กรีนพีซ จี้รัฐบาลนำแผนพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ออกจากแผน PDP 2010 พร้อมปิดสำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ชี้รัฐบาลควรเรียนรู้จากอดีต อุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย อาจกลายเป็นหายนะภัยนิวเคลียร์ครั้งใหญ่ได้
กรีนพีซ จี้รัฐบาลนำแผนพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ออกจากแผน PDP 2010 พร้อมปิดสำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ชี้รัฐบาลควรเรียนรู้จากอดีต อุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย อาจกลายเป็นหายนะภัยนิวเคลียร์ครั้งใหญ่ได้ |
. |
. |
กรีนพีซท้วงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP) ฉบับล่าสุดที่เสนอให้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5โรง ว่า “มีราคาแพง และเสี่ยงต่อชีวิต” พร้อมเรียกร้องให้ปิดสำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์โดยด่วน |
. |
กรีนพีซร่วมกับชุมชนจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีแสดงข้อเรียกร้องดังกล่าวในการแถลงข่าวเปิดตัวปฏิทิน “365 เหตุผลที่ไม่ควรจำนนต่อพลังงานนิวเคลียร์” (2) ซึ่งกรีนพีซได้รวบรวมอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในแต่ละวันจากความผิดพลาดของอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ทั่วโลกมาบรรจุไว้ |
. |
“ปฏิทินนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงอันตรายของพลังงานนิวเคลียร์ แม้จะเป็นข้อผิดพลาด หรืออุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยอย่างประกายไฟจากสายเคเบิล ความผิดปกติของวงจรไฟฟ้า หรือแม้แต่ท่อน้ำระเบิด สามารถเปลี่ยนอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยนั้นให้กลายเป็นหายนะภัยนิวเคลียร์ครั้งใหญ่ได้” นายธารา บัวคำศรี ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว |
. |
“รัฐบาลไทยควรเรียนรู้จากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต และทบทวนแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าปีล่าสุดเสียใหม่ โดยนำพลังงานนิวเคลียร์ออกจากแผน แล้วปิดสำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เสีย เนื่องจากไร้ประโยชน์และยังสิ้นเปลืองภาษีประชาชน 1.8 พันล้านบาทไปกับการสนับสนุนแผนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีราคาแพง ไม่ปลอดภัย และไม่สอคล้องกับความเป็นจริง” นายธารากล่าวเสริม |
. |
ขณะนี้กระทรวงพลังงานกำลังดำเนินการสรุปแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าปี 2553 หรือ PDP2010 ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ แผนนี้จะมีระยะเวลา 20 ปี และถูกเรียกว่าเป็น “PDP สีเขียว“ ซึ่งมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคพลังงานให้ได้ 0.38-0.42 กิโลกรัมต่อกิโลวัตต์ชั่วโมงภายในปี 2563 เปรียบเทียบกับปี 2552 ที่ตั้งเป้าหมายไว้ 0.546 กิโลกรัมต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง |
. |
และคาดว่ากำลังผลิตติดตั้งในปี พ.ศ. 2572 จะเพิ่มเป็น 70,000 เมกะวัตต์ เปรียบเทียบกับกำลังผลิตติดตั้งปัจจุบัน 29,213 เมกะวัตต์ ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าฉบับล่าสุดนี้ กำลังผลิตติดตั้งใหม่ส่วนใหญ่จะมาจากพลังงานนิวเคลียร์ ถ่านหิน และพลังงานนำเข้าจากโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ในประเทศลาวและพม่า |
. |
“PDP ฉบับสีเขียวที่กระทรวงพลังงานกำลังวิ่งเต้นผลักดันอยู่นี้นับเป็นเรื่องแหกตา และมิได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงใดๆ ในการผลิตหรือจัดส่งพลังงาน อีกทั้งยังไม่นำไปสู่การกระจายผลประโยชน์และต้นทุนอย่างเป็นธรรมในสังคม ประเทศไทยมีทางเลือกดีกว่า |
. |
เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานความร้อนใต้พิภพ และการใช้พลังงานอย่างชาญฉลาด รัฐบาลควรพิจารณาสิ่งเหล่านี้เป็นทางออกด้านความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ เนื่องจากปลอดภัยกว่า สะอาดกว่าและเป็นพลังงานที่ยั่งยืนมากกว่าพลังงานนิวเคลียร์” นายธารากล่าวสรุป |
. |
สำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กำลังดำเนินการเลือกที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย และวางแผนที่จะประกาศสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าในกลางปีนี้ จังหวัดที่ถูกคัดเลือกได้แก่ นครสวรรค์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตราด และขอนแก่น ในบางพื้นที่ อย่างเช่น จังหวัดนครสวรรค์และสุราษฎร์ธานีนั้น ได้มีชุมชนที่เคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านการก่อสร้างและเรียกร้องให้รัฐบาลยุติโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ |
. |
“ไม่มีเหตุผลใดที่จะสนับสนุนพลังงานนิวเคลียร์ นอกจากนี้นิวเคลียร์ยังสวนทางกับการดำรงชีวิตของผู้คนโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุใดเราต้องนำชีวิตมาเสี่ยงกับพลังงานที่อันตรายนี้เพียงเพราะความต้องการของกลุ่มคนเพียงหยิบมือ เราต้องการเห็นอนาคตของลูกหลานที่มีโอกาสได้ใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและปลอดภัย โดยปราศจากภัยคุกคามอย่างพลังงานนิวเคลียร์” นายสะอาด ดุลหลัง ตัวแทนชุมชนจังหวัดสุราษฎร์ธานีกล่าว |