรัฐบาลอินโดนีเซีย และ กระตุ้นให้ปกป้องป่าพรุและหยุดการทำลายป่าในทันที บอกเนสท์เล่ว่าเมื่อคุณต้องการพัก คุณต้องการให้การพักไร้ซึ่งการทำลายป่า |
. |
ที่มา : กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |