1. พาณิชย์เผยส่งออกเดือนก.พ. 53 ขยายตัวร้อยละ 23.1 ต่อปี |
- กระทรวงพาณิชย์เผยส่งออกเดือนก.พ.53 มี มูลค่า 14,404 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 23.1 ต่อปี จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 13,964 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 71.2 ต่อปี ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้าประมาณ 439 ล้านดอลลาร์สหรัฐ |
. |
นอกจากนี้ ได้ประเมินถึงทิศทางการส่งออกของไทย โดยมองว่าแนวโน้มการส่งออกยังคงขยายตัวได้ดี โดยมีปัจจัยสำคัญ คือ ตลาดต่างประเทศที่ฟื้นตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้ออย่างมากต่อการส่งออกไทย |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า การส่งออกของไทยในเดือนก.พ. 53 ขยายตัวร้อยละ 23.1 ต่อปี เนื่องจากในช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการนำเข้าทองคำเป็นจำนวนมาก จึงทำให้การขยายตัวชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่ร้อยละ 30.8 ต่อปี หากหักทองคำออก การส่งออกในเดือนก.พ. 53 จะขยายตัวถึงร้อยละ 44.3 ต่อปี ซึ่งสินค้าส่งออกได้โดดเด่น เป็นสินค้าในกลุ่มยานยนต์ |
. |
ทั้งนี้ การส่งออกของไทยได้ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจนใกล้เคียงภาวะปกติ โดยอัตราการขยายตัวในเดือนก.พ. 53 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากเดือนม.ค. 53 (ปรับฤดูกาลแล้ว) ในส่วนของการนำเข้าที่ขยายตัวเร่งขึ้นนั้น เป็นผลมาจากการนำเข้าทองคำและน้ำมันดิบในระดับสูง ซึ่งหากหักสินค้าทั้ง 2 ออก การนำเข้าจะขยายตัวร้อยละ 55.2 ต่อปี ซึ่งยังคงเป็นการขยายตัวในอัตราเร่งขึ้น สะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย |
. |
2. ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรขายได้ในเดือนก.พ.53 ขยายตัวร้อยละ 19.4 ต่อปี |
- สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนก.พ.53 ว่าหดตัวลงที่ร้อยละ -0.2 ต่อปี อันเป็นผลจากการลดลงของผลผลิตหลัก ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง เนื่องจากอยู่ในช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว ประกอบกับได้รับผลกระทบจากปัญหาโรคระบาด ในขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเดือนก.พ.53 ขยายตัวที่ร้อยละ 19.4 ต่อปี จากราคาสินค้าเกษตรสำคัญได้แก่ ข้าว ยางพารา และปาล์มน้ำมัน |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า แม้ว่าดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ก.พ. 53 จะหดตัวลงเล็กน้อย แต่จากการดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่ยังขยายตัวในระดับสูง ทำให้รายได้เกษตรกรที่แท้จริง (Real Farm Income) ซึ่งหักอัตราเงินเฟ้อชนบทออกแล้ว เดือนก.พ. 53 ขยายตัวประมาณร้อยละ 12.1 ต่อปี (ขยายตัวเป็นบวกเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน) |
. |
ซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะภาคชนบท อันสะท้อนได้จากปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ที่ยังขยายตัวในระดับสูง โดยในเดือน ก.พ. 53 ปริมาณการจำหน่ายจักรยานยนต์ขยายตัวที่ร้อยละ 26.0 ต่อปี (หรือขยายตัวร้อยละ 1.0 ต่อเดือน) |
. |
3. อีโคโนมิสต์ห่วงเศรษฐกิจโลกสองปีหน้าขยายตัวแผ่ว |
- ดิ อีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจน ยูนิต หรือ อีไอยู มองว่าตัวเลขเศรษฐกิจทั่วโลกที่ดีขึ้นเร็วๆ นี้ ไม่ว่าจะเป็นวัฏจักรการปรับสินค้าคงคลัง นโยบายการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือแม้แต่การค้าโลก แม้บ่งบอกว่าทุกอย่างดีขึ้น แต่กลับซ่อนปัญหาของบางประเทศและในภูมิภาคสำคัญ ซึ่งอาจฉุดรั้งให้การเติบโตของโลกชะลอตัวในช่วงสองปีนับจากนี้ โดย อีไอยู คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวที่ร้อยละ 2.8 ในปีนี้ และร้อยละ 1.6 ในปีหน้า |
. |
สำหรับญี่ปุ่นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังไม่มั่นคง โดยคาดว่าจีดีพีญี่ปุ่นจะขยายตัวร้อยละ 1.5 ปีนี้ และร้อยละ 1.1 ในปี 54 ขณะที่ยุโรปยังคงมีปัญหาโดยเฉพาะในภาคธนาคาร ประกอบกับปัญหาหนี้สาธารณะในกรีซ ทำให้คาดว่าจีดีพียุโรปจะเป็นบวกที่ร้อยละ 0.8 ในปีนี้ และร้อยละ 1.0 ในปี 54 สำหรับเศรษฐกิจจีนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.6 ในปีนี้และร้อยละ 8.1 ในปีหน้า |
. |
- สศค. วิเคราะห์ว่า ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตามตัวเลขการว่างงานยังคงไม่บ่งชี้การฟื้นตัวที่ชัดเจน ทั้งนี้ ความกังวลต่อความยั่งยืนและเสถียรภาพของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ |
. |
ทำให้หลายประเทศดำเนินนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เช่น ญี่ปุ่นประกาศขยายวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพิ่มเติม และสหรัฐฯ ญี่ปุ่นและยูโรป ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำ ส่วนหนึ่งเนื่องจากข้อจำกัดของนโยบายการคลังจากปริมาณหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง |
. |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |